KM_MD_KKUในมุมมองคนตัวเล็ก(9)>>> การประชุมสัมมนา KM Forum ครั้งที่ 7/2554 (ด้านการเรียนการสอน ตอนที่2) : การประเมินผลนักศึกษา


ครั้งที่แล้วการแลกเปลี่ยนKM_MD_KKU ด้านการเรียนการสอน ประเด็นที่คุยเป็นเรื่องของ Classroom Research (วิจัยในชั้นเรียน) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในขั้นตอนของการพยายามรวบรวมเรื่องของวิจัยในชั้นเรียนจากภาควิชาต่างๆเพื่อนำมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบ

ครั้งนี้การแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องของ การประเมินผลนักศึกษา มีอาจารย์ผู้เข้าร่วมจากหลายฝ่าย หลายภาควิชาฯ

เปิดประเด็นโดยการตั้งคำถามว่า

“แต่ละภาควิชาฯประเมินผลและตัดเกรดอย่างไร? ใช้วิธีใด? สิ่งที่ทำอยู่มีข้อดีหรือข้อด้อยอย่างไร? เราหาวิธีที่ดีที่สุดของเราเอามาแชร์ จำเป็นหรือไม่ที่เราจะตัดเกรดเหมือนกันทั้งคณะ... หรือเราอยู่ได้บนความต่าง”

รศ.พิศาล ไม้เรียง ได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตบัณฑิตซึ่งเริ่มจากความต่างของนักศึกษาที่เข้าศึกษา ความต่างของสถาบันผลิตแพทย์ร่วมได้แก่ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น, โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี  โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ดังนั้นการฝึกอบรมอาจพบความต่างของรูปแบบและวิธีการของการประเมินผลลัพธ์ที่พึงได้...หรือไม่ ประการใด

การทิ้งประเด็นดังกล่าวเกิดข้อคิดต่อยอดมากมายซึ่งผู้ถอดบทเรียนวันนั้นได้แก่ ผศ.ศิริมาศ กาญจนวาศ ภาควิชาเภสัชวิทยา (คาดว่าจะนำรายละเอียดมาให้อ่านในภายหลัง)

ความพยายามให้เกิดการประเมินที่ครอบคลุม สมบูรณ์แบบและเหมาะสมที่สุดเป็นเรื่องปกติของคณาจารย์ทางการแพทย์ที่คาดหวังผลลัพธ์สุดท้ายให้ได้บัณฑิตที่ดี ที่มีคุณสมบัติเป็นบัณฑิตพึงประสงค์เพราะวิชาชีพที่รับผิดชอบสูงอันเป็นเรื่องของความเป็นความตายของผู้คนมิใช่เรื่องเล่นๆ... การจัดการความรู้ในวันนี้จึงเข้มข้นในข้อคิด

แม้ไม่สามารถเห็นข้อสรุปร่วมของรูปแบบการประเมินที่ดีที่สุดได้ แต่การปรับข้อตกลงพื้นฐานให้ได้รับทราบตรงกันก่อนเพื่อนำไปสู่การค้นหาวิธีการประเมินที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแต่ละสาขาในบริบทของตนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะ การประเมินผลเป็นเรื่องใหญ่มาก หลักสูตรที่มีมากราว 30 กว่าหลักสูตร ซึ่งมีความต่างในกระบวนการเรียนการสอนของแต่ละหลักสูตร เป็นข้อจำกัดในการนำมาซึ่งข้อตกลงในช่วงเวลาอันมีจำกัด

.. สาระความรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ท่านผู้สอนในประเด็นนี้จึงยังไม่จบ... น่าจะยังมีอีกหลายตอนให้ได้ติดตาม

การจัดการความรู้ของผู้มีความรู้ ในประเด็นใหญ่ ด้วยความคาดหวังสูง ในเวลาอันสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

หากการจัดการความรู้เป็น TUNA Model… การหารือคราวนี้ เป็นการถอดประสบการณ์การทำงานที่เป็นความต่างร่วมกัน...ที่มีปัญหาจากหลายมุมมอง...จากหัวปลาทู เกิดเป็นหัวปลาเล็กๆอีกมากมาย ภาพที่ออกมาจึงอาจมอเป็นโมบายปลาตะเพียนได้ เรียกว่างานนี้ ได้หัวปลา(ตะเพียน)เล็กๆมากมาย

ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วยเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจัดหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกศิษย์

ขอขอบพระคุณ ผศ.ศิริมาศ กาญจนวาศ ภาควิชาเภสัชวิทยา ที่กรุณาช่วยเก็บประเด็นเนื้อหาที่ได้จากการพูดคุยซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาเสนอให้ทราบได้ในลำดับถัดไป

ขอขอบคุณ สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ที่จัดให้ได้เกิดโอกาสที่ดีนี้

หมายเลขบันทึก: 429592เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับ การ ลปรร คราวหน้า จะ กระชับ กว่านี้ครับ

เรียน ท่านอ.JJ

คาดว่าคราวหน้า หากเลือกหัวปลาได้เหมาะสมกับเวลาน่าจะได้เห็นตัวปลา เพื่อถอดหางปลาได้ค่ะอาจารย์

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท