การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ


การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ

การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี : ยุทธวิธีการอบรมแบบหุ้นส่วน

A Development of Training Model for Program of Nursing Specialty in  Nurse Practitioner (Primary Medical Care) Boromarajoni College of Nursing, UdonThani : Joint venture approach

ผู้วิจัย : นวลใย  พิศชาติ*, เบญจวรรณ กิจควรดี**, นิรุธ มโนมัย** และ ภาณุ  อดกลั้น**(2553). 

Nuanyai Pischat, Benchawan Kitkwandee, Niroot Manomai and Panu Odklun.(2553).  

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี”  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้เข้าอบรม จำนวน 274  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ และความคิดเห็นอื่นๆ  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1    มกราคม 2552      ถึง  31  มิถุนายน  2553  ระยะเวลา รวม 1 ปี 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่    และร้อยละ วิเคราะห์ความคิดเห็นด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และ      ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และข้อเสนอแนะ ด้วยสถิติความถี่และ ร้อยละ  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ได้รูปแบบการอบรมโดยใช้ระบบหุ้นส่วนในทุกขั้นตอน ดังนี้ 1) ผู้เข้าอบรมได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง2) การเรียนการสอนพร้อมสาธิตโดยใช้ระบบอาจารย์พี่เลี้ยงในพื้นที่ 3) การฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในพื้นที่ 4) การฝึกอบรมทฤษฎีอย่างเข้มภายหลังการฝึกภาคปฏิบัติอีกครั้ง 5) การประเมินความรู้ และทักษะปฏิบัติหลังการอบรม 6) การจัดอบรมโดยใช้หน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพยาบาลในพื้นที่ปฏิบัติงานที่เป็นเครือข่ายและเป็นหุ้นส่วน 7) การแบ่งระยะเวลาที่เหมาะสม มีผู้ป่วยจริงใช้ในกระบวนการการพัฒนาผู้เข้าอบรม 8) ทดสอบผู้ผ่านการอบรมด้านทักษะปฏิบัติในระดับชำนาญ

2. การทดลองใช้รูปแบบการอบรมโดยใช้ระบบหุ้นส่วน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเห็นว่าทุกขั้นตอน ทุกกิจกรรม มี

ความเหมาะสมในระดับมาก  

                3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการอบรมพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมาก 1) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการในกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ 2) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูลของวิทยาลัย ในระดับดี     และ 3) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก 4) มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอบรมในภาพรวมในระดับดีมาก 

 

 

 

* ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ** พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี 

 

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทาง, ยุทธวิธีการอบรมแบบหุ้นส่วน,A Development of Training Model for Program of Nursing Specialty, Joint venture Training Model approach

เนื้อหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                ในปี 2549 องค์การอนามัยโลกไดกำหนดใหปัญหากำลังคนทางด้านสาธารณสุขเปนปัญหาของโลกและอยู่ในขั้นวิกฤตใน 57 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และผดุงครรภ์ มีการขาดแคลนประมาณ 2.4 ลานคน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีการขาดแคลนใน 11 ประเทศ สูงถึง 1.2 ลานคน โดยสัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยต่อประชากรอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ  30 คนต่อประชากรแสนคน     ในปัจจุบันประเทศไทยมีแพทย์ 25,932 คน ต่ำกว่าที่ควรจะมี คือ 38,340 คน ถึงราว 12,000 คน นอกจากนั้นการกระจายแพทยที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้พื้นที่ชนบทมีปัญหาการขาดแคลนที่รุนแรง ในปี 2548 ภาคอีสานมีสัดสวนแพทยต่อประชากรต่ำสุด 1:7,466  ในขณะทกรงเทพมหานครมีสัดส่วนสูงสุด คือ แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 879 คน ในขณะที่ทันตแพทยมีอู่จำนวน 7,573 คน จากที่ควรมี 11,614 คน สัดส่วนทันตแพทยตอประชากรมีแนวโน้มลดลงในทุกภาค ในปี 2546 ภาคอีสานมีสัดส่วนทันตแพทยต่อประชากรต่ำสุด  1:21,739 ในขณะทกรงเทพมหานครมีสัดส่วนสูงสุด คือ ทันตแพทย์ 1 คนตอประชากร 1,458 คน ในขณะที่วิชาชีพพยาบาลยังมีความขาดแคลนอีก 23,586 คน

                ตามมาตรฐานของศูนย์สุขภาพชุมชนที่กำหนดให้มีพยาบาลวิชาชีพ 1 คนต่อประชากร 5,000 คน แพทย์ประจำเครือข่าย 1 คนต่อประชากร 10,000 คน แต่ในกรณีไม่สามารถจัดหาแพทย์มาให้บริการได้ต้องจัดให้มีพยาบาลวิชาชีพ หรือ พยาบาลเวชปฏิบัติเพิ่มเติม (สำนักพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ, 2545; 15) ซึ่งปัจจุบันใน 3 จังหวัดมีประชากรประมาณ 3,006,283 คน จำแนกเป็นจังหวัดอุดรธานีประมาณ 1,566,542 คน  จังหวัดหนองคาย ประมาณ 926,827 คน จังหวัดเลย ประมาณ 632,305 คน และ จังหวัดหนองบัวลำภู  ประมาณ 512,914 คน (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี ,2552) ควรมีพยาบาลเวชปฏิบัติอย่างน้อย 602 คน แต่พบว่าเขตตรวจราชการที่ 10 ณ ปี 2551 มีพยาบาลเวชปฏิบัติเพียง 243 คน จำแนกเป็นจังหวัดอุดรธานี 156 คน  จังหวัดหนองคาย 30 คน และ จังหวัดหนองบัวลำภู 57 คน (สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 10, 2551)

จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 10 ได้ประสานงานมายัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล       เวชปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของสถานบริการในชุมชน ในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นผู้วิจัยและคณะจึงมีความสนใจที่จะศึกษา “ การพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น)  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี”  มีประสิทธิภาพ(efficiency) และประสิทธิผล(effectiveness)ขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 3) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น)

อุปกรณ์และวิธีการ

1. ประชากร และ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพในเขตตรวจราชการที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

พยาบาลวิชาชีพผู้เข้าอบรม

จำนวน(คน)

ร้อยละ

จำนวน(คน)

ร้อยละ

รุ่น 1

109

33.2

91

33.2

รุ่น 2

110

33.6

92

33.6

รุ่น 3

109

33.2

91

33.2

รวม

328

100.00

274

100.00

 

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 3  ฉบับ ดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการจัดการอบรม เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรม

ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาความตรงเชิงเนื้อหา (Construct validity)

ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของ พยาบาลวิชาชีพผู้เข้าอบรมต่อรูปแบบการอบรม

3. การดำเนินการวิจัยและการรวบรวมข้อมูล

การดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ดังแสดงในภาพประกอบต่อไปนี้

ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการอบรม

 

 

 

 

               

กำหนดวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติ

ปรับปรุงรูปแบบในการอบรม

การประเมินสรุปรูปแบบในการอบรม

การประเมินย่อยรูปแบบในการอบรม

พัฒนาเครื่องมือในการอบรม

พัฒนารูปแบบการอบรม

พัฒนาเครื่องมือในการประเมิน

วิเคราะห์ผู้อบรมและบริบทอื่นๆ

วิเคราะห์เป้าหมาย

กำหนดเป้าหมาย

ตอนที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการอบรม

 

จัดการอบรมการอบรมตามรูปแบบ

ตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการอบรม

 

ประเมินรูปแบบการอบรมกับผู้เกี่ยวข้อง

Step 11

Step 12

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการอบรม ดำเนินการดังนี้

1) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบการอบรม โดยคณะผู้วิจัย 2) วิเคราะห์เป้าหมาย โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ผู้อบรมและบริบทอื่นๆโดยคณะผู้วิจัยศึกษาข้อมูลความต้องการจำเป็น 4) กำหนดวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติ ในการพัฒนารูปแบบการอบรมแนวใหม่ 5) พัฒนาเครื่องมือในการประเมินรูปแบบการอบรม  6) พัฒนารูปแบบการอบรม ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  7) พัฒนาเครื่องมือในการอบรม เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น   8) การประเมินย่อยรูปแบบในการอบรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 9) การปรับปรุงรูปแบบในการอบรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  10) การประเมินสรุปรูปแบบในการอบรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ

ตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการอบรม ดำเนินการโดยการใช้ระบบหุ้นส่วน หลังจากสภาการพยาบาลได้เห็นชอบหลักสูตรฯ

ตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการอบรมและความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม ดำเนินการดังนี้

                1) พัฒนาแบบสอบถามรอบแรกผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามปลายเปิดสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) การพัฒนาแบบสอบถาม รอบที่ 2 หลังจากได้รับข้อมูลจากแบบสอบถามรอบแรกแล้ว 3) การพัฒนาแบบสอบถามรอบที่ 2 หลังจากได้รับข้อมูลจากแบบ สอบถามรอบที่ 2   4) นำแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพผู้เข้าอบรมต่อรูปแบบการอบรม

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

1. ความตรงตามเนื้อหา(Content validity) ให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1 ในทุกคำถาม

2.  การหาความเที่ยง (Reliability ด้วยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)ได้ 0.8

การรวบรวมข้อมูล

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านความคิดเห็นใช้แบบสอบถาม Likert’s scale ชนิด 5 ระดับ ที่มีความห่างในแต่ละระยะเท่าๆกัน

                2.ข้อมูลเชิงคุณภาพสำหรับคณะกรรมการอำนวยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะ

การวิเคราะห์ข้อมูล

                หลังจากที่เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม คณะผู้วิจัยเป็นผู้บันทึกข้อมูล ซึ่งมีการตรวจความถูกต้องของการบันทึกแล้ววิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีดังนี้

                1.   วิเคราะห์ข้อมูล ทางคุณลักษณะประชากร ของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติความถี่    และร้อยละ

2. วิเคราะห์ความคิดเห็นในการใช้รูปแบบการอบรมที่พัฒนาขึ้น ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

3. วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และข้อเสนอแนะ ที่ได้จากคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจารย์ผู้สอนภาคทฤษฎี พยาบาลวิชาชีพผู้เข้าอบรม ด้วยสถิติความถี่ และ ร้อยละ

ผลการวิจัย

1. ได้รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี โดยใช้ระบบหุ้นส่วนในทุกขั้นตอน ได้รูปแบบดังนี้ 1) ผู้เข้าอบรมได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง(Self Learning) 2) การเรียนการสอนพร้อมสาธิต (Teaching and Demonstrate) โดยใช้ระบบอาจารย์พี่เลี้ยงในพื้นที่ 3) การฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล (Practice) ในพื้นที่ 4) การฝึกอบรมทฤษฎีอย่างเข้ม (Intensive Training) ภายหลังการฝึกภาคปฏิบัติอีกครั้ง 5) การประเมินความรู้ และทักษะปฏิบัติหลังการอบรม 6) การจัดอบรมโดยใช้หน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพยาบาลในพื้นที่ปฏิบัติงานที่เป็นเครือข่าย(Networking) และเป็นหุ้นส่วน(Joint venture) 7) การแบ่งระยะเวลาที่เหมาะสม มีผู้ป่วยจริงใช้ในกระบวนการการพัฒนาผู้เข้าอบรม 8) ทดสอบผู้ผ่านการอบรมด้านทักษะปฏิบัติในระดับชำนาญ

 

 

 

บทบาทของหุ้นส่วน

วิทยาลัยพยาบาล

สำนักงานเขต/สสจ.

รพท/รพร/รพช./พื้นที่ฝึก

1. บริหารการอบรม/ประกาศนียบัตร

2. หุ้นส่วนวิทยากร

3.หุ้นส่วนอุปกรณ์/สถานที่อบรม

1. วางนโยบาย ประสานความร่วมมือ

2. สนับสนุนงบประมาณ

3. หุ้นส่วนวิทยากร

1. ประสานในพื้นที่/คัดเลือกผู้เข้าอบรม

2. หุ้นส่วนวิทยากร

3.หุ้นส่วนอุปกรณ์/สถานที่อบรม

 

2. การทดลองใช้รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนีอุดรธานี โดยใช้ระบบหุ้นส่วน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเห็นว่าทุกขั้นตอน ทุกกิจกกรม มีความเหมาะสมใน      ระดับมาก  

3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการอบรมพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี พบว่า พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมาก 1) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการในกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ 2) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูลของวิทยาลัย ในระดับดี     และ 3) มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก 4) มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอบรมในภาพรวมในระดับดีมาก   

อภิปรายผล

การอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่โดยใช้ระบบหุ้นส่วนได้การผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบบริการในระดับพื้นที่โดยใช้พยาบาลเวชปฏิบัตินั้น จะต้องมีปริมาณที่มากพอ และมีคุณภาพตามมาตรฐานที่สภาการพยาบาลกำหนด ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากความสำเร็จในการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่เพื่อสุขภาวะของประชาชนนี้ประกอบด้วย 3 ประการ คือ

1. ความครอบคลุม(coverage) การอบรมวิธีใหม่จะสามารถเพิ่มปริมาณพยาบาลเวชปฏิบัติ สำหรับให้บริการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการสาธารณสุขในชุมชน คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ สถานีอนามัย ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จำนวน   2 - 3 คน ต่อหน่วยบริการ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่บริการดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างทันท่วงที และครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้วยรูปแบบการจัดอบรมเช่นนี้ จะสามารถดำเนินการผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติที่มีสมรรถนะในการรักษาพยาบาลขั้นต้น ได้มาตรฐานตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด ในจังหวัดหนึ่งๆ ได้ถึง 400 – 500  คน ภายใน 1 – 2  ปี  

2. การมีส่วนร่วม(Participant) ผู้สอนพยาบาลเวชปฏิบัติ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติที่อยู่ในหน่วยบริการสาธารณสุขในชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนอำนวยความสะดวก ต่างคนต่างช่วยกันทั้งลงเงิน ลงแรง ลงสมอง ให้การอบรมบ่มเพาะความรู้ และทักษะในการรักษาพยาบาล และทักษะด้านอื่นๆให้แก่พยาบาลที่เข้าอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่นี้ ให้การดูแลเสมือนเป็นลูกหลาน ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ได้ผลิตผล คือ พยาบาลเวชปฏิบัติที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจนี้ก็จะกลับไปปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล และสร้างเสริมสุขภาวะให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างถูกต้อง ตรงประเด็นปัญหา ทันท่วงที และปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ

3. การบูรณาการระบบหุ้นส่วน(Joint venture) และ การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง(Networking) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุด การรวมลงทุนของหน่วยงานต้นสังกัดที่สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และจากการที่แพทย์ได้สอนพยาบาลเวชปฏิบัติ เป็นการสร้างมิติใหม่ของความสัมพันธ์เสมือนครูกับศิษย์ ดังนั้นการลูกศิษย์ขอคำปรึกษา (Consult) หรือกระทั่งการส่งต่อ (refer) ก็จะได้รับการตอบสนองด้วยไมตรีจิตของความเป็นครูอย่างแน่นอน

สรุป

รูปแบบการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่โดยการใช้ระบบหุ้นส่วน จะเป็นคำตอบสำคัญอีกประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข และสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่ง นพ.นิทัศน์ รายยวา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 10 ได้ให้ความเห็นว่า การอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่จะทำให้การบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนมีความครอบคลุม(Coverage) มากขึ้น จากข้อมูลสภาการพยาบาล(พ.ศ.2553) พบว่าปัจจุบันสถาบันการศึกษาที่ผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติทั้งหมดในประเทศผลิตได้ประมาณ 50 คนต่อรุ่น   ดังนั้นการมีส่วนร่วม (Participant) ของบุคลากรในการผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติในเขตพื้นที่บริการจะทำให้ได้บุคลากรมีคุณภาพ และคุณธรรมไปให้บริการรักษาพยาบาลในชุมชน และเกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง (Networking) ที่เอื้อเฟื้อต่อกันในระบบบริการสาธารณสุข ซึ่ง 3ส่วนนี้เป็นหัวใจของการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแนวใหม่ ที่เหนือกว่าการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติแบบดั่งเดิม หรือ Conventional process อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ในด้านการรักษาพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

การนำผลการวิจัยไปใช้

1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ ที่ขาดแคลนแพทย์ มีความจำเป็นในการเพิ่มพูนความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพเพื่อให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ขาดความรู้ ขาดความ      ตะหนักในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (self care) เช่น การสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคด้วยการออกกำลังกาย การบริโภคที่เหมาะสม

2. การสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ และความร่วมมืออันดีของบุคลากรสาธารณสุขพร้อมทั้งหน่วยงานบริการในทุกระดับตั้งแต่ รพ.สต. จนถึง รพ.ศ.เป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ จึงควรใช้ในพื้นที่ที่ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขดังกล่าว

กิตติกรรมประกาศ

                รายงานการวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจากเข้ารับการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยได้เข้าไปดำเนินการเก็บข้อมูลและได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยจนทำให้การทำวิจัยในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ขอขอบคุณเป็นผู้พิจารณา คือ นพ.นิทัศน์ รายยวา สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข    รองศาสตราจารย์ธนานันต์ กุลไพบุตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร  และอาจารย์ประสงค์ ต่อโชติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญที่ได้กรุณาปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

                ขอขอบพระคุณบิดา  มารดา ครู อาจารย์ และญาติพี่น้องทุกคนที่ให้กำลังใจ และกรุณาให้การอบรม สั่งสอน จนผู้วิจัยและคณะมีพลังและแรงใจในการทำงานได้สำเร็จด้วยความมานะอดทน

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข .(2553). แผนยุทธศาสตรกระทรวงสาธารณสุข  พ.ศ. 2552 – 2555. กรุงเทพฯ.โรงพิมพสามเจริญพาณิชย

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.

อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ธีระ  ประวาลพฤกษ์.  (2538). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม.  กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์การศาสนา.

พยอม  วงศ์สารศรี.(2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ.บริษัท สำนักพิมพ์สุภา จำกัด.

สมชาย หิรัญกิตติ.(2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ.บริษัท ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์ จำกัด.

Fred N. Kerlinger and Howard B. Lee. (2000). Foundations of Behavioral Research. Fourth Edition.

Harcourt College Publishers. Philadelphia, USA.

Jame H. McMillan and Sally Schumacher. (1997). Research in Education.Fourth Edition. Addison-Wesley

Educational Publishers Inc. New York, USA.

John W. Creswell. (2002). Educational Research: Planning, conducting, and evaluating                quantitative and

qualitative research. USA. Merrill Prentice Hall.

Meredith D. Gall, Joyce P. Gall and Walter R. Borg. (2007). Educational Research : An Introduction.

Eighth Edition. USA. Pearson Education, Inc.

หมายเลขบันทึก: 428077เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท