สัมมนาภาควิชาวิสัญญีวิทยา มข. 2554 : Team Building (1)


ความรู้สึกต้องอดทนต่อสิ่งไม่พึงประสงค์จากเรื่องที่ได้ยินจนเกิดอาการอึดอัด แยกเนื้อแยกตัว...หรือเข้าห้อง “Happy Room” ทำให้ปัญหาต่างๆเหล่านั้นถูกสะสม ไม่ได้รับการแก้ไข เกิดคำถามตามมาว่า “เราทำอะไรใน Happy Room?”

ความไพเราะของเพลงที่สามารถประสานเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจากวงดนตรีออกมาได้อย่างไพเราะเพราะพริ้งนั้น เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า เขาทำกันได้อย่างไร?  และนั่นคือตัวอย่างหนึ่งของการทำงานเป็นทีมที่มีความสอดคล้องและลงตัว ความสำเร็จของงานหลายงานที่ไม่สามารถทำสำเร็จได้โดยลำพัง

การจัดให้มี “การสัมมนาภาควิชาวิสัญญีวิทยา ครั้งที่12” ณ โรงแรมพลอย พาเลซ อ.เมือง จ.มุกดาหาร วันที่ 29-30 มกราคม 2554 ภายใต้ Theme งานคือ Team Building” มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรวิสัญญีทราบพื้นฐานการทำงานเป็นทีมโดยการทดลองลงมือฝึกปฏิบัติร่วมกัน

เราได้รับเกียรติจาก อ.สุเมธ ประสมหงส์ ผู้นำกิจกรรมในครั้งนี้

โดยในวันแรกของการสัมมนา เมื่อเราเดินทางถึง โรงแรมพลอย พาเลซ อ.เมือง จ.มุกดาหาร อาจารย์นำพวกเราเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้เขียนขอนำเนื้อหาและบรรยากาศมาเล่าโดยสรุปดังนี้

กิจกรรมที่1 : เทคนิคการสอน  “I DO, WE DO, YOU DO”   

เมื่อเราต้องการจะสอนทีมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งแรกที่ควรทำคือการ ทำให้ดู (I DO) เป็นการบอกทุกๆคนให้เข้าใจถึงกระบวนการทำจนสำเร็จตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ถูกสอนพึงสังเกตและจดจำเพื่อนำกลับมาหัด/ทดลองทำโดยผู้สอนยังคงคอยติดตามดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด หรืออาจต้องกระทำซ้ำให้ดู (WE DO) เพื่อให้ผู้ถูกสอนได้ถูกฝึกทำจนเป็น จากนั้นผู้ถูกสอนจะต้องกระทำด้วยตนเอง(YOU DO) ตามที่ได้ฝึกฝน

ในประเด็นนี้ ผู้เขียนเองได้เคยอ่านพบว่า บางท่านอาจนำลงสู่การทำร่วมกันทั้งทีมของผู้ฟัง นั่นคือ YOU DO IT TOGETHER (Developed by Ellen Levy, © E.L.Achieve/2007) ซึ่งอาจารย์ไม่ได้นำมาเล่าให้พวกเราฟังมากนักเนื่องจากมีเวลาที่กระชั้นมาก

 

กิจกรรมที่2 : เทคนิคการฟัง “Listening”

เมื่อมีผู้สอนก็ต้องมีผู้ฟัง ในการทำงานเป็นทีมนั้นหากผู้สอนมีเทคนิคการสอนที่ดีแต่ผู้ฟังไม่มีเทคนิคการฟังที่ดี ก็อาจทำให้ผลลัพธ์ของงานที่ได้ไม่สมบูรณ์ตามต้องการ

สิ่งที่ต้องทำของผู้ฟังที่ดี คือ

-          ตั้งใจฟัง ฟังอย่างเปิดใจ

-          มีความเข้าใจว่า มนุษย์เราทุกคนมีความต่างกันโดยเฉพาะทางความคิดซึ่งถือเป็นเรื่องปกติการ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่พึงกระทำได้ ไม่มีถูกผิด

-          มนุษย์เราแต่ละคนมีปัจเจกแห่งตน บางคราวการแสดงความคิดเห็นนั้นๆของผู้อื่นอาจทำให้เรารู้สึกว่า “ไม่เข้าท่า" แต่เมื่อมีข้อตกลงร่วมกันแล้วควรให้เกียรติกันและทำตามข้อตกลงนั้นๆ

-          บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกอึดอัดขณะรับฟังความคิดเห็นนั้น ให้เราคิดทบทวนดูว่า ผู้พูดเขาคิดอะไรอยู่? เขาต้องการสื่อความหมายอะไร หรือมีเป้าหมายอะไร? ในคำพูด(ที่เราอึดอัด)นั้นๆ

ความรู้สึกต้องอดทนต่อสิ่งไม่พึงประสงค์จากเรื่องที่ได้ยินจนเกิดอาการอึดอัด แยกเนื้อแยกตัว...หรือเข้าห้อง “Happy Room” ทำให้ปัญหาต่างๆเหล่านั้นถูกสะสม ไม่ได้รับการแก้ไข  เกิดคำถามตามมาว่า “เราทำอะไรใน Happy Room?”  ...ลองย้อนคิดดู...

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

.....................................

หมายเลขบันทึก: 423983เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2011 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอ.JJ

เป็นครั้งแรกที่ติ๋วได้ลงเรียนรู้ด้วยตนเองกับทีมน้องๆค่ะ สนุกและได้เทคนิค ข้อคิดมากค่ะอาจารย์

ยังหวังอยู่ว่า กลับมาแล้วแต่ละคนคงคิดเปลี่ยนแปลงอะไรๆกันได้บ้างเพื่อผลสัมฤทธิ์ของทีม... ไม่มากก็น้อยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท