beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า "วิชาชีวิต"<๕> ถ้าคุณมาเรียนมหาวิทยาลัยให้จบออกไปประกอบอาชีพหาเงิน


การเรียนมาเรียนมหาวิทยาลัย คงมีคำตอบได้หลากหลาย เราต้องตอบตัวเองให้ได้ถึงจุดประสงค์ของการมาเรียน

    คำถามที่ผมชอบถามนิสิต ที่ผมสอนคือ..พวกคุณมาเรียนมหาวิทยาลัยกันทำไม คำตอบมีหลากหลาย ดังตัวอย่าง

  1. นิสิตปี 1 คณะเกษตรฯ เอกประมงตอบว่า เพื่อให้พวกอาจารย์มีงานทำ..ไงล่ะ (คำตอบนี้ผมจำแม่นทีเดียว)
  2. เพื่อให้ได้ปริญญา จบออกมาแล้วก็ไปหางาน (สุจริต) ทำ ได้เงินมาเลี้ยงชีพ

   อย่างหลังนี้ คนตอบค่อนข้างเยอะ ซึ่งเมื่อก่อนผมก็คงคิดแบบนี้เหมือนกัน แต่คนที่มาเรียนในมหาวิทยาลัย น่าจะมีคำตอบที่น่าชื่นชมกว่านี้

   ผมขอยกตัวอย่างอาชีพ ที่สุจริตชนทำมาหากิน ได้เงินรายเดือนมากกว่าผมซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยที่เขาไม่ได้เรียนสูงอะไรเลย เพียงแต่ได้ทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งมีผู้คนมากมาย...

   ตัวอย่างแรก ตอนผมไปประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ที่คนในมน.เป็นสมาชิกอยู่) เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2554...รสบัสออกจากมน.คืนวันศุกร์ก่อนเที่ยงคืน ไปถึงโรงแรม..ที่กรุงเทพฯ ตอน 6 โมงเช้า

   เรามีเวลาอีกเกือบ ๒ ชั่วโมง จะถึงเวลาลงทะเบียน..เมื่อทำภาระกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ท้องชักหิว เลยเดินออกมานอกโรงแรม ข้ามสะพานลอย ไปหาน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องทานที่ฝั่งตรงข้าม ระหว่างถ่ายรูปบนสะพานลอย พรรคพวกที่ไปด้วยก็เดินมาสมทบ

   พอทานอาหารเช้ารองท้องกันเสร็จ พวกเรา 4-5 คน ก็เดินกลับ จะมาขึ้นสะพานลอย มีคนหนึ่งที่นำหน้า (ผู้หญิง) หยุดที่รถเข็นขายผลไม้ ซื้อสับปะรดและฝรั่ง ผมก็สั่งตามบ้าง..และลองสอบถามถึงการทำมาหากิน ได้ความว่า..เขาสามารถขายของได้เงินวันละ ๒,๐๐๐ บาท (รวมทุน)

   ถ้าขยันทำงานออกไปขายของทุกวัน เดือนหนึ่งๆ จะได้เงินเกือบ ๖ หมื่นบาท...ผมลองคำนวณแบบตัวเลขกลมๆ ฝรั่งลูกหนึ่ง เขาเลือกลูกที่เล็กที่สุด ขายให้ผมราคา 15 บาท ซึ่งต้นทุนของเขา 1 กิโลกรัม มี 3 ลูก ราคาไม่เกิน 15 บาท

   ต้นทุนที่ผันแปรก็มีน้ำแข็ง และพริกเกลือ ซึ่งก็คงไม่มากเท่าไร คิดประมาณดูแล้ว ค่าผลไม้และอื่น ตกประมาณ 2/5 ทำให้มีกำไรวันละ 3/5

    รายรับเดือนละ 6 หมื่น หักรายจ่าย (ไม่รวมค่าแรง) เท่ากับ มีรายได้เดือนละ 36,000 บาท ทำงานคนเดียวเลี้ยงลูกเมียได้สบาย..(ถ้ารู้จักบริหารการเงิน)

   อีกอาชีพหนึ่งคือ ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่วินมอเตอร์ไซด์ (ส่วนมากเป็นผู้ชายขับ) ขับรถวิ่งรับผู้โดยสารปากซอย-ท้ายซอย ค่าโดยสารระหว่าง 10-15 บาท หาเงินได้หลังหักค่าน้ำมันรถแล้ว (ไม่รวมค่าสึกหรอ) ทำงานวันละ 8-10 ชั่วโมง  เดือนหนึ่งมีรายได้ 45,000 บาท จ่ายค่าเสื้อวิน (สมัยก่อนผู้ว่า มรว.สุขุมพันธ์) อีกเดือนละ 12,000-15,000 บาท รวมแล้วเดือนหนึ่งก็มีรายได้ 3 หมื่นกว่าบาท

   ถ้าภรรยาไปขายข้าวแกง พอมีรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน เดือนหนึ่งๆ ก็มีเงินเหลือเดือนละ 30,000 บาท เก็บเงินเก่งๆ ทำงานสัก 3 ปี ก็มีรายได้เป็นแสน เหมือนกัน...

    ลองสัมภาษณ์นิสิตจบใหม่ ปี ๒๕๕๓ สายวิทย์หรือศิลป์ ที่ไม่ใช่สาขาขาดแคลน ได้เงินเดือนประมาณเดือนละ 12,000-13,000 บาท...

   ค่ารถวันละ 50 บาท ค่าอาหาร ๓ มื้อ 100 บาท วันหนึ่งใช้ 150-200 บาท ทำงานเดือนละ ๒๔ วัน ค่าใช้จ่ายตก 4,500 บาท ค่าเครื่องแต่งตัวและของใช้ 3,000 บาท ค่าโทรศัพท์ 300 บาท และอื่นๆ อีก  รวมแล้วใช้เดือนละ 8,000-10,000 บาท ยังไม่รวมค่าเช่าบ้าน สรุปว่า เก็บเงินได้เดือนละ 2,000-3,000 บาท ก็ดีถมไปแล้ว..

   ผมคิดว่าถ้าเราประกอบอาชีพอิสระ ไม่ไปเป็นลูกจ้างเขา และไม่เกี่ยงว่าเป็นงานต่ำ เราสามารถหาเงินได้มากกว่า (ถ้าวิธีคิดใช้เรื่องเงินเป็นตัวตั้งครับ)

   วิชาชีวิตวันนี้ ลองตอบคำถาม เรื่องเรียนไปทำไม-เพื่อจบและมีงานทำ

หมายเลขบันทึก: 430216เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตอนนี้ผมก็ลาออกจากการเป็นลูกจ้าง มารับงานเองครับอาจารย์ รายได้ดีกว่าเยอะมากๆ

ยินดีครับที่ทราบแบบนี้ ขอให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

อาจารย์คะ

เข้าใจว่าหากนำเรื่องเงินมาเป็นตัวตั้ง แนวทางการพิจารณารายได้ก็จะเป็นอย่างที่อาจารย์เขียนแนะนำไว้ แต่อีกมุมหนึ่ง การได้ทำงานภายใต้องค์กรใดองค์กรหนึ่งก็เป็นเรื่องของความมั่นคงและสวัสดิการที่จะได้รับ ที่อาจจะต้องแลกด้วยรายได้ที่อาจจะไม่สูงนัก

แต่ในอีกมุมหนึ่ง อาชีพอิสระที่สามารถหารายได้ได้เยอะและบริหารจัดการอย่างสร้างความมั่นคงได้ด้วยตัวเอง ก็มีดีไปอีกแบบ เพราะความอิสระในการทำงานก็มีเยอะเช่นกันนะคะ

เอ...ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ตอบคำถามชวนคิดของอาจารย์เลยว่า เราเรียนกันไปทำไม ...นะคะ ^_^

เรียนน้องมะปราง

  • เป็นกำลังใจให้มาเลยครับ
  • สำหรับคำตอบว่า เรามาเรียนกันไปทำไมนี่ "คำตอบ" หนึ่งซึ่งผมได้มาจากนิสิตหลายคน คือ เรียนกันเป็น "แฟชั่น" เหมือนเรามี "นาฬิกา", "มือถือ", "ตูเย็น", "รถยนต์" และอื่นๆ เป็นแฟชั่น
  • แต่คำตอบที่ผมได้มาจาก ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา..มันแฝงอยู่ในคำว่า "EDUCATION" แล้ว ครับ...
  • ซึ่งผมจะนำมาเล่า..ในครั้งต่อๆ ไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท