บทบาทครู


ครูต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านจิตวิทยา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข อาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน สู่การพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง

    “...อาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่ง  เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง  และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน  เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน  จึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้..."     

พระบรมราโชวาท ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 2526

 สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา                                                

ครู คือ  ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ                                                                 

ครู คือ ทหารเอกของชาติ                                                                       

ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ                                                                         

ครู คือ กระจกเงาของเด็ก                                                                      

ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง                                                                     

ครู คือ ผู้สร้างโลก                                                                                 

ครู คือ ผู้กุมความเป็นตายของชาติไว้                                                       

ครู คือ ปูชนียบุคคล                                                                              

ครู คือ วิศวกรทางสังคม

 ขอบคุณที่มาhttp://www.pirun.ku.ac.th/~g5086036/prototype/content/teacher/teacher%20model.ppt#2

  การศึกษาเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษาของมนุษย์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า และคุณภาพของมนุษย์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป การผลิตบัณฑิตผู้ที่มีการศึกษาเป็นการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งดิฉันเชื่อว่านอกจากความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความต้องการ และความพยายามของบัณฑิตในการแสวงหาความรู้แล้ว ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตกำลังคนอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือผู้ที่มีบทบาทในการให้วิชาความรู้แก่บัณฑิต ที่เราเรียกว่า ครู  ซึ่งไม่ใช่สอนหนังสือ แต่เป็นการสอนคน ดิฉันเชื่อว่าหนังสือเด็กจะหาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ครูให้คำแนะนำ แต่การสอนเด็กให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 

                บทบาทต่อไปนี้เป็นเพียงบางบทบาทที่จะทำให้ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นครู ต้องทำให้ได้ และเป็นแนวทางที่ดิฉันจะนำไปใช้ในการสอน ในฐานะที่กำลังจะเข้าไปอยู่ในวงการของการศึกษา จึงได้สืบเสาะแสวงหานอกเหนือจากที่ได้บรรจุไว้ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และจากประสบการณ์ของความเป็นแม่ที่มีบทบาทของความเป็นครูอยู่ในตัวด้วย

๑.มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในสาขาการสอน  มีความเข้าใจในด้านการศึกษาทั่วไปและคุ้นเคยกับสาขาวิชานั้น  ซึ่งข้อนี้คิดว่าครูหลายๆท่าน มีความเข้าใจกันดี และมีความรูในเนื้อหาวิชาการที่ต้องสอนเป็นอย่างดี ทั้งนี้ครูที่ดีต้องรู้จริงในเนื้อหาที่จะสอน และการสอนทุกครั้งจะต้องมีการเตรียมพร้อมในแผนการสอนล่วงหน้า มิฉะนั้นแล้วการเรียนการสอนก็จะไม่มีประสิทธิภาพ  เพราะผู้สอนที่ยังไม่มีการเตรียมล่วงหน้า เขาผู้นั้นได้ปฏิบัติในสิ่งที่อธรรมของบรรดาผู้ที่เรียน

๒.ให้ความสำคัญต่อความรู้เดิมของลูกศิษย์ เพราะความรู้เดิมส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนา และยังสอดคล้องกับหลักทฤษฏีการถ่ายโยงความรู้ของนักจิตวิทยา และการศึกษาสมัยใหม่

๓.ให้วิชาความรู้ และการสอนนั้นอยู่เหนือประโยชน์ส่วนตัว ข้อนี้ครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่าครูบางท่าน(บางท่านนะคะ)เก็บเคล็ดลับสิ่งดีดีไว้ไปสอนในช่วงเรียนพิเศษนอกเวลาเรียนปกติ เด็กจึงต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อจ่ายให้ครูที่สอนพิเศษ

๔.มีคุณธรรม จรรยาบรรณในการสอน  มีความยุติธรรมกับผู้เรียนทุกคน ปฏิบัติต่อลูกศิษย์ด้วยความรักและปฏิบัติด้วยความอดทน

๕.มีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมทางสังคม

๖. มีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับสังคมผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคลและข้อจำกัดของพวกเขา

๗.ให้ความสนใจต่อการแต่งกายและบุคลิกภาพโดยทั่วไปของตนเองและศิษย์

๘.มีความสามารถในการพูดและศาสตร์ทางด้านร้อยกรอง  ร้อยแก้ว  วรรณคดีทั่วไป

๙.มีทักษะ ความจริงใจ และความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ในการชี้นำจิตวิญญาณของเด็กสู่แนวทางวิชาความรู้และประสบการณ์ที่ถูกต้อง

๑๐. รู้จักใช้เทคนิคและวิธีการสมัยใหม่ในการจัดการเรียนการสอน และสามารถประยุกต์ใช้ในสื่อการสอน

๑๑.ต้องวางตนให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของบุคคลทั่วไป ไม่พูดจากลับกลอก หรือหน้าไหว้หลังหลอก และแม้ว่าเขาได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ชี้ขาดในเรื่องหนึ่ง เรื่องใดก็จงวินิจฉัยด้วยความเที่ยงธรรม

๑๒.ต้องเป็นผู้พูดที่พูดสัจจะ ไม่ฉ้อโกง หรือเบียดบังเอาคำพูดของผู้อื่นมาเป็นของตนในทางที่มิชอบ

๑๓.ต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ผูกพยาบาทกัน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์

๑๔.ต้องให้เกียรติแก่ผู้อื่น ไม่ดูถูกดูหมิ่นเพื่อนร่วมงาน

๑๕.ต้องมีความอดทนในสิ่งที่ประสบ

๑๖.ต้องหมั่นหาความรู้วิชาเพิ่มเติม

๑๗.สุดท้ายที่ต้องให้ความสำคัญในการสอน คือครูทั้งหลายต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านจิตวิทยา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างมีความสุข ที่คิดว่าครอบคลุมหลายๆประเด็นในข้อต้นๆ

      ท้ายนี้เชื่อว่าสติปัญญาของมนุษย์นั้น ถูกแบ่งออกเป็น 4  จำพวก        

         -  ผู้รู้ที่รู้ว่าตนเองรู้ เขาคือปราชญ์ จงเชื่อและปฏิบัติตามเขา        

         -  ผู้รู้ที่รู้ว่าตนเองไม่รู้ เขาคือปราชญ์ที่นอนหลับ ดังนั้นจงปลุกเขา        

         -  ผู้ไม่รู้และรู้ว่าตนเองไม่รู้ เขาคือผู้ต้องการทางนำ ดังนั้นจงสั่งสอนเขา        

        -  ผู้ไม่รู้และรู้ว่าตนเองรู้ เขาคือคนโง่เขลา จงทิ้งเขาไปเสีย          

 
หมายเลขบันทึก: 430290เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สมญานามทั้งหลายที่ให้ครู                     เมื่อตรองดูเป็นจริงสิ่งทั้งหลาย

ครูคือยอดมนุษย์เป็นทุกอย่างที่มากมาย   มีความหมายสร้างคนดีนี่แหละครู

ขอขอบคุณคุณวิโรจน์ให้ความเห็น  ครูต้องเป็นทุกอย่างดั่งใจหมาย

หวังเพียงให้ลูกศิษย์ที่ล้อมกาย      ถึงที่หมายสร้างสังคมแห่งคนดี

ขอบคุณค่ะอาจารย์วิโรจน์

และที่สำคัญการเป็นแบบอย่าง(Roul Model )เป็นสิ่งสำคัญที่ครูควรมีทั้งครูคนแรก(พ่อแม่)และครูคนที่สองที่สอนนักเรียน

เป๊นกำลังใจให้ในการทำงานนะคะ

                    พี่นุ้ย

ขอบคุ

 

ขอบคุณค่ะพี่นุ้ย

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท