โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่


โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่และรับฟังการบรรยายพิเศษ
เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การจัดการความรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
ของชุมชนสิ่งแวดล้อมศึกษาผืนป่าตะวันตก
สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


หลักการและเหตุผล
               ด้วยในรายวิชา 392642  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทย ซึ่งเป็นรายวิชาที่จัดสำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 1 และ 2 ได้กำหนดแนวทางการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาไทยและเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนที่นำความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติลงสู่ชุมชนและสังคมในประเด็นทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลกระทบสำคัญต่อประเทศไทยจากปัญหาด้านวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรณีน้ำท่วมในภาคเหนือและภาคใต้ซึ่งถือเป็นปัญหาวิกฤติของประเทศ ณ ตอนนี้
                จากปัญหาดังกล่าว การตระหนักถึงต้นตอของปัญหาคือการเปิดโอกาสให้การเรียนรู้ของชุมชนในการอยู่ร่วมกับป่า “คนดูแลป่า ป่าดูแลคน” ในแนวความคิดของป่าชุมชนและเครือข่ายการจัดการความรู้ภาคประชาชน จังหวัดอุทัยธานี อันเป็นผืนป่าตะวันตกที่สำคัญของประเทศไทยที่เป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งในการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล) องค์กรเอกชน (NGO) และชุมชน ร่วมกันปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ถ่ายทอดผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงานดังกล่าว สมควรให้นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้ถอดบทเรียนความสำเร็จสู่การเรียนรู้ของสังคม
               ดังนั้นทางอาจารย์ผู้สอนจึงเห็นควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยจัดโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่และรับฟังการบรรยายพิเศษเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การจัดการความรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนสิ่งแวดล้อมศึกษาผืนป่าตะวันตก ห้วยขาแข้ง มรดกโลก ณ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี  ในระหว่าง วันที่ 5 – 7  มกราคม  2550  ขึ้น

วัตถุประสงค์
             เพื่อนำนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 1 และ 2 ศึกษาดูงานนอกสถานที่และรับฟังการบรรยายพิเศษ  
1. สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. เกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในการป่าชุมชนและเครือข่ายการจัดการความรู้ภาคประชาชนในการบริหารจัดการภูมิปัญญาไทยด้านสิ่งแวดล้อม
3. การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ จากการศึกษาดูงาน กับเป้าหมายของการศึกษาในรายวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทย และในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน   1   ท่าน
2. นิสิต จำนวน 13 คน ประกอบด้วย


2.1 นิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
      ชั้นปีที่ 2 จำนวน  8  คน
2.2 นิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
      ชั้นปีที่ 1 จำนวน  4  คน
  รวมจำนวนทั้งหมด    13   คน

ผู้รับผิดชอบโครงการ
        ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร อาจารย์ผู้สอนรายวิชา 392642  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทย และนิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต จำนวน  12 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
           ระหว่างวันที่  25  ธันวาคม  2549 – 12  มกราคม  2550  โดยมีกำหนดการศึกษาดูงาน ในวันที่  5  มกราคม  2550 – 7  มกราคม  2550  (รายละเอียดดังกำหนดการแนบท้าย)

วิธีดำเนินงาน
1. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2. ติดต่อประสานงานกับผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงานการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนสิ่งแวดล้อมศึกษาผืนป่าตะวันตก ห้วยขาแข้ง มรดกโลก ณ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 
3. เดินทางไปศึกษาดูงาน ตามกำหนดการ
4. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
5. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 1 และ 2  ที่ศึกษาดูงาน        นอกสถานที่และรับฟังการบรรยายพิเศษ ณ เครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนสิ่งแวดล้อมศึกษาผืนป่าตะวันตก ห้วยขาแข้ง มรดกโลก ณ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้รับการเรียนรู้ ดังนี้  
1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการคิด และกระบวนการทำงานเพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.  เกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในการป่าชุมชนและเครือข่ายการจัดการความรู้ภาคประชาชนในการบริหารจัดการภูมิปัญญาไทยด้านสิ่งแวดล้อม
3.  การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ จากการศึกษาดูงาน กับเป้าหมายของการศึกษาในรายวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทย และในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

งบประมาณ
1.  งบประมาณรายได้ของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา กองทุนเพื่อการศึกษา แผนงานจัดการศึกษาอุดมศึกษา งานจัดการศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ หมวดเงินอุดหนุน โครงการศึกษาดูงานในรายวิชาของนิสิต เป็นเงิน 17,880  บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยแปดสิบบาทถ้วน) มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง    เป็นเงิน            8,000 บาท
1.2 ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษากับชุมชน สำหรับอาจารย์  เป็นเงิน 650  บาท
1.3 ค่าตอบแทนสมทบพนักงานขับรถยนต์ เป็นเงิน     400 บาท
1.4 ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์  1  คน   เป็นเงิน     540 บาท
1.5 ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถยนต์  เป็นเงิน        360 บาท
 2.  งบประมาณรายได้ของคณะศึกษาศาสตร์ กองทุนเพื่อการศึกษา แผนงานจัดการศึกษาอุดมศึกษา งานจัดการศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ หมวดเงินอุดหนุน โครงการศึกษาดูงานในรายวิชาของนิสิต เป็นเงิน 4500  บาท (1500 บาท x 3 ชั่วโมง)
3.  งบประมาณสมทบของนิสิต เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าอาหารและค่าที่พัก เป็นเงิน  11,200  บาท  ดังนี้
2.1 ค่าอาหาร (6 มื้อ X 50 บาท X 28 คน)  เป็นเงิน  8,400  บาท
2.2 ค่าที่พัก  (1 คืน X 100 บาท X 28 คน)  เป็นเงิน   2,800  บาท
 
หมายเหตุ  งบประมาณขอถัวเฉลี่ยตามจ่ายจริงทุกรายการ
 

 

กำหนดการศึกษาดูงานนอกสถานที่และรับฟังการบรรยายพิเศษ
เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การจัดการความรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
ของชุมชนสิ่งแวดล้อมศึกษาผืนป่าตะวันตก ห้วยขาแข้ง มรดกโลก ณ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
 สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระหว่าง วันที่ 5 – 7  มกราคม  2550
----------------------------

วันที่  5 มกราคม  2550    กิจกรรม  
05.00 น.- 09.00 น.   เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
และรับประทานอาหารเช้าระหว่างทาง
09.00 น. - 12.00 น.   ถึง อุทธยานการเรียนรู้สมาคม (แพนด้าแคมป์) อำเภอบ้านไร่ จังหวัด  อุทัยธานี
       รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    โดย.. คุณศิริพงษ์  โทหนองตอ

 20.00  น.    เดินทางกลับถึงมหาวิทยาลัยนเรศวร

 

หมายเหตุโครงการนี้ดำเนินการไปแล้วแต่นำข้อมูลขึ้นเว็บเพื่อใครสนใจนำไปดัดแปลงนำไปใช้ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 426544เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากการได้ไปสัมมนาและวิจัยภาคสนามที่ แพนด้าแคมป์แล้ว เกิดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะธรรมชาติของ คน สัตว์ และพืชธรรมชาติ ที่ควรเรียนรู้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร ที่ได้นำพาไปพบกับธรรมชาติที่เป็นจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท