การบริหารการเปลี่ยนแปลง


การบริหารการเปลี่ยนแปลง

วิวัฒนาการการบริหารการศึกษา

    ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ

เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลา และการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
                      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง

                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป

                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะ อย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ใน ด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา

 

    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
         การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคน งาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้

                    1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
                    2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
                    3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
          ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*

 

 

    ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่ กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วม มือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็น เรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,

Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้

                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้ บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสระภาพ

        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้า ด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ

1.      สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
                    1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                    2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                    4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ระยะที่ 4 การบริหารราชการยุคใหม่ (ยุคปัจจุบัน)

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนปรับแต่งองค์การ กระบวนงานเพื่อให้องค์การและบุคลากรสามารถปรับตัว เกิดการยอมรับ และพัฒนาศักยภาพของส่วนราชการ ไปพร้อมการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดแนวทางในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับส่วน ราชการและระดับบุคลากร

การ วางแผนเพื่อปรับแต่งองค์การทั้งระดับกระทรวง ทบวง และกรม จะยึดแผนและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเป็นที่ตั้ง โดยมีการกำหนดและทบทวนทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานโครงการ เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมิน ขีดความสามารถและปริมาณทรัพยากรที่ส่วนราชการมีอยู่ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการในการทำงาน ระบบการบริหาร ค่านิยมและทัศนคติของข้าราชการ ความสามารถในการให้บริการประชาชน กฎระเบียบต่างๆ ฯลฯ ที่ใช้อยู่ และประเมินหาสิ่งที่ยังขาด (Gap) หรือไม่เพียงพอ เพื่อกำหนดแนวทางหรือวิธีการลดช่องว่างนั้น โดยการจัดทำเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for change)14

 

 

 

 

 

การปฏิรูประบบราชการและบริหารราชการ

ในโลกยุคปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  รอบตัวเกิดขึ้นมากมาย  ทั้งจากกระแสโลกาภิวัตน์ 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและภาคประชาชน รวมถึงการพัฒนาสู่สังคมประชาธิปไตยและความตื่นตัวของประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานภาครัฐ

ระบบราชการนับเป็นกลไกสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการบริหารประเทศ โดยเฉพาะในระยะเวลาที่ประเทศต้องประสบกับสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในขณะนี้ ภาครัฐจะต้องเป็นพลังขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แต่ที่ผ่านมากลไกภาครัฐโดยรวมยังล้าสมัย  ขาดประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ถ่วงรั้งให้ระบบราชการไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชนได้เท่าที่ควรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปราชการอย่างจริงจัง ให้ระบบราชการเป็น    ราชการยุคใหม่ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่การแข่งขันในสังคมโลก สามารถตอบสนองความต้องการการบริหารราชการยุคใหม่

คุณลักษณะราชการยุคใหม่

ราชการยุคใหม่  ภายหลังการปฏิรูปควรมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ดังนี้ 

1. รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จำเป็นต้องทำเท่านั้น  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น

2.  การบริหารจัดการในภาคราชการ  ต้องรวดเร็ว   มีคุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง สามารถวัดผลงานได้

3.  การจัดองค์กรกะทัดรัด    คล่องตัว    ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว

4. มีลักษณะการทำงานที่ทันสมัย    ใช้เทคโนโลยี  เครื่องมือ  อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการทำงาน

5. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคุณภาพและมีมาตรฐานทางคุณธรรมสูง เป็นมืออาชีพ และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

6. ข้าราชการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์   โดยมีประชาชนและประเทศชาติเป็นเป้าหมาย

7. มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่ได้มาตรฐานสากล มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยที่มีคุณภาพเต็มใจมารับราชการเป็นอาชีพ

8.  มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม

9.  มีความโปร่งใส    มีความรับผิดชอบและตรวจสอบได้ 

การปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงระบบราชการเปรียบเสมือนการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยอุปสรรคแต่ก็จำเป็นต้องออกเดินทางเพื่อให้ถึงเป้าหมาย  และเพื่อให้การปฏิรูปสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้  จำเป็นที่จะต้องแก้ไขจากจุดที่เป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญบางส่วนก่อนโดยวางอยู่บนรากฐานของหลักวิชาการ  เพื่อให้ข้าราชการเกิดความคุ้นเคยและเชื่อมั่น     จึงได้เริ่มต้นโดยการจัดโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับบทบาท  ภารกิจที่ราชการควรทำ  และปรับแนวทางการบริหารราชการให้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างใหม่

Ten Modern Leadership Functions

1.             VISIONING    พัฒนา – นำให้องค์กรมีวิสัยทัศน์กำหนดผลที่คาดหวังในอนาคต

2.             LEADING THROUGH COMMITMENT นำคนให้เต็มใจและร่วมมือใช้สมรรถนะเต็มที่ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลโดยไม่ต้องใช้ “การสั่งการ”

3.             SATISFYING THE CUSTOMER/ PUBLIC ติดต่อสัมพันธ์กับผู้รับบริการ – ประชาชนอย่างสม่ำเสมอและสามารถตอบสนองตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว

4.             C0ACHING ควบคุมให้น้อย ช่วยเหลือแนะนำให้มาก เพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานของคนร่วมงาน

5.             DEVELOPING HUMAN RESOURCES พัฒนาความรู้ความสามารถคนให้มีความเก่งรอบรู้ในงานเพิ่มขึ้น

6.             LEADING TEAMS นำ – พัฒนาทีมงาน มีความเป็นปึกแผ่นมีสมรรถนะทีมที่สู

7.             MANAGING WORK PROCESSES เข้าใจในกระบวนการทำงาน และสามารถพัฒนาปรับปรุงให้สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง

8.             MANAGING CHANGE คาดการณ์และเข้าใจสภาพการณ์และวิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยให้มีผลการทำงานสูง

9.             MANAGING PROJECTS สามารถวางแผนและบริหารจัดการโครงการสำคัญให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการได้

10.      MESURING PERFORMANCE เป็นที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจ และได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่นเสมอ

GUIDING PRINCIPLES OF CHANGE AGENT

1.             POSITIVE PERSPECTIVE OF EMPLOYEES  เชื่อในความสามารถของบุคคลที่จะพัฒนาปรับเปลี่ยน กล่าวคือ ต้องชื่อใจ ในความสามารถของครู ว่าสามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาองค์กรได้

2.             SELF- AWARENESS  รู้จักตนเอง ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเองเสมอ  กล่าวคือ ต้องมีความตระหนักรู้ และต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเอง

3.             PERSONAL ACCOUNTABILITY รับผิดชอบ ในการกระทำของตนเองในฐานะผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ต้องรับทั้งผิด เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ทำให้เกิดความเสียหาย ก็ต้องยอมรับ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด ทำงานที่ได้รับผิดชอบให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้จงได้

4.             EFFECTIVE COMMUNICATIONS  สามารถสื่อสารและรับรู้ข้อมูล – เบื้องหลังได้อย่างยอดเยี่ยม กล่าวคือ เวลาสั่งงานสั่งให้ชัดเจน ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจหน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างเข้าใจ

5.             EMPLOYEE ADVOCACY สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาลูกน้องให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก

กล่าวคือ ส่งเสริม ให้ลูกน้อง ได้ดิบได้ดี เช่น การส่งเสริมให้มีวิทยฐานะ  เป็นต้น

6.             TRUSTWORTHINESS เป็นที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจ และได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่น กล่าวคือ วางตนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ให้คนอื่นเคารพศรัทธา มีความเกรงใจ

 

พฤติกรรมที่เหมะสมกับการเป็น  CHANGE AGENT (นำพาการเปลี่ยนแปลง)

1.             สร้างความน่าเชื่อถือ มั่นใจ แก่ผู้อื่น (Establishing Credibility)

2.             แสดงถึงความสนใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงตลอดกระบวนการจนบรรลุผลสำเร็จ (Demonstrating Follow – Through)

3.             สามารถกำหนดวิธีการตอบสนองผู้รับบริการได้ดี (Developing a Customer Service Strategy)

4.             แสดงความรับผิดชอบในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Demonstrating Accountability for Results)

 

การพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : แนวทางสำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง (หลัก ตามรูปแบบ European Model)

1.             การบริหารสู่ความเป็นเลิศ เป็นการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อ ไต่ระดับ จาก  แย่    พอใช้  ดี  ดีมาก  ดีเยี่ยมเป็นเลิศ (จัดไว้ 5 ระดับ)

2.             องค์ประกอบของการบริหารทั่วทั้งองค์กรเพื่อเพิ่มคุณภาพ มี 9 องค์ประกอบโดยคำนึง จาก ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ผู้เกี่ยวข้อง  (stakeholder) ปัจจัยผลักดันขับเคลื่อน และผลสัมฤทธิ์ขององค์กร

3.             การพัฒนาไต่ระดับ ต้องอาศัย ดรรชนีวัดผลถึงระดับคุณภาพทั่วองค์กรวิเคราะห์จาก สภาพปัจจุบัน (ที่เป็นอยู่)  เกี่ยวกับ ระดับคุณภาพที่หวัง

4.             การปรับคุณภาพให้สูงขึ้น จากปัจจุบัน   ที่คาดหวัง ผู้บริหาร คือ เป็นหัวใจพลังสำคัญอย่างยิ่ง (DRIVER)

 

เปรียบเทียบการบริหารแบบดังเดิม กับการบริหารแบบใหม่

การบริหารแบบเดิม

การบริหารยุคใหม่

1.             ทำงานตามคำสั่ง

2.             ผู้บริหารควบคุมสั่งการ

3.             Law Performance Org.

4.             ขาดความคิดริเริ่มทำตามระเบียบ

5.             Reactive

6.             ช้าไม่ตอบสนองประชาชน

1.             Knowledge Worker (Empowered)

2.             ผู้บริหารมอบงาน ชี้แนะ และ Coach

3.             High Performance Organization

4.             คิดริเริ่ม ผลักดัน Change Agents

5.             Proactive

6.             เร็ว ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

 

 

 

SMART” Change Agent

 

                S = SYNERGY (ผนึกกำลัง – ทีม)

                M = MOVEING FORWARD (มองอนาคต มีวิสัยทัศน์)

                A = ATTAINABLE ATTITUDE (ทัศนคติเชิงบวก)  (Can – do Attuutde)

                R = REALISTIC (คิดค้น นำมาใช้ได้ผลจริง)

                T = TECHOLOGY – BASED (ใช้เทคโนโลยีช่วย)

ลักษณะของราชการยุคใหม่

 

1.2.1 รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่ตนเองจะต้องทำเท่านั้น   ราชการยุคใหม่ต้องมีการทบทวนบทบาทภารกิจของตัวเองอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆว่า

-                   หน้าที่และบทบาทอะไรที่จะต้องทำและยังไม่ได้ทำ

-                   หน้าที่และบทบาทอะไรที่เคยทำมาและไม่จำเป็นต้องทำอีกแล้ว

-                   หน้าที่และบทบาทอะไรที่ต้องร่วมมือกันทำกับเอกชน  ประชาชน  และสังคม

ดังนั้น   การทบทวนบทบาทภารกิจอย่างต่อเนื่อง  ของภาคราชการยุคใหม่  จะทำให้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ในแต่ละขณะได้ตลอดเวลา

1.2.2  วิธีการบริหารจัดการภายในภาคราชการ  การทำงานต่าง ๆ  ในภาคราชการจะต้องมีความรวดเร็วมีคุณภาพสูง  ประสิทธิภาพสูง  สามารถวัดผลงานได้   การทำงานทุกครั้งตรงตามเป้าหมาย และเกิดผลดี

1.2.3  การจัดองค์กรกะทัดรัด  คล่องตัว  ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว    เป็นการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ทำงานแบบเครือข่าย  และใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างมาก  ดังนั้น  รูปแบบการจัดองค์กรจึงต้องเปลี่ยนแปลงใหม่  มีเอกภาพในการทำงาน  เพื่อจะได้หาผู้รับผิดชอบได้จริง   รูปแบบการทำงานในลักษณะคณะกรรมการที่เมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วจับมือใครดมไม่ได้คงจะต้องหมดไป

                        1.2.4 ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคนที่มีคุณภาพ  “คุณภาพ” หมายถึงคนที่มีความรู้และความสามารถจริง  ทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพสูง  ทำได้ด้วยตัวเอง  ข้าราชการยุคใหม่หลังจากปฏิรูปแล้ว  จะสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง  คิดเอง  ดำเนินการเอง และรับผิดชอบในผลงานของตนเอง การบังคับบัญชาจะเป็นเพียงความหมายของการสั่งการตามการตัดสินใจของผู้นำเท่านั้น

ลักษณะที่สำคัญของข้าราชการยุคใหม่   จะเป็นข้าราชการที่มี จริยธรรมและคุณธรรม

1.2.5  การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึงว่าในการทำงานต่าง ๆ นั้น จะมีเป้าหมายที่วัดผลได้ในเชิงตัวเลข  สามารถแสดงผลได้ในทันทีที่งานเสร็จ

1.2.6  ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในการทำงาน แทนการยึดผู้บังคับบัญชาเป็นศูนย์กลาง ต้องเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็น  และการมีส่วนร่วมจากประชาชนและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ   ในฐานะผู้รับบริการ  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของรูปแบบการทำงานของราชการในยุคใหม่

1.2.7  ลักษณะของการทำงานทันสมัย คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมต่อการทำงาน ให้สะดวก รวดเร็ว  ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในภาคธุรกิจเอกชนและสังคมได้  ภาพราชการจะเป็นภาพบุคคลที่กระตือรือร้น  ทำงานอย่างกระฉับกระเฉง  มีความภูมิใจในงานที่ทำ

1.2.8   มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่หลากหลาย   มีวิธีการส่งเสริมข้าราชการให้พัฒนาตนเองและพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง  และส่งเสริมให้คนดีคนเก่งอยู่ในราชการได้อย่างประสบความสำเร็จ  “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน”  จะต้องใช้กับราชการได้

1.2.9 มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม  มีการทำงานเป็นทีม  เพื่อจะสร้างผลงานร่วมกัน แต่ไม่ใช่ลักษณะที่มุ่งตอบสนองผู้บังคับบัญชาเป็นหลัก ต้องมีการประสานงานกันในแนวราบ  มีการทำงานแบบผนึกกำลัง  ร่วมมือกันทำ   มีการประสานสัมพันธ์  ไม่ปิดกั้นข้อมูลระหว่างกัน  ไม่มีระบบเจ้าขุนมูลนาย  แต่ทำงานร่วมกันโดยเคารพในความเป็นมนุษย์  อย่างมีเหตุผล

1.2.10 มีความโปร่งใส  ตรวจสอบได้ ทำงานอย่างมีเหตุผล  ซื่อตรง  สามารถตอบคำถามได้  สามารถเปิดเผยข้อมูล  ให้เหตุผลและความกระจ่างต่อสาธารณชนได้ตลอดเวลาและทันที

 

ข้าราชการยุคใหม่  เมื่อได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนแล้ว  ผลที่พึงหวังจากข้าราชการยุคใหม่  ได้แก่

1.             ความเป็นข้าราชการมืออาชีพ

2.             ทำงานในเชิงรุก

3.             ทันโลก

4.             แข่งขันกันด้วยความรวดเร็วและความแม่นยำ

5.             เรียนรู้ตลอดชีวิต

6.             มีจิตใจใฝ่บริการ

7.             ให้อำนาจแก่ผู้ปฏิบัติ

8.             มีทักษะการคิด

9.             ปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นั่นคือ

-     กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

-     ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ

-     โปร่งใสตรวจสอบได้

-     ไม่เลือกปฏิบัติ

-      มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

การนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสถานศึกษา

การบริหารงานในฐานะผู้บริหารส่วนใหม่  ควรมี 4 ต้อง ดังนี้

1.ต้องมีความรู้  คือ ต้องศึกษาหาความรู้ อย่างสม่ำเสมอ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของวิถีโลก

2. ต้องมีคุณธรรม คือ ต้องดำรงตนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกน้อง

3. ต้องมีความเป็นผู้นำ คือ ต้องกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และกล้าที่จะนำทำให้สิ่งต่างๆ

4. ต้องมีวิสัยทัศน์  คือ ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดก้าวไกล คิดให้ไกล แล้วไปให้ถึง คิดคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า และวางแนวทางในการพัฒนา

 

บทบาทของนักบริหารยุคใหม่   ควรมี 4 เป็น ดังนี้

1.      เป็นครูที่ดี  คือ ต้องดำรงตนเป็นครูที่ดีแก่ศิษย์

2.      เป็นพี่เลี้ยงที่ดี คือ เป็นพี่เลี้ยงกับลูกน้อง บุคลากร ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ

3.      เป็นแบบอย่างที่ดี คือ ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม น่าเคารพย่องย่อง

4.      เป็นเพื่อนที่ดี คือ ให้น้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน ให้ความเห็นอกเห็นใจ และให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับเพื่อน

 

ผู้บริหารยุคใหม่ ควรบริหารงานโดยหลักนิติธรรม

                        หลักนิติธรรม  หมายถึง  การตรากฏหมายที่ถูกต้อง  เป็นธรรม  การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย   การกำหนดกฎ  กติกาและการปฏิบัติตาม  กฎกติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิ  เสรีภาพ  ความยุติธรรม  ของสมาชิก

                        หลักคุณธรรม  หมายถึง  การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน  เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ  ขยัน  อดทน มีระเบียบวินัย  ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ

                        หลักความโปร่งใส  หมายถึง  การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ  โดย  ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส

                        หลักความมีส่วนร่วม  หมายถึง  การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้  และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ

                        หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความ       รับผิดชอบต่อสังคม  การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง  และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา  ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและเสียจากการกระทำของตน

                        หลักความคุ้มค่า  หมายถึง  การบร

หมายเลขบันทึก: 424201เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท