การวิเคราะห์นโยบายด้านการศึกษา


การบริหารการศึกษา

วิเคราะห์นโยบายการศึกษารัฐบาล  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

๑. ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ  โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ   และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา  ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา  พัฒนาครู  พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร  รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์  ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน  พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์  ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต  และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต  เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่  ตลอดถึงการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำ ความรู้อย่างแท้จริง

การดำเนินการ

ศธ. กำหนดกรอบในการปฏิรูปไว้ ๙ กรอบ ได้แก่

1.               การพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ผู้เรียน,

2.               การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์,

3.               การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วม,

4.               การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา,

5.               การผลิตและพัฒนากำลังคน,

6.               การเงินเพื่อการศึกษา,

7.               เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา,

8.               กฎหมายเพื่อการศึกษา,

9.               การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

การวิเคราะห์  

จุดเด่น     เป็นนโยบายที่มีความชัดเจนด้านโครงสร้างการบริหารงาน   มีกฎหมายรองรับ ผู้บริหารใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง  มีการระดมทุน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่นกองทุนครู   มีการปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย O-net A- net   gat-pat   เน้นผลิตสื่อและกระบวนการพัฒนาความที่คิดที่หลากหลาย   มีการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา  เน้นคุณธรรมนำความรู้  โดยวางกรอบนโยบาย กลยุทธ์ด้านการพัฒนาคุณธรรมอย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้

จุดด้อย    เป็นนโยบายที่เน้นปฏิรูปโครงสร้างมากเกินไป  แต่ไม่เน้นปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน  แนวทางของการปฏิรูปการศึกษาที่ถูกต้อง คือการพัฒนาจากฐาน ไม่ใช่พัฒนาจากยอด อย่างที่ทำกันมา ส่งผลให้ผลการศึกษาเสื่อมลง   การพัฒนาจากฐานคือพัฒนาที่โรงเรียน  ครู ที่จัดการเรียนรู้ได้ผลดี  โดยส่งเสริมให้ขยายเครือข่ายวิธีจัดการศึกษาที่มีคุณภาพออกไป  การปฏิรูปการศึกษาไม่ควรเน้นที่ปริมาณของผู้ที่สำเร็จการศึกษา  แต่ควรเน้นที่คุณภาพให้มากที่สุด  เด็กคนไหนที่มีความตั้งใจใฝ่เรียนรัฐต้องส่งเสริมให้เรียนจนจบการศึกษาชั้น สูงสุดตามที่อยากเรียน  ควรยกเลิก  พรบ.การศึกษาภาคบังคับ  เพราะการบังคับให้เด็กที่ไม่อยากเรียนมาเรียนหนังสือทำให้เป็นการฝืนใจ  และไม่มีความตั้งใจและอยากที่จะเรียนอยู่แล้ว  ต้องเข้ามาเรียน  และสร้างปัญหาให้เด็กที่มีความตั้งใจในการเรียน 

๒. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ  โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา  เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

การดำเนินการ

1.             การวางนโยบาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของเอกชน

2.             การเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเอกชนสามารถผลิตมหาบัณฑิตได้  

3.             สนับสนุนด้านงบประมาณ และวางแนวทางในการดำเนินงานอย่างชัดเจน

การวิเคราะห์  

จุดเด่น   ภาคเอกชนเป็นภาคที่มีความสำคัญมากในการรองรับผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการ ศึกษาไปสู่การสร้างงาน  สร้างอาชีพ  โดยอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนในการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและในอนาคต จะเห็นได้ว่าโรงเรียนเอกชนเกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทั้งระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างกว้างขวาง สามารถเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพคน มีคุณภาพขึ้น

จุดด้อย  คุณภาพของบัณฑิตอาจจะไม่เทียบเท่า มหาวิทยาลัยของรัฐ  เช่น มีนักวิชาการบางคน ให้คำกล่าวไว้ว่า  มหาวิทยาลัยเอกชน จ่ายครบ จบแน่ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพของบัณฑิตมีคุณภาพไม่เทียบเท่าบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และอาจจะไม่ได้รับการยอมรับในบางสาขาวิชา

๓. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา   เพื่อ ให้ได้ครูดี  ครูเก่ง  มีคุณธรรม  มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น  ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน  มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้  และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู  ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากร ให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

การดำเนินการ

- โครงการคืนครูให้กับนักเรียน จัดทำขึ้นเพื่อจัดระบบให้ครูมีจำนวนเพียงพอต่อการเรียนการสอน โดยเปิดรับสมัครผู้จบปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา เพื่อคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มีผู้ผ่านการคัดเลือก ๑๔,๕๓๒ คน ซึ่งจะได้รับการอบรม ๒๐ วัน เพื่อไปทำงานในสถานศึกษา และฝึกงาน ๓ เดือน ก่อนบรรจุให้เป็นลูกจ้าง โครงการนี้จะทำให้ครูผู้สอน มีเวลาสอนอย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบงานธุรการ

- พัฒนาหลักสูตรการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับครูก่อนประจำการ  ได้ยกร่างหลักสูตรและอยู่ระหว่างการทดลองใช้หลักสูตร

- พัฒนาหลักสูตรมาตรฐานและสื่อสำหรับการอบรมครู โดยจัดทำสื่อทางไกล เรื่อง การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ และจัดทำวีดิทัศน์อบรมครูทางไกล เผยแพร่เทปโทรทัศน์ทางสถานี ETV และสถานีวังไกลกังวล ๒ รายการ คือ รายการเรียนรู้วิทย์ ๘ ชั่วโมง และรายการอบรมครู หลักสูตร ๓๖ ชั่วโมง

- โทรทัศน์ครู

- การพัฒนาครูทั้งระบบ การเรียนทางไกลระบบอีเรินนิ่ง  จากเว็บไซต์  UTQ

การวิเคราะห์  

จุดเด่น  ครูมีเวลาสอนนักเรียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีพนักงานธุรการเข้ามาช่วยในด้านงานพิเศษ  การพัฒนาบุคลากรให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นเรื่องที่ดีและก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในหน่วยงานและเรื่องการนำมาใช้ใน กิจกรรมการเรียนการสอน  โดยต้องมีการอบรมโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้ในโรงเรียนและผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม  มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เช่นโครงการ ชพค. ในโครงการต่างๆอันสุดท้ายโครงการ 5 ให้กู้ 1,200,000 บาท  ที่เป็นการรวมหนี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายจากหนี้รายส่วน ช่วยให้มีเงินเดือนเหลือใช้มากยิ่งขึ้น ไม่เดือดร้อนต่อการที่มีเงินเดือน แต่ไม่พอกิน ต้องนำมาหักใช้หนี้สินหมด

จุดด้อย    การพัฒนาครูในทุกสาขาที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน  เช่น  เกษตร ศิลปะ คหกรรม  ดนตรี  ยังมีน้อย ซึ่งที่ผ่านมาในรอบหนึ่งปีแทบจะไม่มีการอบรมพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสาระที่กล่าวมา ส่วนมากจะมีเฉพาะ  ภาษาไทย  คณิต  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  การลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน (ครูธุรการ)  ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกลายเป็นว่า  “รับใครก็ได้”  ที่ไม่เกี่ยวข้องการปฏิบัติงานในสายงาน (ทำไมไม่รับให้ตรงสาขาวิชาไปเลย)  ยกตัวอย่างที่โรงเรียน  ก  ได้รับครูธุรการมาหนึ่งคนวิชาเอกอุตสาหกรรม (เกี่ยวกับธุรการตรงไหน)   แต่ในขณะเดียวกันครูคนนี้ต้องทำงาน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียน  ข  วันจันทร์ อังคาร พุธ  ทำงานที่โรงเรียน  ก  วันพฤหัสบดีและวันศุกร์  ทำงานที่โรงเรียน  ข  สุดท้ายครูที่อยู่ในโรงเรียนก็เป็นผู้ที่ทำงานธุรการเหมือนเดิมการส่งเสริมให้ ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้นโดยหลักการเป็นเรื่องที่ดี  แต่ในกระบวนการไม่มีความโปร่งใส  (บางคนจ้างทำผลงาน)  และการทำผลงานเพื่อเสนอขอวิทยฐานะเน้นที่ตัวเอกสารมากเกินไปซึ่งแทนที่จะ เน้นที่ตัวนักเรียน  ตัวอย่างเช่น  โรงเรียน  ค  เป็นมีครู 12  คน  มีครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  6  คน  (ซึ่งถือว่ามาก)  มองตามบริบทพื้นฐานแล้วน่าจะดี  แต่กลับไม่ผ่านการประเมินของ  สมศ.

๔. จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี  ๑๕  ปี   ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย  พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็น ธรรม  ในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส  ทั้งผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก  ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา  และชนต่างวัฒนธรรม  รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

การดำเนินการ 

กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณโครงการเรียนฟรี  ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เป็นจำนวน ๑๘,๒๕๘ ล้านบาท โดยกำหนดรายการการจัดสรรตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ไว้ ๕ หมวด ได้แก่ ๑. หมวดค่าเล่าเรียน จัดสรรให้ผู้เรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว

๒. หมวดหนังสือเรียน จัดสรรให้สถานศึกษาบริหารจัดการเอง

๓. หมวดอุปกรณ์การเรียนการสอน จัดสรรให้สถานศึกษา แล้วส่งต่อให้ผู้ปกครองจัดซื้อเอง

๔. หมวดเครื่องแบบชุดนักเรียน จัดสรรให้สถานศึกษา แล้วส่งต่อให้ผู้ปกครองจัดซื้อเอง

๕. หมวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดสรรให้สถานศึกษาบริหารจัดการเอง

โดยให้ต้นสังกัดของสถานศึกษาแต่ละแห่งจัดสรรงบประมาณไปให้สถานศึกษาโดยตรง และให้สถานศึกษาจัดซื้อหนังสือเรียน และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักเรียน ส่วนเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ได้มอบเป็นเงินสดให้นักเรียนและผู้ปกครอง  เป็นผู้ไปดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเองแล้ว

 

รมว.ศธ. ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ๒ เรื่อง คือ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการ   ทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ และเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยกำหนดประเภทของคนพิการเป็น ๙ ประเภท ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น, การได้ยิน, ทางสติปัญญา, ทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ, ทางการเรียนรู้, ทางการพูดและภาษา, ทางพฤติกรรมหรืออารมณ์, ออทิสติกและพิการซ้อน ซึ่ง ศธ. ได้จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยสถานศึกษาจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับผู้เรียนแต่ละคน โดยมีกรรมการไม่น้อยกว่า ๓ คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา, บิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลคนพิการ, และครูประจำชั้นหรือครูแนะแนวหรือครูการศึกษาพิเศษหรือครู   ที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อจัดทำแผนไปสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งจัดทำ รายงานผล ปีละ ๒ ครั้ง

การวิเคราะห์   

จุดเด่น   เป็นแนวคิดรัฐบาลในการผลักดันให้เด็กเรียนฟรีเป็นระยะเวลา  ๑๕  ปี  ครูส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะจะเกิดผลดีกับเยาวชน  และผู้ปกครองเองก็สามารถเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพให้กับบุตรหลาน โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย  เพราะว่ารัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา  ส่วนใหญ่ประสบปัญหาความยากจน หากมีนโยบายเรียนฟรีจะทำให้ผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพให้ กับบุตรหลานได้   นอกจากนี้ หากมีนโยบายเรียนฟรีจะทำให้โรงเรียนต้องปรับตัวเพื่อแข่งขันกับโรงเรียนอื่น ในละแวกใกล้เคียง หรือว่าในตำบลเดียวกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ปกครอง และถือว่าเป็นการยกระดับโรงเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น

การที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณให้กระทรวงการศึกษาธิการ นับหมื่นล้านบาท และสานต่อนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี โดยมีงบประมาณอุดหนุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการศึกษานั้น  นับว่าเป็นโอกาสดีของเด็กทั่วประเทศที่จะได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับ พื้นฐาน  เพื่อต่อยอดสู่ระดับที่สูงขึ้น  แต่นอกเหนือสิ่งอื่นใด รัฐบาลควรเร่งดำเนินการพัฒนาบุคลากร  หลักสูตรการสอนและสื่อการเรียนการสอนควบคู่  เพื่อให้ผลลัพธ์ทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็วด้วย

จุดด้อย    แนวคิดรัฐบาลเป็นสิ่งที่ดีมากที่ช่วยเหลือสำหรับผู้ด้อยโอกาส แต่ในความแตกต่างของแต่ละบุคคล และแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดจุดอ่อน คือ การไม่เห็นคุณค่า และรู้จักคุณค่าของ หารแจกฟรี เช่น ไม่รักษาหนังสือเรียน  ท้ายปี ขาดรุ่งริ่ง  ใช้การในปีต่อไปไม่ได้  อุปกรณ์แจกไปก็ทำหาย ทิ้งขว้าง บางครั้งของฟรี ใครๆ ก็ชอบ  แต่จะขาดความทรงคุณค่าไป  ทำให้นิสัยคนไทยเสีย รู้จักแต่รับ ไม่รู้จักการให้ และการห่วงแหนสิ่งที่ตนรัก

๕. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ  โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ  ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนด ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน  ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้  นวัตกรรม ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

การวิเคราะห์  

จุดเด่น  เป็นการรองรับ ผู้ที่สำเร็จอาชีวศึกษา ว่าจบมาแล้วมีเงินเดือนที่สูงขึ้น และมีการส่งเสริมนวัตกรรมใหม่  มีการสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยและการพัฒนา  และการสร้างองค์ความรู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าในงานด้านต่างๆ

จุดด้อย  ควรมีการกำหนดแผนกลยุทธ์ในระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาให้มีความสอด คล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  กำหนดค่าตอบแทนให้มีความสอดคล้องกับความรู้ความสามารถและความก้าวหน้าในงาน ที่ปฏิบัติ  รัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้การศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของท้องถิ่นมีการวิจัยและพัฒนา  ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ ของชุมชนและท้องถิ่น 

 

 

 

๖. ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา   ให้ มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้  รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น  เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่ม ขึ้น

การดำเนินการ

- รัฐบาลได้เพิ่มวงเงินอีก ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย อาชีวะ จนถึงอุดมศึกษาทุกชั้นปี สามารถกู้ได้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๒  เป็นจำนวน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท จากเดิมที่ปล่อยกู้เพียง ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑ รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่อยู่ชั้นปีที่ ๒-๔ มีสิทธิ์กู้ได้ด้วย ทั้งนี้เด็กที่ยื่นกู้ สามารถขอรับเงินได้ภายใน ๙๐ วัน รวมทั้งหากใครกู้เรียนในสายอาชีพ โดยเฉพาะสาขาวิชาวิชาชีพที่ขาดแคลนกว่า ๔๐๐ สาขา ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

- คณะรัฐมนตรีมีมติให้แก้ไข พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อให้ผู้มีรายได้ครอบครัวเกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท สามารถกู้ กยศ. ได้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเลือกเรียนสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น

การวิเคราะห์  

จุดเด่น   รัฐต้องวางแผนการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  (กยศ.)  ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการโดยขยายกองทุนและวงเงิน กู้  เพื่อให้ผู้ที่มีความตั้งใจในการศึกษาหาความรู้ทั้งในระดับอาชีวศึกษาและใน ระดับมหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการหนี้เสีย  การประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ที่ผูกพันกับ กยศ.  โดยใช้หลักคุณธรรมและหลักนิติธรรม

จุดด้อย   ประชาชนที่กู้เงินยืมเรียน จะได้รับการปลูกฝั่งให้รู้จักการเป็นหนี้ สิ่งที่ได้มาต้องเริ่มต้นด้วยการเป็นหนี้  ซึ่งขัดต่อวิถีเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีกินมีใช้ ตามฐานะ  รู้จักเก็บออม 

 

 

 

๗. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

การดำเนินการ

ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ โดยดำเนินการ ดังนี้

- พัฒนาสื่อดิจิตอล เพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดยร่างและทดลองใช้ Learning Object สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, จัดทำ Mini Learning Object เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ, จัดทำร่าง e-book วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต

- พัฒนาและส่งเสริมการบูรณาการ ICT ไปใช้ในการจัด การเรียนรู้ ได้ลงนาม MOU กับโรงเรียนนำร่องในโครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสถิติ โดยใช้โปรแกรม Fathom & Tinker Plots

- การพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยนำข้อมูลลง Homepage 1 เรื่อง คือ แรงดันอากาศ และสื่อ PowerPoint 1 ชิ้น เรื่อง เกมบิงโกตารางธาตุ

การวิเคราะห์  

จุดเด่น   เป็นการส่งเสริมให้เด็ก  เยาวชน และประชาชน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์  โดยรัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ติดตั้งคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (หลายโรงเรียนกำลังดำเนินการ  ตามงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจ SP2.)  เพื่อเปิดโลกกว้างในการศึกษาหาความรู้  ซึ่งสอดคล้องกับคำว่าการศึกษาตลอดชีวิต

จุดด้อย  อย่างไรก็ตามการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต  ต้องมีการควบคุมดูแลการใช้สำหรับนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพราะอาจตกเป็นเหยื่อ ในการถูกล่อลวงของมิจฉาชีพ  การติดเกม   หรือการหมกมุ่นกับการใช้เวลาในการท่องอินเทอร์เน็ตมากเกินไป

 

 

๘. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน  โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานบูรณาการทุกมิติ  และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นหลัก  ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และวิจัยพัฒนาในภูมิภาค  รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

การวิเคราะห์   ในการจัดสรรงบประมาณในด้านการศึกษาควรมีการมองในหลายๆด้าน  หลายๆมิติ  โดยยึดเพียงแค่เกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษาแต่ไม่ใช่การยึดผลการประเมิน  รัฐควรจัดสรรงบประมาณที่มีความจำเป็นในการจัดการศึกษาในปัจจัยพื้นฐานของ โรงเรียนให้เหมือนกันทั่วประเทศ  ยกตัวอย่างเช่น  โรงเรียน  ก  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่  มีจำนวนนักเรียน  1,000  คน มีจำนวนครู  35  คน  งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีจำนวนมาก  ขณะที่โรงเรียน  ข  เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  มีจำนวนนักเรียน  150  คน  มีจำนวนครู  8  คน  ถ้าจัดสรรงบประมาณตามคือคิดตามรายหัวนักเรียน  ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กจะได้รับงบประมาณในการบริหารจัดการน้อยมาก  (แม้ปัจจุบันรัฐจะอุดหนุนให้มากขึ้น)  เพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวมารัฐควรมีการลงทุนด้านการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน ขนาดเล็กให้มากขึ้น  เพื่อยกระดับมาตรฐานให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.)  และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) 

ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภูมิภาคโดยรัฐต้องจัดสรรงบประมาณและ ทุนเพื่อให้เกิดการวิจัยและนำผลมาพัฒนาชุมชน  ท้องถิ่น  และประเทศ  ต้องมีการประสานงานกันระหว่างบ้าน  วัด  และโรงเรียนในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

                จากการวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาล  โดยมีนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  เป็นนายกรัฐมนตรี  นโยบายที่สามารถนำไปใช้และมีความสอดคล้องกับโรงเรียนมากที่สุดคือ  นโยบายข้อ 4  คือ จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี  15  ปี  เพราะเป็นโอกาสดีของเด็กทั่วประเทศที่จะได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับ พื้นฐาน  เพื่อต่อยอดสู่ระดับที่สูงขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นจุดที่มุ่งเน้นในการปฏิรูปในรอบที่  2 (พ.ศ.2552-2561)  คือ  ในด้านโอกาส  ให้คนไทยทุกคน  ทุกกลุ่ม  ทุกประเภท  ได้เข้าถึงการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

 

นโยบายการพัฒนาการศึกษา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

(นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ)

.......................................................

. การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ขอให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญในเรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ขอให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญในเรื่อง คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา และร่วมขับเคลื่อนโดยพร้อมเพรียงกัน

. โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ขอ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเตรียมการให้เสร็จก่อนเปิดภาคเรียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้คุณภาพดีกว่าเดิม โดยยึดหลักภาคี ๔ ฝ่าย ได้แก่ ครู กรรมการนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชนที่ต้องเข้ามาดูแล

. จัดตั้ง “โรงเรียนดีประจำตำบล” จะนำร่องเขตพื้นที่การศึกษาละ ๑ โรงเรียน ๑ ตำบล โดยคัดโรงเรียนในกำกับของชุมชน ให้มีภาคีระหว่างชุมชน อบต. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากนั้นจัดทำ MOU ร่วม กันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงมหาดไทย และนายกเทศมนตรี โดยขอให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และยุทธศาสตร์ในการลดภาระความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

. พัฒนาการศึกษา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง เป็นเรื่องสำคัญจะทำงานร่วมกับฝ่ายความมั่นคงภาคใต้ โดยการพัฒนาปอเนาะให้เข้มแข็ง ปรับปรุงหลักสูตรการสอนศาสนาในโรงเรียน เพื่อจะใช้การศึกษาสร้างสันติสุขและสมานฉันท์

. สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก คือ กศน.ตำบล โดยร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยและ อบต. จะทำให้ครบทุกตำบลภายในปี ๒๕๕๓

. จัดทำโครงการ Teacher channel เพื่อการพัฒนาคุณภาพครู ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนโครงการ Tutor channel ให้ทำต่อไปและให้นำไปไว้ในเว็บไซต์ด้วย

. สร้างขวัญและกำลังใจครู จะดำเนินการผลักดันพระราชบัญญัติเงินวิทยฐานะ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ขวัญกำลังใจให้เพี่อนครู จะจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู

. สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อให้สนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูคณิตศาสตร์-วิทยา ศาสตร์ โดยส่งเสริมให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นหน่วยงานหลักที่จะบูรณาการองค์ความรู้   

ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการศึกษาของ รมว.ศธ. (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ทั้ง 8 ด้าน

 

      ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการร่วมกันสร้างคนไทยที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยมีการศึกษาเป็นธงนำในการพัฒนาคนในชาติ เพื่อ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต” รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยมีการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) มีเป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทางสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และมีกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา 4 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
      การก้าวสู่ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา โดยการนำของ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานภายใต้นโยบายการพัฒนาการศึกษา 8 ประการ ประกอบด้วย
      1) การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
      2) โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
      3) จัดตั้งโรงเรียนดีประจำตำบล
      4) พัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
      5) การสร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบล
      6) จัดทำโครงการ Student Channel และ Teacher TV
      7) สร้างขวัญและกำลังใจครู และ
      8) สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  

1. การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
      การก้าวสู่ทศวรรษที่สองแห่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความ สำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างแรงขับเคลื่อนต่อสังคมในวงกว้าง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้สามารถเดินไปสู่เป้าหมายได้ตรงกัน คือ มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข ในการดำเนินงานจึงต้องอาศัยการระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้ง หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการเร่งรัดดำเนินงานในหลายเรื่อง ดังนี้
      1. จัดกิจกรรมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
          1) จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา 2 คณะ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 5 คณะ เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน ทศวรรษที่สอง
          2) จัดสัมมนา และ Focus group เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำข้อเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
          3) จัดประชุมสมัชชาขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนทั่วไป หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกระดับทุกประเภท รวมทั้งการประกาศปฏิญญาสมัชชาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2553 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ  
      2. ดำเนินโครงการสำคัญเพื่อสนองตอบต่อการปฏิรูปการศึกษา อาทิ
          1) ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) และเสริมสร้างทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโดยใช้กระบวนการลูกเสือ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รู้บทบาทหน้าที่ตามวิถีประชาธิปไตย
          2) ขับเคลื่อนหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลโดยมีการปรับจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแต่ละระดับ ปรับโครงสร้างเวลาเรียนร

หมายเลขบันทึก: 424199เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กระเจี๊ยบ หวานเจี๊ยบ

น่าสนใจนะ...ผ่านมาแล้วเจอด้วยความบังเอิญ...แต่อ่านแล้วก็ได้แนวคิดเพิ่มขึั้นอีกขั้นหนึ่งต่อการศึกษาไทยในปัจจุบันนี้

อยากทราบว่า ตัวแบบอะไรหรอคะ ในการกำฟนดนโยบายด้านการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท