หัวเมืองธรรมนำ สร้างสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมสดใส ชุมชนน่าอยู่(ตอนที่1)


สุขบวรบ้านหัวเมือง

หัวหน้ากลุ่มพาไปดูงานบ้านกลางอ.สองจ้า

เอ..เขาบอกว่างบจากสสส.ขอยากนะ อยากของบสส.ได้นำมาพัฒนาบ้านหัวเมือง  เป็นเสียงบอกเล่าจากท่านเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง
จากการที่ได้มีประสบการณ์ของบจากสสส.(สำนักกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ)  ถ้าเรามีความตั้งใจทำจริงและทำจริงรับรองว่าได้  เมื่อก.พ 2553 ดังนั้นทางตนเองและทีมงานบ้านหัวเมืองโดยมีทางวัดหัวเมืองท่นเจ้าอาวาสเดิมพระใบฏีกาอภิวัฒน์ (ปัจจุบันท่านได้ลาสิกขาบทไปเมื่อ พ.ค 53 )และทีมงานศรัทธาบ้านหัวเมืองจึงได้ร่วมคิดร่วมทำ นำเสนอโครงการต่อสสส.  เมื่อ  เม.ย 53 ทางสสส.แจ้งวาโครงการผ่านในระดับต้นให้ตัวแทนมาปรับโครงการอบรม 2 วัน จากนั้นได้มารวจข้อมูล  จัดลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชน และได้ไปร่วมนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิของงสสสอีก 2 วัน โยมีท่านเจ้าอวาสท่านใหม่เป็นผู้เสนอโครงการต่อ คือท่านพระกฤษญ์ วชิรญาโณเป็นหัวหน้ากลุ่ม

คุณท้องฟ้ารับทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการให้ ได้รับงบประมาณมา  198,310 บาทค่ะ

ช่วงนี้ สสส ของสำนัก 6 กำลังเปิดรับค่ะ หมดกำหนด 28 ก.พ 54นี้  กัลยาณมิตรกลุ่มใหนสนใจเข้าดูที่ www.thaihealth.or.th

    ชื่อโครงการ  “ หัวเมือง ธรรมะนำ  สร้างสุขภาพดี  สิ่งแวดล้อมสดใส ชุมชนน่าอยู่

   

      ชื่อกลุ่ม / องค์กร  :   สุขบวร( บ้าน วัด  ราชการ )  บ้านหัวเมือง  ต.หัวเมือง     อ.สอง จ.แพร่ 

            ชื่อ - นามสกุล หัวหน้ากลุ่ม   

          ชื่อ-นามสกุล  พระกฤษณ์   วชิรญาโณ

          นายบุญสิน   กุมารแก้ว

บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบในโครงการนี้  :   ประธานโครงการ

. ชื่อ-นามสกุล  นางอัมพร  หงษ์เจ็ด  ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบในโครงการนี้  :   ที่ปรึกษาโครงการ

1.      วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อให้คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการทำปุ๋ยชีวภาพ

 2เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมช่วยเหลือเกื้อกูลของชุมชน คนในชุมชนได้นำหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

เป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล

คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประเด็น การบริโภคผักปลอดสารพิษ

 การใช้ปุ๋ยชีวภาพและการน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษบกิจพอเพียง

1.มีเครือข่ายสุขภาพ  140 ครัวเรือน 

2. เกิดการบริโภคผักปลอดสารพิษ 224 ครัวเรือน

3.สมาชิกในชุมชน 140 ครัวเรือน  ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการบริโภคผักปลอดสารพิษ/การทำปุ๋ยชีวภาพ/การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.แปลงสาธิตผักปลอดสารพิษที่วัด,โรงเรียน และของแต่ละหมู่บ้านจำนวน 6 แห่ง รวม8 แห่ง

5.นักเรียนเกิดจิตสำนึกในการักษาสิ่งแวดล้อมมีการสื่อสารออกมาทางภาพวาด  การเขียนเรียงความ เขียนเรื่องเล่า ผ่านทางผู้ปกครอง

6.เครือข่ายสุขภาพและครอบครัวต้นแบบในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครอบครัวได้รับการเผยแพร่การปฏิบัติสู่ชุมชนในเวทีต่างๆของชุมชน

ถ้าถามว่ว ยากมั๊ย  คำตอบ เรามุ่งมั่นทำจริงร่วมด้วยช่วยกันและมีใจเป็นจิตอาสากัน  ฮิ  ตอบ 

,มีความสนุกและเป็นสุขค่ะ

 

 

 

 ตามมาดูภาพกิจกรรมจ้า

อ.ฉลองชัยมาร่วมงานค่ะ

 

ผู้นำเรามาเพียบ กำนันมุกดา กำลังพูดคุยประเด็นเรื่องเสรษฐกิจพอเพียง

 ครั้งหน้ามาติดตามกันต่อจ้า

หมายเลขบันทึก: 425661เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

 น้องบุษ

 สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท