ธรรมะที่sport club


 

23-2-54

ดิฉันมีโอกาสไปทานข้าวกลางวันกับเพื่อนหมอผู้หญิงที่เป็นไฮโซบ้างไฮซ้อบ้าง กลุ่มหนึ่งที่ sport club เป็นครั้งแรกค่ะ      เป็นการเลี้ยงเพื่อนที่กลับจากอเมริกาค่ะ

เราคุยกันตามประสาผู้สูงอายุ     เพื่อนที่เป็นรองปลัดสธ.เล่าถึงการได้รับการชักชวนให้เข้ามาหัดดูกายใจฝึกสติจากหมอที่เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน     ดิฉันแนะนำให้เชิญลูกของเพื่อนร่วมรุ่นมาสอนเพราะน่าจะได้โสดาบันแล้ว    

มีคนถามต่อว่ารู้ได้อย่างไร     ขอตอบเท่าที่ทราบค่ะว่าเดาเอา    แต่ตำราท่านอธิบายดังนี้ค่ะ 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้วแบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ และยังแบ่งย่อยเป็น 8 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ได้อีก

อริยบุคคลแบ่งตามประเภทใหญ่   เสขะ และ อเสขะ

เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ คือพระอริยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรลุ อรหันตผล หรือยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี เสขะ หากได้บรรลุอรหันตผลเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันพ้นจากความเป็นเสขะ และได้ชื่อว่าใหม่ว่า อเสขะ

อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก

 อริยบุคคลแบ่งตามประเภทบุคคล

 โสดาบัน

โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค) เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ

  1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา

  2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่

  3. สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา

ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน

ดิฉันขอเพิ่มเติมจากหนังสือพุทธธรรมค่ะที่คัดมาเฉพาะง่ายๆพอสังเกตได้ค่ะ

โสดาบัน นอกจากการละสังโยชน์ได้ 3อย่างแล้ว  ดิฉันขอเพิ่มการ มี   จากหนังสือพุทธรรมค่ะ

คุณสมบัติฝ่ายมี

1ด้านศรัทธา  เลื่อมใสในพระรัตนตรัยแน่วแน่ไม่ผันแปร เกิดจากญาณ ความรู้ เข้าใจ

2ด้านศีละ มีศีล5บริบูรณ์  กาย วาจา ใจ ไม่เป็นทาสตัณหาเช่นหวังผลตอบแทน

3 ด้านสุตะ ได้เรียนรู้อริยธรรม

4 ด้านจาคะ  ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่  ยินดีในการแบ่งปัน

5ด้านปัญญา มีปัญญาอย่างเสขะ รู้จักอริยสัจจ์4       มองเห็นปฏิจจสมุปบาท  เข้าใจไตรลักษณ์    รู้โลกแท้จริง

6ด้านสังคม  ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน    เรียกว่ามี สาราณียธรรมได้สมบูรณ์6ข้อ

เมตตากายกรรม  ช่วยเหลือ

เมตตาจวีกรรม  ตักเตือนด้วยความหวังดี สุภาพ

เมตตามโนกรรม  คิดต่อกันด้วยเมตตา ยิ้มแย้มแจ่มใส

สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม  เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วม

สีลสามัญญตา  ประพฤติสุจริตเสมอผู้อื่น ไม่ทำตัวให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่

ทิฎฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ในอารยทฤษฎี ( ทิฎฐิที่เป็นอาริยะ ) ซึ่งนำไปสู่การกำจัดทุกข์ ( ต้องอาบัติละเมิดวินัยต้องเปิดเผย  เอาใจใส่ช่วยเหลือหมู่คณะแต่ขณะเดียวกันก็ใฝ่ใจอย่างแรงกล้าในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา  )

7 ด้านความสุข  เริ่มรู้จักโลกุตรสุข  ที่ประณีตลึกซึ้งโดยไม่อาศัยอามิส

ขอเพิ่มคุณสมบัติฝ่ายละจากหนังสือพุทธรรม ค่ะ

1 ละสังโยขน์3

2 ละมัจฉริยะ  ความตระหนี่  ใจแคบหวงแหน5อย่าง หวงถิ่น หวงตระกูล(เล่นพวก) หวงลาภ หวงคำสรรเสริญ(=ชมคนอื่นไม่ได้  ) หวงธรรม(ความรู้  กลัวคนเก่งเท่าตน)

3 ละอคติ4  ความลำเอียง4อย่าง  ลำเอียงเพราะชอบ  เพราะชัง  เพราะหลง เพราะกลัว

4 ละราคะโทสะโมหะหรือโลภโกรธหลงขั้นหยาบรุนแรงที่จะไปอบาย  ไม่ตกนรกแล้ว

5 ระงับภัยเวร โทมนัส และทุกข์ทางใจต่างๆที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามศีล เป็นผู้พ้นอบายสิ้นเชิง  ความทุกข์เหลืออยู่บ้าง  แต่น้อยข้อความที่เขียนอาจผิดพลาดบ้างเพราะยังอ่านและปฏิบัติน้อยค่ะ   ตั้งใจเก็บไว้เพื่อให้เกิดความเพียรและรู้ตัวเองมากขึ้นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 427997เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท