ความน่าสงสารของคนไข้ข้ออักเสบรูมาตอยด์(Rheumatoid Arthitis) ในชนบท


ความน่าสงสารของคนไข้(รูมาตอยด์อักเสบ) Rheumatoid Arthitis ในชนบท

โดยเภสัชกรแกะดำ

Rheumatoid Arthitis

คนไข้ตามบ้านนอกคอกนา   หลายคนที่ป่วยเป็นโรคนี้   หากมีอาการไม่รุนแรง ก็พอจะไปรับยาที่โรงพยาบาลหรือตามร้านค้ามากินบรรเทาอาการได้    แต่ในรายที่ เป็นรูมาตอยด์ขั้นรุนแรง      ยาเพรรดนิโซโลน(prednisolone)    และยาคลอโรควิน (chloroquine)มักไม่ได้ผล ทำให้ผู้ป่วยต้องเกิดภาวะพิการจนข้อผิดรูป  หลายคนเดินไม่ได้   หรือมือพิการบิดเบี้ยว  จนทำงานไม่ได้มีมากมายเหลือเกินในชนบท        คนจนนอกจากจะไม่เข้าถึงการศึกษาและแหล่งเงินทุนแล้ว   ยังหมดโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดีอีกด้วยหรือนี่     แล้วที่ว่าวงจรโง่  จน  เจ็บ  มันคงไม่พอแล้ว คงต้องเพิ่มคำว่าด้อยโอกาสลงไป   ด้วยน่าสงสารคนไข้ตามบ้านนอกจริงๆครับ  คนไข้บางคนเป็นข้าราชการครู  เป็นถึงแม่พิมพ์ของชาติ  ต้องขาพิการ  เพราะโรครูมาตอยด์  เรื่องนี้ ไม่ควรเกิดขึ้น  หากระบบบริหารงานสาธารณสุขบ้านเราดีพอ ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยก็คือว่า  ยาที่จะใช้ในการรักษาผู้ป่วยรูมาตอยด์ขั้นปานกลางถึงรุนแรงนั้นจำเป็น  ต้องเป็น ยากลุ่มDMARDs   เท่านั้นซึ่งยากลุ่มนี้ได้แก่ยา Leflunomide   Cyclosporine  Gold  และ  Methotrexate

 

ในบ้านเราระบบยาในวงการเภสัชกรรมมัก มองข้ามปัญหาแบบนี้  ปัญหาของการที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่สมควรได้รับ ปัญหาแบบนี้เภสัชกรจะมองว่าไม่ใช่ ความคลาดเคลื่อนทางยา   ทางสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลหรือสภาเภสัชกรรมก็ไม่มาเล่นเรื่องแบบนี้  ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการจ่ายยาผิด  หรือยาที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่า  สำหรับที่อำเภออุบลรัตน์ผู้ป่วยรูมาตอยด์ต้องพิการเพราะไม่ได้ยากลุ่ม DMARDs อย่างเหมาะสมมีไม่ต่ำกว่า 50 คน  ผมเองก็หวังว่าสักวันเราจะมองเห็นปัญหานี้  มองข้ามปัญหายา  ไปเห็นความทุกข์ยากของผู้ป่วย ไม่รู้ผมจะมีอาสเห็นวันนั้นไหม ในส่วนข้อมูลด้านล่างเป็นข้อมูลของโรครูมตอยด์และการรักษาครับ

 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว จะก่อให้เกิดการทำลายข้ออย่างรุนแรง เกิดความพิการ และการเสียชีวิตตามมา 1 การ รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอย์ได้เปลี่ยนไปมากจากช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 ที่เน้นในการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เป็นหลัก และหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease modifying antirheumatic drugs: DMARDs) แต่ต่อมาพบว่าการรักษาดังกล่าวไม่สามารถทำให้โรคสงบได้ และผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงมีข้อถูกทำลาย และเกิดความพิการตามมา ในช่วงปี ค.ศ. 1990-2000 จึงได้มีการเปลี่ยนแนวทางในการรักษาเป็นการเริ่มใช้ยากลุ่ม DMARDs เร็วขึ้น ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพิจารณาใช้ยา DMARDs หลายขนานร่วมกัน และอาจพิจารณาใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำร่วมด้วย โดยหวังว่าการรักษาดังกล่าวอาจทำให้โรคเข้าสู่อยู่ในระยะสงบเพิ่มมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 423886เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2011 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

หากฉันมีเงิน และอำนาจ ฉันจะแก้ปัญหานี้อย่างไร คิดๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท