มารยาทในการแต่งกาย(เครื่องแบบ)


มารยาทในการแต่งกาย(เครื่องแบบ)

การแต่งเครื่องแบบข้าราชการ ต้องทำความเข้าใจกับกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องสิ่งที่เห็นบกพร่องหรือผิดพลาดพบเห็นอยู่เป็นประจำคือ

                การแต่งเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการชายรองเท้าหุ้มส้นต้องสีดำ และถุงเท้าดำเท่านั้น ป้ายชื่อไม่ต้องติด

                เครื่องแบบสีกากี ใช้ได้ทั้งรองเท้าหุ้มส้นสีดำและสีน้ำตาล ถุงเท้าดำหรือน้ำตาลสีเดียวกับรองเท้า ต้องมีป้ายชื่อตัว ชื่อสกุลและตำแหน่ง ไม่มีขอบขาวและสัญลักษณ์ ภายในป้ายพื้นดำ ขนาด 2.5 × 7.5  ซม.  เครื่องหมายต้นสังกัดเช่น  เสมาหรือสิงห์ ต้องมีขนาดความสูง 2  เซนติเมตร  ถ้าเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยต้องใช้รูปสิงห์หน้ากระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่สิงห์ที่เป็นลายกนกรูปวงกลม มองแล้วดูไม่ออกว่าเป็นรูปสิงห์ แพรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต้องเป็นชนิดที่ทำด้วยผ้าแพรแถบไม่ใช้แถบด้วยพลาสติกหุ้ม ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯชั้นไหนก็ตาม จะต้องติดให้ครบถ้วนตามลำดับไม่ใช่ติดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ยังไม่ได้รับพระราชทานไม่มีสิทธิประดับ เช่น  แถบยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ข้าราชการผู้เกิดหลัง พ.ศ. 2500 ย่อมไม่มีสิทธิประดับ  หรือแพรแถบเสด็จนิวัตพระนคร พ.ศ. 2504  ผู้ที่เกิดหลัง พ.ศ. 2504  ย่อมไม่มีสิทธิประดับ

                นอกจากนั้นเข็มขัดเครื่องแบบข้าราชการรูปครุฑต้องดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่ใช่แบบขันด้วยสกรูซึ่งเมื่อสกรูหลวม ครุฑมักจะเอียง ปลายเข็มขัดให้ปล่อยเฉพาะส่วนที่หุ้มโดยโลหะเท่านั้น หรือใช้สอดซ่อนปลายไว้ ไม่ใช่ปล่อยชายยาว

 

 

อ้างอิงจาก  ทองสุข  มันตาทร  ศิลปะการพูดและการเป็นพิธีกร  พิมพ์ครั้งที่ 7  พ.ศ. 2551

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 428072เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท