เรียนรู้จากการทำงานให้แก่มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ


         ตอนนี้ผมทำงานให้แก่มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลถึง 4 สถานะ   วันนี้ (1 ส.ค.49) ทำหน้าที่ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ (SAC - Scientific Advisory Committee) ซึ่งคณะกรรมการเป็นคนไทยล้วนรวม 15 คน   เราประชุมกันเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้เพื่อสรุปว่าในจำนวนผู้ได้รับเสนอชื่อในปีนี้ 59 คน  และรายชื่อที่เก็บไว้จาก 2 ปีที่แล้วอีก 9 คน   เราจะ short - list ให้เหลือ strong candidate กี่คน   เป็นใครบ้าง   และเขียน recommendation ส่งให้คณะกรรมการ International Award Committee - IAC (ซึ่งผมก็เป็นประธานอีกนั่นแหละ) พิจารณา   กรรมการชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ

         ปีนี้ IAC จะไม่ประชุม   แต่จะประชุมโดยใช้ E-mail แทน   โดยที่เมื่อเดือน พ.ย.48 เราได้ทำการบ้านเผื่อไว้แล้วว่าผู้สมครได้รับรางวัลของปี 49 ควรอยู่ใน field ไหน   และเรามีรายชื่ออยู่ในใจด้วยซ้ำ   แต่เราก็ต้องพิจารณารายชื่อที่ได้รับเสนอใหม่อย่างจริงจัง   ถ้ามีคนที่ผลงานเด่นกว่าก็จะได้รับการพิจารณา   คือทุกอย่างเน้นที่ "merit" อย่างแท้จริง

        ในวงการวิชาการ  คนเก่ง ๆ ก็เป็นปุถุชนนะครับ   กรรมการของเราเป็นผู้รู้กว้างและลึก   บางคนรู้ไส้ผู้ได้รับเสนอชื่อที่ถ้าอ่านเฉพาะคำเสนอผลงานเราก็จะไม่รู้ด้านลบของเขา

         เมื่อ 6 ปีมาแล้ว   ตอนที่ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ส่งต่อหน้าที่ประธาน SAC มาให้ผม   และแนะให้จัด office เล็ก ๆ ทำงาน SAC แบบงานวิชาการ   และทำงานเชิงรุกโดยมีการค้นหาผลงานเด่นใน area สำคัญ ๆ ด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุข (Basic Discovery & Application) เอามาประชุมปรึกษากันอย่างต่อเนื่อง   ใช้การทำงานเพื่อสรรหาผู้สมควรได้รางวัล   เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการไทย   และเรียนรู้จาก IAC ด้วย   ผมโดยอาจารย์สั่งให้ทำงานผมก็ต้องรับ   แต่รับแบบงง ๆ ว่าฝีมืออย่างผมจะไปทำอะไรได้  คือผมมองว่าความรอบรู้ของผมมันไม่พอหรือจะว่ามือไม่ถึงก็ได้   ผมคิดอย่างนั้นจริง ๆ

         แต่ปีนี้ผมเริ่มรู้สึกว่าทีม SAC ซึ่งทุกคนเป็นคนยุ่งทั้งนั้น   ไม่มีเวลา   แต่ช่วยกันทำงานคนละเล็กละน้อยโดยมีคุณภัทรพร คงบุญ คอยช่วยค้นข้อมูลและประสานงานกับคนไม่มีเวลาเหล่านั้น    แต่เป็นคนรอบรู้คนละด้านสองด้าน   เริ่มสร้างสมประสบการณ์การทำงานวิชาการด้านการให้รางวัล  ให้เกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่นระดับนานาชาติไว้ในแผ่นดินไทย   ซึ่งผมคิดว่าเป็นการสั่งสมความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ที่มีค่ามาก

         งานนี้เป็นงานอาสา   ทำงานถวายในหลวง  ถวายสมเด็จพระเทพรัตน์  ถวายสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ฯ  ทำแล้วสบายใจได้ความสุข

         แต่ที่ยิ่งกว่านั้น  สำหรับผมเป็นการเรียนรู้ที่หาโอกาสมิได้อีกจากแหล่งอื่น   คือเรียนรู้จากการทำงานร่วมกับคนเก่งและเป็นคนดีของแผ่นดินไทย 15 คน   ถ้าอยากรู้ว่าเป็นใครบ้างขอให้คอยอ่านในบล็อกของคุณภัทรพร  gotoknow.org/blog/pmaf

วิจารณ์  พานิช
 1 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 42459เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นสิ่งที่ดีครับที่มีผู้รู้ และมีประสบการณ์ในระดับประเทศ ได้มาทำงานร่วมกัน สำหรับในเรื่องเวลานั้นผมว่าไม่ใช่ปัญหาหลักในการทำงานเพราะทุกวันนี้ Technology สามารถเอื้อต่อการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา หากมีผู้ประสานงานที่ดี

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท