ปัญญา-เรณู : จดหมายถึงลุงบิณฑ์


   หลังจากผมได้เห็นเพื่อนซึ่งเป็นคนอุบลราชธานีส่ง msn เพื่อบอกให้ทราบว่า กำลังดูคลิบปัญญา เรณู อยู่ ทำให้ผมคิดว่า ปัญญา เรณู เป็นอย่างไร จึงเข้าไปดูคลิบตามเพื่อนบ้าง เมื่อดูแล้วทำให้อยากดูต่อ แต่มันมีเ่ท่าที่มันมีบนโลกอินเตอร์เน็ต ทราบว่า เป็นเรื่องบ้านๆ โดยเฉพาะบ้านนอก และเป็นเรื่องที่เด็กๆที่ไม่มีประสบการณ์เข้ามาแสดง จึงอยากรู้ว่า เรื่องราวเต็มๆ เป็นอย่างไร ผมประทับใจเด็กๆที่กล้าหาญในการแสดงสิ่งสร้างสรร

 ภาพยนตร์ไทยที่ผ่านตาและอยากดูอีกเช่น "ความจำสั้นแต่รักฉันยาว" "โหมโรง" "เหมืองแร่" ในใจลึกๆ อยากสร้างภาพยนตร์สักเรื่อง หลังจากได้ดูเรื่อง ..... (จำไม่ได้) แล้วรู้สึกว่า ผู้สร้างยังเข้าไม่ถึง

   วันนี้จึงเดินทางจากอยุธยา ไปฟิวเจอร์รังสิต จองตัวเป็นเงิน ๑๖๐ บาท เวลา ๑๑.๒๐ น. ภาพยนตร์เริ่มฉาย แถวซี มีผมนั่งคนเดียว แถวเอ ประมาณห้าคน แถวดี ๓ คน เป็น เด็กนักเรียนสะพายเป้ (สงสัยชั่วโมงว่าง) ดีหน่อยที่ยังมีเพื่อนดูบ้าง เคยไปนั่งคนเดียวทั้งโรงที่เมเจอร์นวนครมาแล้ว รู้สึกใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง

   หลังจากดูจบ ต้องยอมรับถึงความสามารถของเด็กๆ (ในระดับเด็ก ไม่ใช่ดารามืออาชีพ) แม้ว่า มันจะยังไม่สนิทนัก แต่รับได้ ชอบตัวเอกของเรื่อง ที่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องรักๆ ใคร่ๆ แต่มองเป็นเรื่อง "เพื่อน" ฉากสุดท้ายของเรื่อง เรียกว่า ปิดฉากได้ดี ทำเอาคนที่เดินออกจาก
โรงตาแดงทั่วกัน แต่บางฉากดูเกินปกติไป เช่น ตัวเอกของเรื่องซึ่งเป็นเด็กหาญกล้าไปยืมเงินพระ ๑ แสนบาท ผมมองว่า หากจะยืมได้ แต่ต้องแสดงออกให้ได้ว่า พระมองเด็กเหมือนเด็กคือไร้เดียงสา และควรมองเหมือนไม่ถือสาในฐานะที่เขาเป็นเด็ก แต่ความไม่ถือสานี้พร้อมที่จะช่วยสร้างความฝันของเด็กให้เป็นจริง ตอนหลังพระเอาเงินที่โยมถวายมานั้นไปให้ตัวเอกของเรื่องยืม หากเป็นไปได้ (เท่าที่ประสบกับความเมตตาของพระ) พระควรให้เลย (หากให้ได้ โดยคนถวายต้องแสดงเจตจำนงค์ตั้งแต่เริ่มว่า แล้วแต่พระคุณเจ้าจะเอาไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์) ส่วนฉากการแข่งขันชิงแชมป์เพื่อเป็นตัวแทนในการไปแสดงนั้น น่าจะละเอียดกว่านี้ ดูเหมือนจะรวดเร็วเกินไป

  อย่างไรก็ตาม ฉากสุดท้าย ต้องยอมรับตัวเอกของเรื่องที่กำลังสิ้นใจอยู่บนเตียง เท่าที่สังเกต ขนตาไม่กระพริบ เรียกว่า แนบเนียนดี แล้วตัวเอกของเรื่องก็ฟื้นขึ้น หลังจากหลวงพ่อได้บวชให้บนเตียงในโรงพยาบาลนั่นเอง เด็กๆ ดีใจเฮกันเข้ามา อีกฉากที่ต้องยอมรับตัวเอกของเรื่องอย่างยิ่งคือ ตอนเบ่งปลิงออกจากเจี้ยว สีหน้าท่าทาง หน้าตา ผมยอมรับว่า "ถึง"

  เขาว่ากันว่า การให้เด็กมาแสดงนั้นค่อนข้างยาก ได้ในระดับนี้ก็ดีแล้วซึ่งต้องขอบคุณลุงบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ กับการเสนองานแนวนี้ออกมาให้ดูชมเพื่อความบันเทิงกัน

ภาพยนตร์จบแล้วจ้า.............................

  อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดินออกจากโรงภาพยนตร์ ผมคิดเลยไปอีกว่า น่าจะมีต่อ แต่เป็นการต่อในความคิดของผม (คิดทิ้งคิดโยน) โดยมีเป้าหมายหลักคือ "ความเข้าใจ" จากฉากที่ตัวเอกของเรื่องตั้งใจบวชแก้บน ๓ วัน หลังจากหายเจ็บหายป่วยแล้ว ปรากฏว่า ตัวเอกของเรื่องไม่สึก ขณะที่ตัวรอง (ชาย) เห็นเพื่อนไม่สึก จึงบวชเณรด้วย ซึุี่่งเป็นการบวชเพื่ออบรมสามเณรภาคฤดูร้อน คราวนี้ความวุ่นวายจะเกิดกับหลวงพ่อ ที่ต้องคอยดุ คอยว่า คอยสั่งสอน อะไรดี อะไรไม่ดี อย่างไร กับสามเณรภาคฤดูร้อน ซึ่งไม่ใช่คนสองคน แต่เป็น ร้อยคนที่เข้ามาบวชกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีของเด็กที่จำต้องอยู่ในกรอบของกฎเกณฑ์ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของเด็ก (เป็นการต่อสู้ระหว่างวิชาการทางจิตวิทยาและวินัยทางศาสนา โดยมีเด็กเป็นตัวกลาง) เราจะเห็นถึงวิถีของสามเณรตัวเล็กๆ ที่ต้องต่อสู้ ช่วยเหลือตัวเอง ด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่คนใหม่คือ หลวงพ่อ เราจะได้อะไรจากภาพยนตร์ตอนนี้ "คำสอนของหลวงพ่อที่ให้การอบรมเหล่าเณรน้อย" หลังจากสิ้นเมษา เด็กๆ ทั้งหลาย พากันลาสิกขา แต่ตัวเองของเรื่องพร้อมด้วยเพื่อน ๕ คน ไม่ลาสิกขา หลวงพ่อส่งไปเรียนที่สำนักเรียนบาลีในจังหวัดชุมพร (ฮาฮา) คราวนี้เป็นการผสมกันระหว่างคนต่างวัฒนธรรม ที่จะต้องพาตัวเองให้รอดจากการศึกษาภาษาบาลี ซึ่งเป็นการศึกษาที่แตกต่างจากทางโลก สามเณรวัยหนุ่ม ทางจิตวิทยาพูดว่าอย่างไร พฤติกรรมเหล่านั้นจะแสดงออกมา ขณะเดียวกัน จะถูกปรามจากอาจารย์ใหญ่ เพื่อให้รู้จักหักห้ามตัวเอง ไม่ให้เป็นไปตามความต้องการของตนเสมอไป ฯลฯ วิถีของการเรียนบาลี บางครั้ง ต้องแอบเรียนกันกลางค่ำกลางคืน จุดธูปดอกเดียว แล้วเป่าให้แดงวาบ เพื่อดูบรรทัดของหนังสือ ก่อนจำมาท่อง ฯลฯ แน่นอนบางคน สอบตก ต้องเสียใจเป็นธรรมดา เพราะทุ่มเทกันมาตลอดปี แต่อุปสรรคต่างๆ ก็ผ่านไป บางคนเรียนไม่จบ จึงลาสิกขาออกไปต่อทางโลก ฯลฯ อย่างไร ก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าจะจบด้วย "ฉันรู้ว่าฉันเลือกอะไร และฉันจะเป็นอะไร" ทั้งนี้เพื่อยกย่องพระสงฆ์ผู้ประสบความสำเร็จหลายท่าน

  แน่นอน ผมอยากได้ภาพยนตร์แบบนี้ แต่หากใครลงทุนทำจริง คงขาดทุนย่อยยับ ฮาฮา อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ผมคิดว่า ละครโทรทัศน์ (มาถึงโทรทัศน์ได้ไงเนี่ย) น่าจะอิ่มตัวได้แล้วกับการ ยุแยง ด่า แย่งชิง ฯลฯ น่าจะมาเริ่มที่ การเข้าใจกันและกันซึ่งปลอดพ้นจากความรุนแรงใดๆ ได้แล้ว

  ขอบคุณลุงบิณฑ์ ที่ทำหนังมาให้ดูเน้อครับ

หมายเลขบันทึก: 427593เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มาอ่านอย่างนี้แล้วอยากจะดูบ้างแล้วค่ะ :)

อย่าตั้งความหวังไว้สูงนะครับคุณมะปราง..แล้วจะสมหวัง :-)

เห็นมีหลายคนพูดถึง....

คงต้องไปดูให้เห็นกับตาแล้วจึงจะออกความคิดเห็นได้

ไม่ได้เจอกันเลยครับท่าน...

เเต่ละคนก็มากภารกิจ

ท่าน john redtor แนะนำ ให้ผมดู ว่าดาราเป็นคนอุบล

สวัสดีครับ krugui Chutima (ความเห็นล่าสุด)

  • ลองอุดหนุนกันดูครับ ดูพอบันเทิงนะครับ

สวัสดีครับ อ.เอก

  • ประมาณนั้น ภารกิจพอควร เงินจำกัด จึงต้องจัดการตัวเองครับ :-)
  • เรียนจบเร็วๆนะครับ

สวัสดีครับ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม (ความเห็นล่าสุด)

  • ผมก็ถูกแนะนำจากเพื่อนพื้นเพอุบลเช่นกันครับ บอกว่า นักเรียนของแม่แสดงด้วย
  • ลองไปอุดหนุนคุณบิณฑ์หน่อย เห็นว่า ไม่ค่อยได้โฆษณากับเขา

สวัสดีค่ะ

อาจารย์หายไปนานนะค่ะ สบายดีนะค่ะ

ต่างคนต่างมีภารกิจกันจริงๆ

เดี๋ยวมีเวลาจะแว๊บบบบบไปดูค่ะ ได้ยินคนกล่าวขวัญมานานเหมือนกันค่ะ

สวัสดีครับ my sister

  • ไม่ได้หายไปไหน ยังเดินต๊อกแต๊กอยู่นั่นเอง
  • ช่วงชีวิตมีกรรม (กระทำ) ครับ
  • ขอให้ความสุขสนุกสนานร่าเริงเบิกบานเน้อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท