สพม.34 ยกระดับคุณภาพการศึกษา


แนวทางยกระดับคุณภาพการศึกษา มัธยมศึกษา

 

 

การยกระดับคุณภาพการศึกษาของ  สพม. 34

 

วันนี้นี้วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554  ผมได้รับมอบหมายให้ไปร่วมกับ คณะของ           ผอ.สพม.34 ในการประชุมเปิดตัว   ต่อคณะครูโรงเรียนมัธยม   2  จุดการประชุม ทั้งภาคเช้า และภาคบ่าย 

ในช่วงเวลา  30  นาที ที่จะได้รับมอบหมายนี้   ขอบรรยายไว้ในที่นี้ เป็นการล่วงหน้าตามเคย

 เป้าหมายด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 34 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน

ภายใต้การนำของท่านมานพ ดีมี    ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา  เขต 34    จะมีกลไกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ที่เป็นการดำริของท่าน ดังนี้ครับ

1.  กำหนดให้มีกลุ่มโรงเรียนมัธยม  7  กลุ่ม  เชียงใหม่ 5 กลุ่ม ตามเขตพื้นที่เชียงใหม่ เขต 1-5 เดิม  และแม่ฮ่องสอน 2 กลุ่ม  ตามเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน 2 เขต เดิม

2.  กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาวิชาการจังหวัดละ  1 ชุด  เพื่อดูแลสนับสนุนส่งเสริมงานวิชาการในจังหวัด  คณะกรรมมาจากผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการครู ศึกษานิเทศก์กำหนดให้มี คณะกรรมการพัฒนากลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระดับเขตพื้นที่ สพม.34  โดยมอบให้ ศน. ประสานการดำเนินงาน

3. ใน 2 จังหวัด 7  กลุ่มโรงเรียน จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนากลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ให้ดำเนินงานร่วมกับ คณะกรรฒนากลุ่มสาระระดับเขตพื้นที่ สพม. 34   ตามข้อ 3 ซึ่งโดยภาพ แล้ว ก็คือการสร้างกลไกการจัดการให้เกิดความร่วมมือระหว่างครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร กับผู้รู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้นั่นเอง

 

รายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมด จะปรากฏอยู่ในระเบียบปฏิบัติของ สพม.34

 ความมุ่งหวังของ สพม.34 มี อยู่  4  ข้อใหญ่ๆ  ดังนี้

1. ทุกโรงเรียนต้องยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔  ใน  5 กลุ่มสาระหลัก ให้ได้

2. ทุกโรงเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอกรอบที่ 3

3. ทุกโรงเรียนต้องมีหลักสูตรพร้อมใช้  และมีการประเมินผล

การใช้หลักสูตร และรายงาน ต่อ สพม.34  สิ้นปีการศึกษา 2553

4. ทุกโรงเรียนต้องมีการดำเนินการตามจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ เทอมที่ 2/2553

ความมุ่งหวังข้อ 1

ทุกโรงเรียนต้องยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้น       ร้อยละ 4  ใน  5 กลุ่มสาระหลัก ให้ได้  เป้าหมายนี้เป็นเป้าหมาย ของ สพฐ. ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างนี้ เพราะแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ได้ตั้งเป้าหมายคุณภาพการศึกษาไว้ว่า  รายวิชาหลัก ภาษาไทย   สังคมศึกษา  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  จะต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50  ในปี 2554 

 ที่ต้องตั้งเป้าหมายไว้อย่างนี้ ก็เพราะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ม. 3 ปี 2549 -2552   เป็นอย่างนี้   ขอหยิบยกมา  เพียง 2 นะครับ
ภาษาไทย    2551       41.04         2552       33.35 

สังคมศึกษา                41.37                         39.70

ภาษาอังกฤษ              34.50                         22.54

คณิตศาสตร์               32.64                         26.05

วิทยาศาสตร์              33.39                          29.16

 

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ม. 6 ปี 2549-2552
            ภาษาไทย         2551    46.42               2552    46.47

สังคมศึกษา                               34.67                           36.00

ภาษาอังกฤษ                             30.64                           23.98

คณิตศาสตร์                             35.98                           28.56

วิทยาศาสตร์                             33.65                           29.06

 

     เห็นภาพรวมคุณภาพการศึกษาอย่างนี้แล้ว   น่าห่วงใยไหมครับ

 ความมุ่งหวังข้อ 2

ทุกโรงเรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอกรอบที่ 3

  อัตลักษณ์ของโรงเรียน  (เอกลักษณ์ ความโดดเด่น ความภาคใจในความเป็นโรงเรียนของตนเอง ที่สามารถ  เป็นพื้นฐาน ในการต่อยอดให้เกิดความสำเร็จที่สูงขึ้นๆ ได้ ผมพูดตามความเข้าใจของผมนะครับ)

 

7  มาตรฐานที่ สมศ. กำหนด  และโรงเรียนต้องพร้อมรับการประเมิน ดังนี้

 มาตรฐานและตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่สาม (พ.ศ. 2554  -2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ. 2554 -2558)  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

น้ำหนัก

ร้อยละ

1.

ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

15

 

1.1

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่ปฏิบัติหน้าที่นักเรียนที่ดีของโรงเรียน

5

 

1.2

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง

5

 

1.3

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม

5

2.

ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

10

 

2.1

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ รวมทั้ง รู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย

5

 

2.2

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และมีสุนทรียภาพ

5

3.

ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน

15

 

3.1

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนมีมีนิสัยรักการอ่าน สนใจ แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัวและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

5

 

3.2

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นทีมได้ (TEAM LEARNING)

5

 

3.3

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้

5

4.

ผู้เรียนคิดเป็น

15

 

4.1

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเป็นระบบ

5

 

4.2

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์

5

.

มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ. 2554 -2558)  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

น้ำหนัก

ร้อยละ

 

4.3

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

5

5.

ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร

20

 

5.1

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

3

 

5.2

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

3

 

5.3

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

3

 

5.4

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

3

 

5.5

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

2

 

5.6

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

2

 

5.7

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

2

 

5.7

ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6

2

6

การบริหารและการพัฒนาสถานศึกษา

15

 

6.1

ระดับความสำเร็จของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษา

3

 

6.2

ระดับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานและการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้

3

 

6.3

ปริมาณและคุณภาพของครู

3

 

 

6.3.1  สถานศึกษามีครูเพียงพอ

1

 

 

6.3.2           ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ

1

.

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ. 2554 -2558)  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

น้ำหนัก

ร้อยละ

                 6.3.3  ครูมีสมรรถนะตามที่กำหนด

1

 

6.4

ประสิทธิผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน 8 กลุ่มสาระ ได้แก่

6

 

 

6.4.1  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1

 

 

6.4.2  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

1

 

 

6.4.3  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1

 

 

6.4.4  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

1

 

 

6.4.5  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

1

 

 

6.4.6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

1

 

 

6.4.7  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

1

 

 

6.4.8  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

1

7.

การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน

10

 

7.1

ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายใน

3

 

7.2

ผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด

3

 

7.3

การนำผลประเมินภายในไปใช้พัฒนาคุณภาพ

4

 

 

รวม

100

 

 ความมุ่งหวังข้อ 3

ทุกโรงเรียนต้องมีหลักสูตรพร้อมใช้ 

และมีการประเมินการใช้หลักสูตร  สิ้นปีการศึกษา 2553
กรอบการปฏิบัติ

  1. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
  2. จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผลสถานศึกษา
  3. มีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  4. มีการดำเนินการตามจุดเน้นของกระทรวงศึกษา 
    เทอมที่ 2/2553

ความมุ่งหวังข้อ 4

การดำเนินการของโรงเรียนหลังการประกาศจุดเน้น          และภาพความสำเร็จ

  1. ระยะที่ ๑ เริ่มต้นวิเคราะห์ (เทอม๒/๒๕๕๓)
  2. ระยะที่ ๒ บ่มเพาะประสบการณ์ (เทอม๑/๒๕๕๔)
  3. ระยะที่ ๓ สานต่อองค์ความรู้ (เทอม๒/๒๕๕๔)
  4. ระยะที่ ๔ นำสู่วิถีคุณภาพ (เทอม๑/๒๕๕๕)
  5. ระยะที่ ๕ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ (เทอม๒/๒๕๕๕)

 

แต่ละระยะขอให้โรงเรียนปฏิบัติ  ดังนี้

ระยะที่ 1 เริ่มต้นค้นวิเคราะห์ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553)

1. มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล ครบถ้วน พร้อมใช้

2. มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่ชัดเจน ปฏิบัติได้

3. มีฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพียงพอ

4. มีตารางเรียนที่ยืดหยุ่นตามจุดเน้น

5. มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน                                                                                                          โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน

6. มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ครอบคลุมตามจุดเน้น

ระยะที่ 2 บ่มเพาะประสบการณ์ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554)

1. ผู้เรียนได้สำรวจ สืบค้น ทา โครงงาน โครงการ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียน

2. ครูใช้ แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างคุ้มค่า

3. จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

4. ชุมชนเข้าใจ ร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้

5. ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้/สื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ

6. มีการนำผลการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ระยะที่ 3 สานต่อองค์ความรู้ (ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554)

1. มีการนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน

2. มีผลการวิจัยและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3. มีรายงานผลความก้าวหน้าในการพัฒนาผู้เรียน

4. มีการสร้างเครือข่าย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระยะที่ 4 นำสู่วิถีคุณภาพ (ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555)

1. มีนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

2. มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น

3. มีเครื่องมือวัดและประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพ

4. มีการเผยแพร่การวิจัยและผลการพัฒนาผู้เรียน

 

ระยะที่ 5 มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ (ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555)

1. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้น

2. มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่

3. ครูเป็นครูมืออาชีพ

4. โรงเรียนมีการจัดการความรู้

5. มีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง

6. สาธารณชนยอมรับ และมีความพึงพอใจ

 

 

                ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นมาตรฐานการชี้แจงในโอกาสที่ติดตามท่านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยม 34 ไปทุกจุดการประชุม   ผมได้รับมอบหมายมา 2 จุดสุดท้ายขอสรุปความคิดทั้งหมดที่เสนอมาและเพิ่มเติมตามความคิดเห็นของผม  ดังนี้

คุณภาพผู้เรียน คือ คุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดการวัดคุณภาพ วัดด้วยการทดสอบ ข้อสอบระดับชาติ และระดับท้องถิ่น

การวัดคุณภาพ….สามารถทำได้ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม

ในแต่ละเรื่อง แต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่กำลังสอน หรือเพิ่งสอนผ่านไป เพื่อดูว่านักเรียนรู้จริง ไหม

  • รู้ความหมายของคำใหม่ๆ ที่เข้ามาในบทเรียน
  • อธิบายได้
  • ตั้งคำถามได้เอง หลายแง่มุม
  • ตอบคำถามได้เอง
  • สร้างผลงาน  ชิ้นงานได้
  • เมื่อซักถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ผลงาน ชิ้นงายแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้า ตอบได้โดยฉับพลัน

การวัดได้อย่างนี้   ทำได้   แต่

ต้องมีนักเรียนไม่เกิน 35  คน  ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรสากล  ที่ยังทำกันไม่ได้

เมื่อวันที่ 4 ที่ผ่านมาคุยกับเด็กๆ อินโดนีเซีย

ผ่าน skype  ขณะรอให้คุยกับนักเรียนของอาจารย์สวาท ที่ยุพราชในงานเทศกาลอาหารนานาชาติ

ถามเด็กๆ ว่าห้องเรียนของเธอมีนักเรียนกี่คน  เขาบอกว่า มี 26 คน

ถ้าทำได้ก็ลองทำไปก่อนนะครับ  กับเด็กบางกลุ่ม บางคน ก็ได้  เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า  เด็กๆ เรียนอะไรไปแล้วต้องรู้จริงๆ  จึงจะเกิดประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด  ไม่ใช่บอกความเก่งของตนเองจากผลการสอบอย่างเดียว

 

การที่มีการเน้น ภาษาไทย   สังคมศึกษา  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์   ในหลายๆ ที่ เช่น  ในเป้าหมายของ สพฐ. สมป. สพม.

            มีข้อสังเกต ของผม ดังนี้

 

  • เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ครู จากกลุ่ม การงาน ศิลปะ พละ-สุขศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สมองไหล ไปอยู่ใน 5 กลุ่มสาระหลักหรือไม่
  • การเน้น 5 กลุ่มสาระหลัก  ทำให้ ทรัพยากร การจัดการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มสาระอื่นๆ หรือไม่
  • การเน้น  5  กลุ่มสาระหลัก ทำให้เกิดการละเลยและ ลงลึกในการสอนคิดวิเคราะห์ ในกลุ่มสาระ การงาน ศิลปะ พละ-สุขศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  หรือไม่
  • การละเลย และลงลึก ในการสอนคิดวิเคราะห์ ในกลุ่มสาระ การงาน ศิลปะ พละ-สุขศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน    มีส่วนให้การยกระดับผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวม ขึ้นได้น้อย หรือไม่
  • การเน้น 5 กลุ่มสาระหลัก  ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กล่าวไว้ ดังนี้ หรือไม่

1. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้

2. การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต

3. การเรียนรู้ ควรสนองความต้องการ และความแตกต่างของผู้เรีย

4. การเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนารอบด้าน อย่างสมดุล เป็นไปตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

5. ผู้เรียนควรได้เรียนอย่าง อย่างมีความหมาย บูรณาการสัมพันธ์กับชีวิตจริง และนำไปใช้ประโยชน์ได้

6. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ได้ค้นคว้าหาความรู้     ได้คิดได้ปฏิบัติจริง ได้สรุป หรือได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง

 

จะเน้นจุดเน้นกันอย่างไรดี

 

  • เน้นเป็นระยะๆ ไปตามกำหนด
  • เน้นในจุดที่อ่อนโดยไม่ต้องเป็นระยะ
  • นำจุดเน้น ที่ไม่ปรากฏในตัวชี้วัด ของมาตรฐาน ไปสอดใส่ไว้ในมาตรฐานแล้วเน้นการสอน หรือ การจัดการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัที่มีจุดเน้นอยู่ด้วย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 425399เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขณะนี้ผมอยู่ที่จุดประชุม  โชคดีครับที่ได้เขียนในสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้พูด ไว้ในที่นี้ แม้จะไม่ได้ขึ้นเวที ตามนัด เพราะเวลาไม่เอื้อ ก็ยังพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง ท่านดูแล้ว จะเสริม เติม อะไร หรือจะอภิปรายอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ก็เชิญนะครับ

ขณะนี้ผมอยู่ที่จุดประชุม  โชคดีครับที่ได้เขียนในสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้พูด ไว้ในที่นี้ แม้จะไม่ได้ขึ้นเวที ตามนัด เพราะเวลาไม่เอื้อ ก็ยังพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง ท่านดูแล้ว จะเสริม เติม อะไร หรือจะอภิปรายอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ก็เชิญนะครับ

สวัสดีค่ะท่าน ศน. ได้นั่งฟังท่าน ผอ. และท่านได้ให้สาระและข้อปฏิบัติเพื่อไปพัฒนาองค์กรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ขอบคุณท่านที่นำมาลงบันทึกจะได้ชัดเจนไม่ตกหล่น  นู๋จดไม่ทัน  ท่านมีเวลาบรรยายน้อยมากๆๆ ภาคเช้า   นู๋สู้ๆๆ เสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท