ความเป็นมาของโครงการขยายองค์ความรู้และเครือข่ายเพื่อการจัดการประชากรในพื้นที่อุ้มผาง จังหวัดตาก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก และองค์กรภาคีเครือข่าย


โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก, สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ, โครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษากฎหมายด้านสถานะและสิทธิบุคคล ภายใต้กองทุนศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

โครงการขยายองค์ความรู้และเครือข่ายเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ ในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก (ระยะที่ 1):การอบรมความรู้และสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากรในพื้นที่ศึกษา อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก (ครั้งที่ 2) ระหว่างวันที่ 6-12 มีนาคม 2554 โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

-------------------------------------------------------------------------

1.หลักการและเหตุผล

            สืบเนื่องจากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานการณ์ด้านสาธารณสุข และการรับรองตัวบุคคลโดยการจดทะเบียนการเกิด ในพื้นที่อำเภอแม่สอด และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก และสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2553  พบว่าอำเภออุ้มผางเป็นพื้นที่สูงและเป็นอำเภอชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรในพื้นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และประชากรส่วนหนึ่งยังประสบปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย จากการลงพื้นที่และจากฐานข้อมูลผู้ป่วยของโรงพยาบาลอุ้มผาง(พ.ศ.2553) ปรากฏว่าประชาการในอำเภอนี้มีทั้งคนที่ไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (คนไร้รัฐ) คนที่โดยข้อเท็จจริงแล้วมีสัญชาติไทยแต่ยังไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐไทยว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย คนที่โดยข้อเท็จจริงแล้วมีสัญชาติไทยแต่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรไทยว่าเป็นคนต่างด้าว และคนต่างด้าวที่ได้รับบันทึกในทะเบียนราษฎรไทยแล้วแต่ยังไร้สัญชาติ (คนไร้สัญชาติ) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจถูกปฏิเสธสิทธิ

            ในขณะเดียวกันการปรากฏตัวของผู้มีปัญหาสถานะบุคคลได้ถูกตั้งข้อสังเกตด้วยว่าอาจเป็นเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

            อย่างไรก็ดี ในแง่ของการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน เพื่อให้การจัดการประชากรผ่านการจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เคารพหลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนและมีความสมดุลกับหลักความมั่นคง ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตระหนักถึงบทบาทของภาควิชาการในการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของสังคมไทย จึงร่วมกับคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก, สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ เพื่อพัฒนาโครงการขยายองค์ความรู้และเครือข่ายเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก (ระยะที่ 1) เพื่อดำเนินการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ดังกล่าว โดยได้ดำเนินกิจกรรมอบรมความรู้ในการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อเท็จจริงแก่คณะทำงานในพื้นที่ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาแบบสอบถามในการเก็บข้อเท็จจริง และการนำนิสิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่การพัฒนาแผนงานและกิจกรรมเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชากรในพื้นที่ต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
  • คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

2.วัตถุประสงค์

            2.1   เพื่อดำเนินการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริง/ปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากรในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

            2.2   เพื่อดำเนินการจำแนกสถานการณ์ปัญหา และการกำหนดกลุ่มประชากรที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิ เพื่อการจัดการปัญหาประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิต่อไป

            2.3  เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคล อันนำไปสู่การสนับสนุนการจัดการปัญหาประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิต่อไป

            2.4    เพื่อพัฒนาเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการประชากรที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิต่อไป

            2.5  เพื่อเป็นพื้นที่ศึกษาเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาต่อสภาพปัญหาของสังคมไทย

 

3. วิธีการดำเนินงาน

            โครงการขยายองค์ความรู้และเครือข่ายเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก (ระยะที่ 1) ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรมย่อย  คือ

             3.1 กิจกรรมที่ 1  อบรมองค์ความรู้และวิธีการใช้เครื่องมือ (แบบสอบถาม) เพื่อการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริง/สภาพปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากรในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

             ได้แก่ การจัดอบรมองค์ความรู้และวิธีการใช้เครื่องมือ (แบบสอบถาม)เพื่อการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริง/สภาพปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากรในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากให้แก่คณะทำงาน 3 ชุด อันประกอบไปด้วย คือ 1) คณะทำงานในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2)คณะทำงานของโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก และ3) คณะทำงานซึ่งเป็นนิสิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • วัตถุประสงค์

             1)  เพื่อพัฒนาคณะทำงานให้มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักการ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง และวิธีการในการจำแนกประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ

             2)  คณะทำงานสามารถใช้เครื่องมือเพื่อการสำรวจสถานการณ์ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             3)  เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ

  • วิธีดำเนินการดำเนินกิจกรรม และระยะเวลา

             1) กำหนดหลักสูตรการอบรมสำหรับ 1 วัน

             2) อบรม 3 ครั้ง

                          ครั้งที่ 1 อบรมคณะทำงานคณะนิติศาสตร์   อบรมภายในเดือนธันวาคม 2553

                          ครั้งที่ 2 อบรมคณะทำงานโรงพยาบาลอุ้มผางและอาสาสมัครในพื้นที่ วันที่ 7 ธันวาคม 2553

                          ครั้งที่ 3 อบรมคณะนิสิตคณะนิติศาสตร์ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2554

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1)       คณะทำงานชุดต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักการ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง และวิธีการในการจำแนกประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ

2)       คณะทำงาน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือเพื่อการสำรวจสถานการณ์ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

             -  การอบรมคณะทำงานชุดที่ 1 รับผิดชอบโดย   อ.กิติวรญา รัตนมณี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

             - การดำเนินการอบรมให้แก่คณะทำงานชุดที่ 2 รับผิดชอบโดย อ.กิติวรญา รัตนมณี และคุณจันทราภา จินดาทอง โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

             - การดำเนินการอบรมให้แก่คณะทำงานชุดที่ 3 รับผิดชอบโดย อ.ฉัตรพร หาระบุตร อ.กิติวรญา รัตนมณี และคุณจันทราภา จินดาทอง โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

  • เครือข่ายร่วมรับผิดชอบกิจกรรม

             -  คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ  ไทยพลัดถิ่น  ผู้อพยพ  และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

             - โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

             - สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

             - หน่วยงานอื่นๆในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

             3.2 กิจกรรมที่ 2   การสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากรในพื้นที่ศึกษา : อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ได้แก่ การลงพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ของคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อดำเนินการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากร โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสอบถาม

  • วัตถุประสงค์

             1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ศึกษา

             2) เพื่อนำไปสู่การจำแนกสถานการณ์ปัญหา และกลุ่มประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ

             3) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิฯ

             4) เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายการจัดการประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิฯ

             5) เพื่อเผยแพร่การดำเนินกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรม รวมถึงข้อค้นพบแก่สาธารณะ

  • วิธีดำเนินกิจกรรมและระยะเวลา

             คณะทำงานลงพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เพื่อดำเนินการสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิของประชากร โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสอบถาม แบ่งเป็นการลงพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง

             1) สำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงฯ ครั้งที่ 1 โดยคณะทำงานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับคณะทำงานของโรงพยาบาลอุ้มผาง ในวันที่ 8 ธันวาคม 2553 

             พื้นที่เป้าหมาย:

             - หมู่ที่ 1,4,5, 7ตำบลโมโกร พื้นที่ภายใต้การดูแลของสถานีอนามัยโมโกร และ

             - หมู่ที่ 1,2,3 ตำบลหนองหลวง พื้นที่ภายใต้การดูแลของสถานีอนามัยบ้านหนองหลวง

             2) สำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงฯ ครั้งที่ 2 โดยคณะทำงานของโรงพยาบาลอุ้มผาง ในช่วงระยะเวลาเดือนธันวาคม 2553-กุมภาพันธ์ 2554

             พื้นที่เป้าหมาย:

             - หมู่ที่ 1,4,5, 7ตำบลโมโกร พื้นที่ภายใต้การดูแลของสถานีอนามัยโมโกร และ

             - หมู่ที่ 1,2,3 ตำบลหนองหลวง พื้นที่ภายใต้การดูแลของสถานีอนามัยบ้านหนองหลวง

             3) สำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงฯ ครั้งที่ 3 โดยคณะนิสิต ภายใต้การดูแลของคณะทำงาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับคณะทำงานของโรงพยาบาลอุ้มผาง ในช่วงปิดภาคฤดูร้อน (6-12 มีนาคม 2554) ดูกำหนดการ

             พื้นที่เป้าหมาย: ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

             4) เผยแพร่การดำเนินกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรม รวมถึงข้อค้นพบแก่สาธารณะ

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

             1) ทราบถึงสถานการณ์ข้อเท็จจริงด้านสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ศึกษา

             2) เกิดข้อมูลเพื่อการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา

             3) นำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ

             4) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นิสิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

             5) เกิดการเผยแพร่ข้อค้นพบเพื่อสื่อสารกับสาธารณะ

  • ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

             - การสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงครั้งที่ 1 รับผิดชอบโดย (1) อ.กิติวรญา รัตนมณี (2)อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (3) คุณจันทราภา จินดาทอง โรงพยาบาลอุ้มผาง

             - การสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงครั้งที่ 2 รับผิดชอบโดย คุณจันทราภา จินดาทอง โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

             - การสำรวจสถานการณ์ข้อเท็จจริงครั้งที่ 2 รับผิดชอบโดย  (1)อ.ฉัตราพร หาระบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ (2)อ.กิติวรญา รัตนมณี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติฯ (6-12 มีนาคม 2554) ดูกำหนดการ

  • เครือข่ายร่วมรับผิดชอบกิจกรรม

             - คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ  ไทยพลัดถิ่น  ผู้อพยพ  และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

             - โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

             - สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

             - หน่วยงานอื่นๆในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

             3.3  กิจกรรมที่ 3  การจัดการปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิ

          ได้แก่ การดำเนินงานเพื่อการจำแนกกลุ่มคนเจ้าของปัญหา และการกำหนดวิธีการเพื่อการจัดการปัญหาดังกล่าว โดยคณะทำงานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับคณะทำงานของโรงพยาบาลอุ้มผาง

  • วัตถุประสงค์

             1) เพื่อจำแนกกลุ่มคนเจ้าของปัญหา และกำหนดวิธีการจัดการปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิ

             2) เกิดรายงานสถานการณ์ข้อเท็จจริงของประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ศึกษา

             3) เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่อุ้มผาง จังหวัดตาก

  • วิธีการดำเนินงาน

             1) ตรวจสอบแบบสอบถาม และทำการจำแนกกลุ่มเจ้าของปัญหา

             2) สังเคราะห์ วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และกำหนดวิธีการและตัวบุคคลเพื่อจัดการปัญหาฯ

             3) ดำเนินการแก้ไขปัญหาฯ

             4) บันทึกเพื่อรายงานสถานการณ์ข้อเท็จจริงของประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ศึกษา

             5) เผยแพร่การดำเนินกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรม รวมถึงข้อค้นพบแก่สาธารณะ

  • ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม

             - นับจากลงพื้นที่ในเดือนธันวาคม 2553 – พฤษภาคม 2554

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

             1) สามารถจำแนกกลุ่มคนเจ้าของปัญหา

             2) สามารถกำหนดวิธีการและตัวบุคคลเพื่อการจัดการปัญหาฯ

             3) เกิดรายงานสถานการณ์ข้อเท็จจริงของประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่ศึกษา

             4) นำไปสู่การพัฒนางานวิจัยเพื่อการจัดการประชากรที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิในพื้นที่อุ้มผาง จังหวัดตาก

             5) เกิดการเผยแพร่ข้อค้นพบเพื่อสื่อสารกับสาธารณะ

  • ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

             - อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติฯ

             - อ.กิติวรญา รัตนมณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

             - คุณจันทราภา จินดาทอง โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

  • เครือข่ายร่วมรับผิดชอบกิจกรรม

             - คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ  ไทยพลัดถิ่น  ผู้อพยพ  และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

             - โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก

             - สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

             - หน่วยงานอื่นๆในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

              3.4 กิจกรรมย่อยที่ 4  การพัฒนาฐานข้อมูลประชากรที่มีปัญหาสถานะบุคคและสิทธิในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

          ในระยะแรกจะเป็นการรวบรวมแบบสอบถาม และพัฒนาฐานข้อมูลออนไลน์

          รับผิดชอบโดย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 425489เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท