ความหมายของคำสำคัญ เกี่ยวข้องกับวิชาเพศศึกษา


งานชิ้นที่ 3

ความหมายของคำสำคัญ เกี่ยวข้องกับวิชาเพศศึกษา

1.เพศภาวะ

เพศภาวะ Gender หมายถึง เพศทางสังคมหรือเพศที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขทางสังคมหรือวัฒนธรรมให้แสดงบทบาทหญิงหรืบทบาทชาย ดังนั้นเพศที่ถูกกำหนดโดยสังคมจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละสังคม ตามสภาวการณ์ และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป เช่นผู้หญิงอาจต้องรับภาระต่างๆที่เคยเป็นของผู้ชาย และผู้ชายอาจจะต้องรับบทบาทการดูแลบ้านเรือนเลี้ยงดูบุตรซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของผู้หญิง 

ที่มา : http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

เพศภาวะ หมายถึง ความต้องการที่จะแสดงตนเป็นชายหรือหญิงของบุคคล

ที่มา : http://krufon.spaces.live.com/Blog/cns!299DDF9A6D5666FF!392.entry

 

เพศภาวะ คือ ภาวะแห่งเพศ เป็นสิ่งที่แตกต่างกันตามเงื่อนไขทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจแลวัฒนธรรมอันแตกต่างกันตามแต่ละช่วงเวลา เพศภาวะสามารถมีได้นอกเหนือจากความเป็นชายและหญิง อาทิ ทอม ดี้ ตุ๊ด เกย์ ฯลฯ ในสังคมไทย คำว่า ทอม ดี้ ตุ๊ด น่าจะเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย

ที่มา : http://www.teenpath.net/data/event/40004/SexWay01/content-004.html

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

เพศภาวะ คือ บริบทของชายและหญิงที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ กระทำได้ นอกเหนือจากบริบทที่สังคมกำหนด

 

2.บทบาททางเพศ

บทบาททางเพศ (Gender Role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล

ที่มา : http://gold.rajabhat.edu/Academic/documents/RIP/09-2/006.pdf

 

บทบาททางเพศ หมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงถึงความเป็นชายหรือความเป็นหญิงซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลรอบ ๆ ข้าง รวมทั้งการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่และตัวแทนต่าง ๆ ในสังคมตั้งแต่วัยเด็ก ท้ายสุดบุคคลจึงมีเอกลักษณ์บทบาททางเพศ (Sex role identity) ที่เหมาะสมเป็นของตนเอง และเป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม โดยที่จะแสดงออกทั้งลักษณะความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชายกลายเป็นลักษณะร่วมกัน

ความเป็นชายจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถของบุคคลในการที่จะผลักดันตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เน้นบทบาทผู้นำ ในขณะที่ความเป็นหญิงจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

ในขณะที่บทบาททางเพศมุ่งเน้นที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น บทบาทในการดูแลลูกของผู้หญิง และบทบาทการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ชาย ความเป็นเพศสนใจพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้นการทำความเข้าใจความเป็นเพศจึงไม่ควรถูกลดมาเป็นเพียงการเข้าใจบทบาททางเพศเท่านั้น

ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 

บทบาททางเพศ (Gender)  หรือที่ตอนนี้มีการใช้คำว่า  เพศสภาพ เพศภาวะ เพศสถานะ  ในเมื่อมีอวัยวะเพศ (Sex) แล้ว จากนั้นก็มีความคิดความเชื่อต่อการปฏิบัติในเรื่องเพศ (Sexuality)    แล้วในที่สุดก็มีการกำหนดบทบาททางเพศ (Gender) ให้บทบาททางเพศ หมายถึงบทบาทที่สังคมเป็นตัวกำหนดให้เพศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติภาระกิจหน้าที่การงานไปตามอวัยวะเพศที่ปรากฏ  เช่น  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็มีหน้าที่แบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็ให้เล่นของเล่นแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งให้แต่งกายแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งสามารถเข้าไปในสถานที่บางแห่งได้ในขณะที่อวัยวะเพศอีกแบบหนึ่งไม่สามารถเข้าไปได้   เป็นต้น

การมีอวัยวะเพศจึงไม่ใช่แค่เอาไว้ใช้ขับถ่ายหรือสืบพันธุ์เพียงเท่านั้น  แต่จะเห็นได้ว่าตัวอวัยวะเพศเองได้นำไปสู่การถูกกำหนดคุณค่า ถูกกำหนดบทบาท ถูกกำหนดหน้าที่ผ่านความคิดความเชื่อทางวัฒนธรรม  ประเพณี  เชื้อชาติ  ภาษาและศาสนาให้เป็นไปในระบบการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละวันด้วย

นอกจากนี้ ‘บทบาททางเพศ’ ยังหมายถึงความคาดหวังที่มีต่อต่อบุคลิกภาพ อารมณ์ความรู้สึกที่มีในเพศนั้น ๆ ด้วย เช่น คาดหวังว่าผู้ชายต้องเป็นผู้นำ เข้มแข็ง ไม่ร้องไห้ ในขณะที่ผู้หญิงต้องอ่อนโยน นุ่มนิ่ม เป็นผู้ตาม ร้องไห้ได้  โดยที่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่ามีความเป็นจริงมากน้อยเพียงใดที่ผู้ชายผู้หญิงต้องเป็นแบบนั้น

Gender หรือ บทบาททางเพศ จึงมิได้หมายถึงบทบาทต่อการให้กำเนิดเผ่าพันธุ์ตามที่เราเข้าใจกันนัก  แต่ Gender กลับกลายเป็นการรวบเอาบาททางเพศในสถานการณ์อื่น ๆ มารวมเข้าไว้ด้วย  ซึ่ง Gender ในความหมายนี้นี่เองที่ออกจะสร้างปัญหาต่อบทบาทความเป็นชาย-ความเป็นหญิงของมนุษย์เราในเวลาต่อมา

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/storykhienkhao/22474

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

บทบาททางเพศ คือ การแสดงออกของลักษณะชายหญิง ที่แสดงพฤติกรรมและบทบาทตรงตามเพศทางกายภาพ และจากการสังเกตบุคคลรอบข้าง โดยไม่รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์เพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล

 

3.มิติทางเพศ

 “เพศ” หมายถึงสรีระร่างกาย  อวัยวะที่บ่งบอกว่าเป็นเพศอะไร  เป็นหญิงหรือเป็นชาย  แต่ก็มีบุคคลที่มีอวัยวะเพศที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย  ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด  หรือพัฒนาเมื่อร่างกายเติบโตขึ้นภายหลังภาษาอังกฤษเรียกคนกลุ่มนี้ว่า  intersex  (หรือเดิมเรียกว่า  Hermaphrodites)  ซึ่งมีหลากหลายแบบ  ใกล้เคียงกับศัพท์ภาษาไทยว่า “กระเทยแท้” นักวิชาการไทยปัจจุบันมักเรียก “เพศ” ในความหมายนี้ว่า  “เพศสรีระ” 

ที่มา : www.ku.ac.th/e-magazine/january46/know/old.html

 

“เพศ” หมายถึงภาวะแห่งเพศที่ถูกประกอบสร้างทางสังคม  มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า gender  แปลเป็นภาษาไทยว่า  เพศสภาพ  เพศสถานะ  และเพศภาวะ  รวมถึง  บทบาทหญิงชาย  หรือมิติหญิงชาย  ความหมายอย่างสั้นของ gender คือ ภาวะของความเป็นเพศที่เลื่อนไหลไปตามบริบทของชีวิต  เพศภาวะที่เราคุ้นเคยและถูกขัดเกลาหลอมสร้างกันมา ก็คือ ความเป็นหญิงความเป็นชาย “เพศ” ในความหมายนี้แปลว่า “เพศภาวะ”

ที่มา : www.thaihealth.or.th/node/9087 

 

“เพศ”  หมายถึงวิถีชีวิตทางเพศที่ถูกหลอมสร้างจากค่านิยม  บรรทัดฐาน  และระบบวิธีคิด  วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความปรารถนาและการแสดงออกทางเพศ  ความคิดเกี่ยวกับคู่รัก  คู่ชีวิตในอุดมคติ  และกามกิจ  “เพศ” ในความหมายนี้  มาจากภาษาอังกฤษว่า “sexuality” แปลว่า “เพศวิถี”

ที่มา : www.find-docs.com/ค่านิยมทางเพศตามวัฒนธรรม-doc~4.html

 

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

            มิติทางเพศ คือ มุมมองต่างๆที่หลากหลาย หรือการศึกษา คำว่า เพศ ซึ่งในหลายๆคนอาจจะมองคำนี้ เหมือน หรือ ต่างกันก็ได้ แต่จะต้องอยู่ในบริบทของคำว่า เพศ ด้วย เช่น เพศ คือสรีระร่างกาย 

เพศ คือ ภาวะแห่งเพศที่ถูกประกอบสร้างทางสังคม  เพศ คือ  วิถีชีวิตทางเพศที่ถูกหลอมสร้างจากค่านิยม  บรรทัดฐาน  และระบบวิธีคิด เป็นต้น

 

4.ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ

ความเท่าเทียมกันทางเพศหมายถึงชายและหญิงมีสิทธิและหน้าที่เหมือนกัน และทุกคนมีโอกาสในสังคมเท่ากัน ความเท่าเทียมกันทางเพศยังเกี่ยวข้องกับความยุติธรรมและการแบ่งปันความรับผิดชอบทั้งในครอบครัวและสังคม หากเรื่องเพศเป็นสิ่งปิดกั้นเราจากการได้เห็นข้อดีและข้อเสียของบุคคล สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การกีดกัดและโอกาสที่จำกัดของแต่ละบุคคล

ที่มา : http://introthai.cappelendamm.no/c41437/artikkel/vis.html?tid=41950

 

ความเสมอภาคทางเพศเป็นเรื่องของการที่ชายและหญิงมีสิทธิ  เสรีภาพในการเเสดงออกซึ่งบทบาททางเพศของตนเองต่อสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายในกรอบที่เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรม  ประเพณีที่ดีงามของชนชาติไทย  การมีความเสมอภาคทางเพศมิได้หมายความว่าจะทำอย่างไรก็ได้  ขอให้เท่าเทียมกันก็พอ  หากเเต่จะต้องรู้จักที่จะวางตัวให้เหมาะสมกับเพศของตนเองด้วย  เนื่องจากเราจะต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น  ทั้งที่เป็นฌพศเดียวกันและต่างเพศ  ซึ่งวิธีการปฏิบัติตัวก็จะแตกจ่างกันออกไปในเรื่องของรายละเอียด  แต่ถึงอย่างไรก็ตามการวางตัวที่เหมาะสมก็จะทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามบทบาททางเพศของตนเองได้ในที่สุด

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/52058

 

ความเสมอภาคทางเพศเป็นเรื่องของเพศหญิงกับเพศชายที่มีความเท่าเทียมกันในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในทางกฎหมาย และทางสังคม

ที่มา : http://202.143.148.60/myscrapbook/index.php?section=89&page=39

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ คือ การที่เพศชายและเพศหญิงมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกัน โดยที่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกกีดกันทางสังคม ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน 

 

5.มิติทางสังคมเรื่องเพศ

มิติทางสังคม คือ มีทัศนคติและปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ระบอบ ระบบ องค์กร และเพื่อนมนุษย์อย่างเหมาะสม

ที่มา : http://www.montfort.ac.th/applications/philosophy.php

 

“เพศ” หมายถึงภาวะแห่งเพศที่ถูกประกอบสร้างทางสังคม  มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า gender  แปลเป็นภาษาไทยว่า  เพศสภาพ  เพศสถานะ  และเพศภาวะ  รวมถึง  บทบาทหญิงชาย  หรือมิติหญิงชาย  ความหมายอย่างสั้นของ gender คือ ภาวะของความเป็นเพศที่เลื่อนไหลไปตามบริบทของชีวิต  เพศภาวะที่เราคุ้นเคยและถูกขัดเกลาหลอมสร้างกันมา ก็คือ ความเป็นหญิงความเป็นชาย “เพศ” ในความหมายนี้แปลว่า “เพศภาวะ”

ที่มา : www.thaihealth.or.th/node/9087 

 

“เพศ”  หมายถึงวิถีชีวิตทางเพศที่ถูกหลอมสร้างจากค่านิยม  บรรทัดฐาน  และระบบวิธีคิด  วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความปรารถนาและการแสดงออกทางเพศ  ความคิดเกี่ยวกับคู่รัก  คู่ชีวิตใน
อุดมคติ  และกามกิจ  “เพศ” ในความหมายนี้  มาจากภาษาอังกฤษว่า “sexuality” แปลว่า “เพศวิถี”

ที่มา : www.find-docs.com/ค่านิยมทางเพศตามวัฒนธรรม-doc~4.html 


สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

มิติทางสังคมเรื่องเพศ คือ ทัศนคติเรื่องเพศ ที่สัมพันธ์กับ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ระบอบ ระบบ องค์กร และเพื่อนมนุษย์อย่างเหมาะสม

 

6.บทบาทชาย

มนุษย์เพศชายมีส่วนในการให้กำเนิดโดยเป็นผู้ผลิตตัวอสุจิที่จะมาผสมกับไข่ของเพศหญิงในการก่อกำเนิดทารก

ที่มา : http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

บทบาทหญิงชายหรือบทบาทเพศ (Gender Roles) นอกจากจะเปลี่ยนแปรขึ้นกับสังคมและวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ สถานะของบุคคลในสังคม การศึกษา วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น ยังผันแปรไปตามช่วงชีวิตหรือตามวัยของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น หากเข้าใจลักษณะความผันแปรดังกล่าว ก็จะเห็นภาพที่แท้จริงของบทบาทความเป็นหญิงชายได้ชัดเจนกล่าวโดยสรุป บทบาทที่กำหนดโดยสังคมเป็นตัวกำหนดสำคัญในการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ที่มา : http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

บทบาทผู้ชายคือ การหารายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว มีอาณาเขตพื้นที่อยู่นอกบ้าน ต้องติดต่อโลกภายนอก และทำกิจกรรมให้ได้ผลตอบแทน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมฐานะทางสังคม และการเมืองให้แก่ตนเอง

ที่มา : child1968.blogspot.com/2006/12/5.html 

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

บทบาทชาย คือ บทบาทหน้าที่ที่เพศชายควรกระทำในแต่ละสังคม ที่บางทีอาจจะเปลี่ยนแปลง หรืออาจถูกกำหนดจากแต่ละบริบทของสังคม

 

7.บทบาทหญิง

มนุษย์เพศหญิงเท่านั้นที่สามารถตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้

ที่มา : http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

บทบาทของหญิงในสังคมไทย ในยุคเกษตรกรรมผู้หญิงทำงานในไร่นาเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายมาตลอด จะเห็นได้จากที่มีการละเล่นเต้นกำรำเคียว รำสงฟางเป็นต้น ซึ่งเป็นบทบาทของผู้หญิงในการผลิตทางการเกษตร ในยุคอุตสาหกรรมผู้หญิงก็ยังเป็นแรงงานสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย ผู้หญิงจึงมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ เมื่อผู้หญิงมีการศึกษาสูงขึ้นก็สามารถใช้ความรู้ในบทบาทได้เท่าเทียมกับชาย ผู้หญิงจึงเป็นครึ่งหนึ่งของศักยภาพการพัฒนาด้านต่างๆเสมอมา ในสังคมไทยนั้นหญิงมีบทบาทในด้านต่างๆเป็นครึ่งหนึ่งของชายมาตลอด ดังมีคำกล่าวว่า " ผัวหาบ เมียคอน " และในยามศึกสงครามผู้หญิงไทยยังแต่งตัวเป็นชายจับดาบออกต่อสู้กับข้าศึกจนมีคำยกย่องผู้หญิงไทยว่า " หญิงไทยใจกล้าเปลก็ไกว ดาบก็แกว่ง แกร่งนักหนา "

ที่มา : http://www.our-teacher.com/our-teacher/article/1article/14-womenthai.htm

 

บทบาทหญิงชายหรือบทบาทเพศ (Gender Roles) นอกจากจะเปลี่ยนแปรขึ้นกับสังคมและวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ สถานะของบุคคลในสังคม การศึกษา วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น ยังผันแปรไปตามช่วงชีวิตหรือตามวัยของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น หากเข้าใจลักษณะความผันแปรดังกล่าว ก็จะเห็นภาพที่แท้จริงของบทบาทความเป็นหญิงชายได้ชัดเจน
กล่าวโดยสรุป บทบาทที่กำหนดโดยสังคมเป็นตัวกำหนดสำคัญในการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ที่มา : http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

บทบาทหญิง คือ บทบาทหน้าที่ที่เพศหญิงควรกระทำในแต่ละสังคม ที่บางทีอาจจะเปลี่ยนแปลง หรืออาจถูกกำหนดจากแต่ละบริบทของสังคม

 

8.สิทธิทางเพศ

สิทธิทางเพศเป็นสิทธิมูลฐานและเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน ซึ่งสมาคมเพศศาสตร์ศึกษานานาชาติได้แถลง ณ การประชุมครั้งที่ ๑๓ ที่กรุงวาเลนเซีย ประเทศสเปน ว่า เพศเป็นมิติหนึ่งของมนุษย์ที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพศเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างภายในของสังคมเอง และของแต่ละบุคคลในเวลาเดียวกัน โดยปรากฏให้เห็นทางวงจรชีวิตของบุคคลที่ประสานความเป็นตัวของตัวเอง และสร้างเสริมความผูกพันซึ่งกันและกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

สิทธิทางเพศได้แก่สิทธิดังต่อไปนี้

  • สิทธิที่จะมีเสรีภาพทางเพศ ต้องขจัดการบังคับข่มขู่ทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงเกินทางเพศทุกรูปแบบ
  • สิทธิที่จะมีความเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเอง และความปลอดภัยในร่างกาย รวมถึงการควบคุมและการหาความสุขจากร่างกายของตนเอง โดยปราศจากการทารุณกรรมและความรุนแรงในทุกรูปแบบ
  • สิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และไม่ว่าจะมีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือมีรสนิยมทางเพศแบบใด
  • สิทธิที่จะมีสุขอนามัยทางเพศที่ดี รวมทั้งได้รับการรักษาพยาบาล โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • สิทธิที่จะได้รับความรู้เรื่องเพศที่กว้างขวางและเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เบี่ยงเบน ซึ่งครอบคลุมความรู้ด้านเพศศึกษาตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต
  • สิทธิที่จะดำเนินชีวิตร่วมอย่างอิสระ จะแต่งงานหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการใช้ชีวิตร่วมทางเพศแบบอื่นๆ ที่ตนประสงค์
  • สิทธิที่จะตัดสินใจโดยเสรีและรับผิดชอบในการเจริญพันธุ์ สามารถเลือกการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
  • สิทธิในความเป็นส่วนตัว สามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตทางเพศโดยอิสระ ภายใต้จริยธรรมทางสังคมและบุคคล 

สุขภาพทางเพศเป็นสิทธิมูลฐานและรากฐานของสิทธิมนุษยชน เรื่องเพศเป็นตันกำเนิดความผูกพันที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสุขในชีวิตของบุคคล คู่สมรส ครอบครัว และสังคม ดังนั้นการเคารพในสิทธิทางเพศจึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนในทุกวิถีทาง

ที่มา : http://www.doctor.or.th/node/2145

 

สิทธิทางเพศ ก็คือสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนพึงพอใจ จะมีคู่ต่างเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ แต่เพศสัมพันธ์ทุกครั้งต้องมีความสุขและปลอดภัย ปราศจากความรุนแรงและการบังคับ ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการท้องไม่พร้อม นอกจากนี้ ยังต้องได้รับบริการสุขภาพทางเพศที่มีคุณภาพ ต้องสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระโดยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน 

ที่มา : http://whaf.or.th/content/20

 

สิทธิทางเพศ หรือ sexual rights คือสิทธิของบุคคลที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เป็นสิทธิของคนทุกคนที่ต้องได้รับโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการบังคับ และไม่มีความรุนแรงในเรื่องต่อไปนี้คือ

  • การได้รับบริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีมาตรฐาน
  • การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิถีทางเพศ
  • การได้รับการให้การศึกษาเรื่องวิถีทางเพศ
  • การควบคุมเนื้อตัวร่างกายของตนเอง
  • การเลือกคู่ครอง
  • การตัดสินใจว่าจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่มี
  • การสมัครใจมีความสัมพันธ์ทางเพศ
  • การสมัครใจที่จะแต่งงาน
  • การตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และมีเมื่อใด

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

สิทธิทางเพศ คือ สิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนพึงพอใจ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว การปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อหลักมนุษยธรรม หรือกฎหมายที่กำหนดไว้ 

 

9.พฤติกรรมทางเพศ

 

พฤติกรรมาทางเพศ หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ โดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม

ที่มา : http://www.thainame.net/project/dinar_za/index1.html

 

พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศ และวัย

ที่มา : http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=685&Itemid=51

 

พฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior) หมายถึง การแสดงออกทางเพศภายใต้กรอบของสังคม วัฒนธรรม ชีววิทยา และลักษณะเฉพาะบุคคลด้วยท่าทีที่เป็นธรรมชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนสามารถแสดงออกในวิถีเพศที่ตนเองให้คุณค่าโดยเคารพสิทธิของผู้อื่น แยกแยะการกระทำทางเพศที่ทำให้ชีวิตมีสุขภาวะกับการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อตนเอง และผู้อื่น แสวงหาข้อมูลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางเพศของตน สร้างความรู้สึกสุขใจ พอใจทางเพศโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องลงมือปฏิบัติตามความรู้สึก ความคิดเหล่านั้น มีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่โดยความยินยอมพร้อมใจ และสุขใจทั้งสองฝ่ายอย่างปลอดภัย จริงใจ ไม่หลอกลวง เอาเปรียบ ทำร้าย

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=381620

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

พฤติกรรมทางเพศ คือ การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศ และวัย และแสดงออกภายใต้กรอบของสังคม วัฒนธรรมที่เหมาะสม

 

10.เพศสัมพันธ์

เพศสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด เพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ยอมรับในสังคม เป็นองค์ประกอบของการอยู่กินเป็นสามี ภรรยา เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะเกิดผลตามมาหลายอย่าง เช่น การตั้งครรภ์ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคเอดส์

ที่มา : http://www.maeklongtoday.com/sara_2/aid.htm

 

เพศสัมพันธ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ทางธรรมชาติ ของร่างกายเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์นั้นเอง เมื่อมีการร่วมเพศกันจนถึงจุดสุดยอด ตัวอสุจิของชายหนุ่ม ก็หลั่งออกมาภายในช่องคลอดของหญิงสาว จากนั้น ตัวอสุจิจะแหวกว่ายเข้าไปในมดลูกเพื่อไปพบกับ"ไข่" ของหญิงสาว ตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัว สามารถไชเข้าไปภายในไข่ได้ และผสมกับไข่เกิดเป็นตัวอ่อน ของเด็กเราเรียกการผสมระหว่างตัวอสุจิและไข่นี้ว่า“การปฏิสนธิ"

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/kroolue/2007/04/11/entry-2

 

เพศสัมพันธ์หมายถึง  เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด

ที่มา : http://www.maeklongtoday.com/sara_2/aid.htm

 

สรุปโดย เฉลิมพล มาเป็ง 500210163

เพศสัมพันธ์ คือ การกระทำที่เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจาก ความรัก ความเข้าใจ และความพร้อมของคนทั้งสอง หรือมักจะเกิดเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกดี และอยากใกล้ชิด


11.การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมและเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม คือ สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว  ก็อาจกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ในสังคมปรับตัวเองไม่ทัน  จนเกิดปัญหาทางวัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา  ทั้งนี้ก็เพราะแต่เดิมสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในชนบทที่มีการทำนาและการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก  การผลิตแต่เดิมก็เป็นแต่เพียงให้พอมีพอกิน ไม่ได้ผลิตอย่างใหญ่โตเพื่อส่งออกไปค้าขายกับต่างประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด  แต่ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มุ่งหวังผลิตสิ่งต่างๆ เพื่อส่งออกไปขายนอกประเทศ  การผลิตผลิตผลทางการเกษตรซึ่งแต่เดิมผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ แบบดั้งเดิม  ก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเป็นจำนวนมากโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยเข้ามาช่วย  มีการลงทุนและการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะการใช้ที่ดินก็มีการขยายเขตการเพาะปลูกพืชพันธุ์นานาชนิดไปตามบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะที่ดอนและที่ตามป่าเขา  ก่อให้เกิดการรุกล้ำป่าสงวนและการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวางการผลิตแบบที่เป็นแบบเกษตรอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปซึ่งไม่มีศักยภาพทั้งในด้านเงินทุน  กำลังคน และเทคโนโลยีจะทำได้ จึงเป็นเรื่องของบุคคลร่ำรวยที่เป็นนายทุน

สิ่งที่ควบคู่กันไปกับการเกษตรอุตสาหกรรมคือการขยายตัวทางอุตสาหกรรม  เกิดโรงงานอุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรต่างๆ ของประเทศมาผลิตสินค้าประเภทต่างๆ  อย่างมากมาย  ทำให้เกิดย่านอุตสาหกรรมและย่านพาณิชยกรรมขึ้นตามเมืองต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมากมาย  เหล่านี้ล้วนมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  มีทั้งการย้ายจากถิ่นหนึ่งไปอีกถิ่นหนึ่ง  เช่น ในภาคอีสานไปอยู่ทางภาคกลางและภาคใต้  เป็นต้น  กับการย้ายจากท้องถิ่นในชนบทเข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือทำงานเป็นกรรมกรในเมืองซึ่งการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานดังกล่าวนี้มีผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนที่อยู่ในชนบทและในเมืองเป็นอย่างมาก  ในสังคมชนบทนั้นแต่เดิมอยู่กันอย่างเรียบง่ายในกรอบของประเพณีที่มีจารีตและขนบธรรมเนียมท้องถิ่นคอยควบคุมให้ผู้คนอยู่กันอย่างสงบสุข   ปัจจุบันเมื่อคนรุ่นหนุ่มสาวย้ายออกไปทำงานที่อื่นโดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวขาดหายไปเป็นเวลาหลายๆ  เดือน  ทำให้สภาพครอบครัวขาดความสมบูรณ์  เด็กไม่มีความอบอุ่น  ในขณะที่คนรุ่นใหม่ก็หมดความเชื่อถือในความรู้ความสามารถต่อการเป็นผู้นำของคนรุ่นก่อนเพราะตนได้เล่าเรียนความรู้ใหม่ๆ จากในเมืองมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆได้  พร้อมกันนั้นก็รับเอาความทันสมัยหลายๆอย่างมาจากภายนอก จึงทำให้หมดความเลื่อมใสและเชื่อถือในสิ่งที่เป็นจารีตและประเพณีของท้องถิ่นที่เคยมีบทบาทในการสร้างและควบคุมความสัมพันธ์ทางสังคม  ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในบางแห่งที่มีกลุ่มชนกลุ่มใหม่เข้าไปขยายที่ทำกินและตั้งถิ่นฐาน จนทำให้เกิดลักษณะบ้านแบบใหม่ๆ เช่น บ้านจัดสรร ขึ้นนั้น เกือบจะทำให้ความเป็นสังคมท้องถิ่นแต่เดิมล่มสลายลงไปก็ว่าได้  ทั้งนี้เพราะคนในท้องถิ่นปรับตัวไม่ทัน  ความเรียบง่ายและการอยู่ร่วมกันที่ไม่มีความแตกต่างในเรื่องของชนชั้นก็หมดไป  สังคมใหม่ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เป็นสังคมที่ซับซ้อนแบบมีชนชั้น และความรู้สึกในเรื่องการเป็นปัจเจกบุคคลก็มีปรากฏทั่วไปในชนบท

ส่วนในสังคมเมืองนั้นภาวะความแออัดเพิ่มขึ้นจนยากแก่การควบคุม  ความเป็นสังคมเปิดที่ทำให้ติดต่อกับภายนอกได้อย่างสะดวกสบายนั้น  เป็นผลให้คนได้แต่รับอิทธิพลวัฒนธรรมที่หลากหลายจากภายนอกเข้ามา โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งที่รับเข้ามานั้นเหมาะสมหรือไม่กับบ้านเมืองของตน  เข้ากันได้กับสิ่งที่มีมาแต่เดิมเพียงใด  เมื่อไม่มีการกลั่นกรองความขัดแย้งก็เกิดขึ้น การยึดมั่นถือมั่นในลักษณะการปกครองแบบประชาธิปไตยที่หยุดนิ่งอย่างเป็นอุดมคติก็ดี    นโยบายทางเศรษฐกิจทุนนิยมแบบเสรีที่เป็นการส่งออกของรัฐบาลก็ดี  ล้วนเป็นสิ่งที่ชักจูงคนในสังคมรุ่นใหม่ให้หันไปเห็นความสำคัญทางวัตถุและความเป็นปัจเจกบุคคลตลอดเวลา  ทำให้สังคมมีความซับซ้อนทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นจนยากแก่การควบคุมเกิดกลุ่มอาชีพกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายจนเป็นชนชั้นที่มีความแตกต่างกันมากมาย  โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน จนกล่าวได้ว่าปัจจุบันผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่มีอิทธิพลในเรื่องการเมืองการปกครองของประเทศ  และการรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวก็ดี  หรือผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มแต่ละเหล่าก็ดี  มีผลนำไปสู่การละเมิดกฎหมายอยู่เนืองๆ

การเน้นในเรื่องอุตสาหกรรมทำให้เมืองมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของประชากรจากภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายของพวกชาวนาในชนบทที่เข้ามาเป็นกรรมกรตามโรงงานอุตสาหกรรม  กรรมกรทำงานก่อสร้าง  ตลอดจนคนงานลูกจ้างด้านบริการต่างๆ นั้น  ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างมากมาย  อย่างเช่น ปัญหาชุมชนแออัด  แหล่งเสื่อมโทรม  ปัญหาเรื่องการลักขโมย  ปล้นจี้  ซึ่งรวมไปถึงปัญหาทางโสเภณีและการว่างงานด้วย  สิ่งต่างๆ เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาของความไม่มั่นคงภายในที่เป็นส่วนรวม   ถ้ามองให้กว้างกว่าเมืองออกไปถึงบริเวณชานเมืองรอบนอกที่แต่เดิมเป็นชนบท ก็จะพบว่าหลายๆ แห่งทีเดียวที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมชาวนามาเป็นสังคมกรรมกร  เพราะผู้ที่เป็นชาวนาแต่ก่อนเคยมีที่ดินทำการเพาะปลูกด้วยตนเองนั้น  มีเป็นจำนวนมากที่ขายที่ดินให้กับนายทุนเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  หรือไม่ก็เพื่อทำการเพาะปลูกพืชไร่ในลักษณะที่เป็นเกษตรอุตสาหกรรม  จึงต้องเปลี่ยนสภาพและฐานะตนเองเป็นกรรมกรรับจ้าง  ทำงานให้กับกิจการทางอุตสาหกรรมเหล่านั้น   นับเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากรูปแบบหนึ่งมาสู่อีกรูปแบ

หมายเลขบันทึก: 426402เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท