ใครควรฝึกออทิสติก


ต่อยอดจาก http://www.otinthailand.org ที่ Webboard หัวข้อ "คับข้องใจค่ะ ที่เค้าทำนี่เป็นวิชาชีพเราไม่ใช่รึคะ" ทำให้ผมอยากบันทึกให้กำลังใจผู้ที่กำลังพัฒนาเด็กออทิสติกทุกท่าน

จาก Webboard เมื่อลองคลิกดูรายการต่างๆ ที่เสนอข่าว "ออทิสติกรักษาหายได้" ได้แก่

http://www.youtube.com/wat ch?v=ExjyMGuGlQA

http://www.youtube.com/watch?v=JpSFPqb0Jxg

http://www.youtube.com/watch?v=p1wtP0pYHtc

ในเนื้อหาของข่าวมีประเด็นน่าสนใจ คือ "ลูกออทิสติกเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้คะแนนดีขึ้นหลังจากการฝึกของคุณแม่ทุกวัน แต่ไม่ได้หายขาดจากโรค" และ "พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการแนะนำให้คุณแม่ไปอบรมทุกเทคนิคเพื่อนำมาฝึกลูกออทิสติก" และ "ที่บ้าน ได้จัดสื่อต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมบำบัดที่บ้าน เพราะเคยได้รับคำแนะนำถึงสื่อต่างๆ มาจากนักกิจกรรมบำบัด"

นั่นคือ การฝึกกิจกรรมบำบัดที่บ้านมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กออทิสติก ที่สำคัญคุณแม่ท่านนี้เป็นบุคคลต้นแบบของผู้ปกครองท่านอื่นๆ ที่กำลังช่วยเหลือลูกออทิสติก จริงๆ ทางมูลนิธิออทิสติกไทยก็พยายามสร้างเครือข่ายชมรมออทิสติกแต่ละจังหวัดและฝึกอบรมผู้ปกครองได้อย่างยอดเยี่ยม และมีการประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เช่น กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล และม.เชียงใหม่

แต่ ดร. ป๊อป ตั้งข้อสังเกตว่า "การอบรมวิชาการทั้งหลายนั้นถูกกลั่นกลองจากสหวิชาชีพที่ต้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองและมุ่งหมายให้ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีและนำความรู้ไปฝึกทักษะชีวิตให้ลูกออทิสติก" อย่างไรก็ตาม การเคารพในบทบาทและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติในแต่ละระดับก็เป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยควรทำความเข้าใจตรงกัน กล่าวคือ

  • ผู้ปฏิบัติในระดับเชี่ยวชาญ: ผ่านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาชีพ เช่น นักกิจกรรมบำบัดที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง มีใบประกอบโรคศิลปะ และผ่านการอบรมเทคนิค/กรอบอ้างอิงเฉพาะทางได้รับประกาศนียบัตรตามมาตราฐานสากล   
  • ผู้ปฎิบัติในระดับคลินิกทั่วไป: ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาชีพและมีประสบการณ์การทำงานเฉพาะ เช่น นักกิจกรรมบำบัดที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง มีใบประกอบโรคศิลปะ และทำงานกับผู้รับบริการเฉพาะการพัฒนาเด็กมานาน 5 ปีขึ้นไป
  • ผู้ปฏิบัติในระดับสหวิชาชีพ: ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาชีพในระดับปริญญา เช่น พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา มีใบประกอบวิชาชีพ และสามารถสอบผ่านประกาศนียบัตรหรือปริญญาโท-เอก ในสาขาวิชาชีพทางกิจกรรมบำบัดหรือการแพทย์อื่นๆ โดยการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ หรือเฉพาะทางตามมาตราฐานสากล
  • ผู้ปฏิบัติในระดับผู้ปกครอง/ผู้ช่วยเหลือที่ต้องสอบผ่านความรู้: ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้จากสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งในหนึ่งหลักสูตรจะไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง (ใน 1 ครั้งหรือมากกว่า 1 ครั้ง หรืออย่างน้อยรวมกัน 6 สัปดาห์) และมีการสอบผ่านหลักสูตรที่รับรองโดยองค์กรสหวิชาชีพ ที่ได้รับการรับรองตามมาตราฐานสากล เช่น คุณแม่ผ่านการอบรมเทคนิคการฝึกทักษะชีวิตจากนักกิจกรรมบำบัดระดับผู้เชี่ยวชาญ และมีการติดตามผลว่าได้นำเทคนิคไปฝึกลูกตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ทำการวิจัยเชิงคลินิกแบบ Single Subject Design และขยายผลแบบ R2R/R2I) 
  • ผู้ปฏิบัติในระดับผู้ปกครอง/ผู้ช่วยเหลือที่ไม่ต้องสอบผ่านความรู้: ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้จากสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งในหนึ่งหลักสูตรจัดโดยหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรและเกี่ยวข้องกับเด็ก จัดอบรมจากทีมงานของหน่วยงานเองหรือเชิญสหวิชาชีพมาบรรยายเชิงปฏิบัติการมากกว่าหรือเท่ากับ 8 ชั่วโมงต่อวัน อย่างน้อยจัดเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันมากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน และมีการวัดความรู้ที่ได้รับก่อนและหลังการอบรม หากไม่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นก็เข้าอบรมใหม่ 
  • ผู้ปฏิบัติในระดับผู้ปกครอง/ผู้ช่วยเหลือที่สหวิชาชีพแนะนำเป็นการบ้านหลังจากเข้ารับบริการในหน่วยงาน/คลินิกที่ผ่านการรับรองตามมาตราฐานวิชาชีพ เช่น ผู้ปกครองได้รับการบ้านเพื่อฝึกลูก 5 ข้อ จากนักกิจกรรมบำบัด 

หมายเหตุ: ผู้ปฏิบัติในระดับผู้ปกครอง/ผู้ช่วยเหลือข้างต้น ไม่สามารถให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กแก่ผู้รับบริการอื่นๆ เมื่อผู้ใดพบเห็น สามารถแจ้งดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพและสถานประกอบการวิชาชีพได้ สำหรับสื่อมวลชนก็ควรรักษาจรรยาบรรณในการนำเสนอให้ข้อเท็จจริงแก่สาธารณชนโดยมีการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากลและระดับประเทศจากสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เช่น สอบถามข้อมูลจากนักกิจกรรมบำบัดถึงเรื่อง Sensory Integration (SI)

หากท่านใดสนใจว่าจะมีเทคนิคหรือกรอบอ้างอิงเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตของบุคคลออทิสติกอย่างไรบ้าง ลองเข้าไปอ่านที่ http://www.autismspeaks.org/whattodo/index.php

ผมคิดว่าในข่าวของคุณแม่ที่ฝึกลูกออทิสติกจนดีขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้ปกครองท่านอื่นๆ ได้ว่า โปรแกรมต่างๆ ช่วยลูกของตนได้อย่างไร แต่ไม่ควรแนะนำให้ผู้ปกครองท่านอื่นๆ นำโปรแกรมต่างๆ ไปฝึกลูกของตน หรือไปฝึกลูกคนอื่นๆ ด้วยการเลียนแบบวิธีการ/อุปกรณ์การฝึก โดยไม่ผ่านการประเมินและการตรวจสอบโปรแกรมเฉพาะบุคคลจากสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งต้องมีใบประกอบวิชาชีพ และผ่านคุณสมบัติต่างๆ ของผู้ปฏิบัติในระดับสหวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติในระดับคลินิกทั่วไป และผู้ปฏิบัติในระดับผู้เชี่ยวชาญ

 

หมายเลขบันทึก: 429299เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นประเด็นที่น่าสนใจนะคะ

ดีใจครับที่เจ้าของวิชาชีพออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้ และอยากเห็นการนำเสนอต่อสังคมในงานของกิจกรรมบำบัดให้มากกว่านี้ ขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจครับ

ขอบคุณมากครับคุณยงยศ

จีรวิทย์......นศ.กิจกรรมบำบัด มช.

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับ ซึ่งผมในฐานนะที่เป็นนักศึกษาก็ได้ยินการแสดงความคิดอย่างหลากหลายในกลุ่มเพื่อนๆ หลังจากที่ได้อ่านบทความของ อ.ดร.ป๊อบทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

มีผู้ให้ความสนใจเรื่องสมาธิบำบัด รอคำตอบที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/krutoiting/401929?refresh_cache=true

ครูต้อยมีเด็กออทิสติก 1 คนที่อยู่ในชั้นเรียนปกติค่ะ

อยากให้บทความนี้ผ่านสายตาผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ

การศึกษาของชาติจะได้ทำอะไรสักอย่างให้ครูที่เกี่ยวข้อง

ได้รับการพัฒนา ทำความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จริง

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับน้องจีรวิทย์

เป็นกำลังใจให้น้องนักศึกษากิจกรรมบำบัด มช. และม.มหิดล ทุกท่านให้มีความสุขในการทำงานในอนาคตครับผม

 

ดิฉันอยากจะถาม Dr.Pop ว่า จริงๆแล้วการฝึกเด็กเป็นหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดตามที่ Dr.Pop บอกไว้ แต่จริงๆแล้วผู้ปกครองพาเด็กไปเจอนักกิจกรรมบำบัดอาทิตย์ละไม่กี่ครั้ง ครั้งละไม่กี่ชั้่วโมง ชั่วโมงละเท่าไหร่? และเวลาที่เหลือต่อวันใครควรจะเป็นผู้ฝึกเด็กคำตอบก็น่าจะเป็นผู้ปกครองนะคะ แล้วถ้าผู้ปกครองที่มีประสบการณ์ออกมาฃ่วยเหลือและให้คำแนะนำตามประสบการณ์ของเขามันไม่ถูกตรงไหนคะ

ขอบคุณครับคุณปรียา

เห็นด้วยว่า นักกิจกรรมบำบัดพบเด็กและผู้ปกครองไม่กี่ครั้ง แต่โดยบทบาทนักกิจกรรมบำบัดสากล คือ ผู้ช่วยออกแบบโปรแกรมทักษะชีวิตตามบริบทจริงของเด็กและผู้ปกครอง เช่น การฝึกกิจกรรมการดูแลตนเองที่บ้าน การฝึกทักษะการรับรู้และการรู้คิดที่โรงเรียน เป็นต้น

เวลาที่เหลือ เห็นด้วยว่า ผู้ที่ควรฝึกที่ดีที่สุดคือ ผู้ปกครอง แต่ต้องค่อยๆ ปรับความคิดในแต่ละทักษะชีวิตที่เด็กควรพัฒนาการจัดการด้วยตนเองอย่างเหมาะสม และประสบการณ์ของผู้ปกครองนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มความเข้าใจตามหลักการทางกิจกรรมบำบัดด้วย เพื่อให้การช่วยเหลือของผู้ปกครองที่ผ่านการฝึกกับนักกิจกรรมบำบัดนั้นมีประสิทธิผลมากขึ้น

จากงานวิจัยที่ผมได้ศึกษาและที่กิจกรรมบำบัดสากลศึกษาแล้ว พบว่า ผู้ปกครองที่มีประสบการณ์นั้นฝึกทักษะชีวิตของลูกได้จำกัดเพราะมีการนำเทคนิคเชิงกว้างมาฝึกลูก แต่ผู้ปกครองที่เรียนรู้หลักการกิจกรรมบำบัดและได้รับความเข้าใจในการประเมินประสิทธิผลของความสามารถของลูกได้ (จากการอบรมเชิงกว้างและเชิงลึกเฉพาะรายบุคคล การฝึกปฏิบัติ การประเมินผลจากนักกิจกรรมบำบัด) ในช่วง 3-6 สัปดาห์อย่างต่อเนื่องสามารถฝึกทักษะชีวิตได้ยั้งยืนในบริบทสถานการณ์ชีวิตจริง

ดังนั้น คำว่าไม่ถูกต้อง อยู่ที่ว่าโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตนั้นเหมาะสมกับเด็กและผู้ปกครองแต่ละท่านอย่างไร หากมีอันตรายเกิดขึ้นเมื่อแนะนำในเด็กและผู้ปกครองอื่นๆ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้คำแนะนำทางกิจกรรมบำบัด ก็สามารถปรึกษาคณะกรรมการวิชาชีพให้พิจารณาความเหมาะสมทางกฎหมายได้ เช่นเดียวกับการฝึกนักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางด้านเด็กพิเศษหรืออื่นๆ มีการศึกษากันนานถึง 6 ปี ในหลักสูตร Doctor of Occupational Therapy และต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย รวมถึงการเพิ่มคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญของกิจกรรมบำบัดสากล

เห็นใจมาเลยทั้งผู้ปกครองและนักกิจกรรมบำบัดขอให้ถอยกันคนละก้าวและร่วมกันดูแลเด็กต่อเถอะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท