EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ควบคุมประชากรปลวกในสวนยางพารา


การปลูกยางพาราอาจไม่ใช่เรื่องยากในสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์การปลูกมาแล้วอย่างชาวสวนทางภาคใต้หรือตะวันออก ซึ่งเป็นเขตปลูกยางพาราเดิมของประเทศ แต่ขณะนี้ราคายางพาราขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจมีบ้างที่ปรับลดลงแค่บาทสองบาทซึ่งนั้นไม่ใช่ผลกระทบมากนัก แถมภาครัฐยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราทั่วทุกภาคโดยเฉพาะภาคอีสานบ้านเฮา ทำให้มีเถ้าแก่สวนยางพารามือใหม่เพิ่มมากขึ้นมากมาย แม้ว่าการปลูกยางพาราจะไม่ใช่เรื่องยากแต่การปฏิบัติ จัดการสวนอย่างไรให้ลดต้นทุนได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด ซึ่งต้องยอมรับว่าสิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน คู่ๆ ไปกับปัญหาใหม่ๆ ที่คอยติดตามทดสอบภูมิปัญญาของผู้คนทุกกลุ่มอาชีพ การมีความรู้ การสร้างสังคมแห่งความรู้ การเชื่อมถึงกันบนพื้นฐานของการมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนที่มีอาชีพเดียวกัน อย่างปัญหาปลวกกัดกินราก เชื่อได้เลยว่าปัญหานี้สามารถพบเจอได้ทุกภาค แต่จะแก้ปัญหาอย่างไรให้ปลอดภัย ง่าย ต้นทุนต่ำ คุ้มค่าที่สุด

จุลินทรีย์ที่นำมาควบคุมจำนวนประชากรของปลวกนั้นไม่เป็นอันตรายหรือมีผลข้างเคียงกับมนุษย์ สัตว์เลี้ยง เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มเชื้อราที่มีความสามารถในการกำจัดปลวก ซึ่งอยู่ในรูปสปอร์ หากสปอร์ไปตกอยู่ที่ผิวของปลวกแมลง จากนั้นจะสร้างหลอดแล้วแทงทะลุผ่านผิวหนังเข้าไปภายในท่ออาหาร เพิ่มขยายจำนวนมากขึ้น จากนั้นเส้นใยจะหักออกเป็นท่อนสั้นๆ เข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ ทำให้ปลวกป่วยร่างกายอ่อนแอ อาการคล้ายโรคติดต่อ และตายทั้งรังในที่สุด สำหรับเทคนิคการควบคุมปลวกนั้นให้ใช้เชื้อเมธาไรเซียมคลุกผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก(มูลโค มูลไก่ ฯลฯ ) พูมิชซัลเฟอร์ในอัตรา 1 กก. ต่อ 50 กก. ต่อ 20 กก. ตามลำดับ ระหว่างผสมให้ฉีดพรมน้ำเพิ่มความชื้นกระตุ้นการขยายของเชื้อให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1วัน (24 ชั่วโมง) ก่อนนำไปหว่านหรือใส่ถุงกระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่แห้งแล้วนำไปฝังดินไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณโคนต้นยางพารา โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่นเกินไป) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัวปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ราเขียวจำเป็นต้องหยุดสารเคมีหรือเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา ในระยะแรก ๆ ยังเห็นผลไม่ชัดเจน ควรกระทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์/ครั้ง มิตรเกษตรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ สามารถติดต่อได้ที่ คุณ เอกรินทร์ ช่วยชู โทร.081 – 3983128

หมายเลขบันทึก: 430289เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท