Road Map ของกระทรวงศึกษาธิการ


คุณภาพการศึกษาไทย

วันนี้มาช่วยคิดงานการนิเทศให้ สพฐ. อยู่ที่  กทม.

เห็น ROAD MAP ของ   ศธ.  (ดาวโหลดไปอ่านได้จาก

http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=148)

 แล้วเกิดคำถาม ดังนี้ 

1. Road map  คืออะไร

2. จุดเน้นคืออะไร  มีคำตอบให้แล้ว  (อ่านดู)

3. โรงเรียนจะใช้จุดเน้นเหล่านี้อย่างไร

4. สพฐ. กำลังหาทางยกระดับคุณภาพการศึกษา หรือ ยกระดับความสามารถของผู้เรียนในทุกมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร  จะเน้นจุดเน้นที่กำหนดเท่านั้นหรือ

5. โรงเรียน  จะเน้น  จุดเน้นที่กำหนดในส่วนที่โรงเรียนพบว่ายังหย่อน จะดีกว่าไหม

6. ถ้าแต่ละชั้นเน้นแต่แต่ละข้อจะถูกต้องไหม

7. จะใช้ จุดเน้น  เป็น rubric  จะดูดีกว่าไหม  

8. เด็ก ป 1 .ในปีการศึกษา 2554  อีก 6 ปีข้าหน้า จะเก่งกาจ  ในเรื่อง ทักษะการสังเกต ทักษะการจัดกลุ่มเท่านั้นหรือ  รอ อีก 6 ปี แล้วจะเก่งการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพราะโรงเรียนเน้น หรือ

 9. แล้ว ศธ.จะทำให้เด็กไทย เป็นหนึ่งในอาเซียนได้ เพราะจุดเน้นเหล่านี้หรือ (แนวคิดวิสัยทัศน์ สพฐ.พัฒนาระดับค่าเฉลี่ยของเด็กไทยให้เท่ากับค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติให้ได้ภายใน 10 ปี และหากเป็นระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เด็กไทยต้องมีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในลำดับต้น ๆ โดยไม่ควรเกินลำดับที่ 2 ของภูมิภาค)

 ก็พิจารณากันดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 423839เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2011 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะท่าน ศน. ขอบคุณที่นำสิ่งใหม่ๆมาแจ้งค่ะจะติดตามต่อไปนะคะ  นึกว่ามีแต่ในฝัน จะเกิดอีกใน สพฐ.คงจะชัดเจนนะคะ

สวัสดีครับ A. Rind

ความเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน (ในฝัน)  จะช่วยตอบสนองจุดเน้น

จุดเน้นได้หรือไม่ อย่างไร ให้ความคิดเห็นสักหน่อยได้ไหมครับ

ชัด

 

 

ขอยกจุดเน้นมาให้ดูในที่นี้  จะได้ดูง่ายๆนะครับ

จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนเพื่อการขับเคลื่อนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561) ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้

ทักษะ ความสามารถ 

ม.4- 6

แสวงหาความรู้ เพื่อแก้ปัญหาใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

มีทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิตทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ม.1- 3

แสวงหาความรู้ด้วยตนเองใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดขั้นสูงทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ป.4- 6

อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง  มีทักษะการคิดข้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ป.1- 3

อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิตทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 

 

สาระสำคัญของจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน

จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน คือ คุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะที่จะช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้

1. ด้านความสามารถ และทักษะ

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 - 3  เป็นช่วงชั้นที่จำเป็นต้องปูพื้นฐานความสามารถ และทักษะ

การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ตามช่วงวัย

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 - 6 พัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นจนสามารถอ่านคล่อง เขียนคล่อง

คิดเลขคล่อง มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1- 3  มุ่งพัฒนาต่อยอด พัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้

ด้วยตนเอง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร

อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 - 6 มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง พัฒนาด้านความสามารถในการแสวงหาความรู้

เพื่อการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เน้นเพิ่มเติมความสามารถด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้ ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร

อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

 

2. ด้านคุณลักษณะ

ด้านคุณลักษณะ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นมีความเป็นพลเมืองดี รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่ เรียนรู้ อยู่อย่างพอพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ

มีคุณลักษณะนิสัยที่ต้องเน้นเป็นการเฉพาะในแต่ละช่วงวัย และพัฒนาต่อเนื่องในทุกช่วงชั้น ดังนี้

ชั้น ป. 1 – 3  เน้นความใฝ่ดี ชั้น ป. 4 – 6 ใฝ่ เรียนรู้ ชั้น ม. 1 – 3  อยู่อย่างพอเพียง และ ชั้น ม. 4 – 6

มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และการทำงาน โดยสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน

และนอกห้องเรียน ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

ความหมายของจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน

 

เพื่อให้การนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนไปสู่การปฏิบัติ มีความชัดเจนตรงกัน จึงกำหนดความหมาย ไว้ดังนี้

1. ด้านความสามารถ และทักษะ

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 – 3

1. อ่านออก หมายถึง ความสามารถรับรู้และเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความสั้นๆ

เรื่องราวในสื่อต่างๆ หรือในหนังสือได้ตามระดับชั้นของผู้เรียน

2. เขียนได้ หมายถึง ความสามารถเขียนคา ประโยค ข้อความสั้นๆ เรื่องราวได้ถูกต้องเหมาะสม

ตามระดับชั้นของผู้เรียน

3. คิดเลขเป็น หมายถึง มีวิธีการคิดได้หลายรูปแบบ และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้

4. ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกถึงพฤติกรรมทักษะการคิด

ขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

กลุ่มที่ 1 ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน ทักษะการพูด

ทักษะการเขียน

กลุ่มที่ 2 ทักษะการคิดที่เป็นแกน เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจัดกลุ่ม ทักษะ

การรวบรวมข้อมูล ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการเปรียบเทียบ

5. ทักษะชีวิต หมายถึง การเน้นให้มีความสามารถในการรู้จักตนเอง มองตนเอง และผู้อื่น

ในแง่บวก และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้

6. ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย หมายถึง ความสามารถในการรับและส่งสาร

อันได้แก่ การพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้คำสุภาพ

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 – 6

1. อ่านคล่อง หมายถึง ความสามารถอ่านออกเสียงชัดเจน ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การอ่าน

ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน และสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้

2. เขียนคล่อง หมายถึง ความสามารถเขียนคำ  ประโยค ข้อความ เรื่องราว ถูกต้องตาม

หลักเกณฑ์ทางภาษาได้รวดเร็วในระยะเวลาที่เหมาะสมตามระดับชั้นของผู้เรียน

3. คิดเลขคล่อง หมายถึง ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้รวดเร็ว และถูกต้อง

4. ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกถึงพฤติกรรมทักษะการคิด

ขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

กลุ่มที่ 1 ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน ทักษะการพูด

ทักษะการเขียน 

กลุ่มที่ 2 ทักษะการคิดที่เป็นแกน เช่น ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการให้เหตุผล

ทักษะการแปลความ ทักษะการตีความ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการนำความรู้ไปใช้

5. ทักษะชีวิต หมายถึง การเน้นให้มีความสามารถในการปรับตัว รักและเห็นคุณค่าใน

ตนเอง ภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น

6. ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย หมายถึง ความสามารถในการรับและส่งสาร

อันได้แก่ การพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนและแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 3

  1. การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การใช้วิธีการ กระบวนการศึกษาค้นคว้าและนำความรู้

ที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านการศึกษาต่อ และการดำรงชีวิต

2. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการนำแนวคิด หลักการเทคนิคความรู้

วิธีการ กระบวนการทางเทคโนโลยีใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน

3. ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ทักษะการคิดซึ่งต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมายและทักษะการคิด

ที่เป็นแกนหลาย ๆ ทักษะในแต่ละขั้นตอน ทักษะการคิดขั้นสูงจะพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาทักษะการคิด

ขั้นพื้นฐานจนเกิดความชำนาญ ทักษะการคิดขั้นสูง ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ที่สำคัญ เช่น ทักษะการวิเคราะห์

ทักษะการประเมิน ทักษะการสรุปลงความเห็น ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะการสังเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

4. ทักษะชีวิต หมายถึง การเน้นให้มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิต มีจิตอาสา

ป้องกันและหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์คับขัน และทำงานร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย

5. การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย หมายถึง ความสามารถในการรับ และส่งสาร อันได้แก่

การพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน วิเคราะห์ วิจารณ์ ได้อย่างมีเหตุผล เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 46

1. แสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อการแก้ปัญหา หมายถึง การใช้วิธีการกระบวนการแสวงหา

ความรู้ และนำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทั้งในด้านการศึกษาต่อ และการดำรงชีวิต

2. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการนำแนวความคิดหลักการ

เทคนิค ความรู้ วิธีการ กระบวนการทางเทคโนโลยีใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ในการทำ งาน

3. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) หมายถึง ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรับสาร และส่งสารได้ตรงความหมาย คล่องแคล่ว ถูกต้อง ชัดเจน

4. ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ทักษะการคิดซึ่งต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมายและทักษะ

การคิดที่เป็นแกนหลาย ๆ ทักษะในแต่ละขั้นตอน ทักษะการคิดขั้นสูงจะพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาทักษะ

การคิดขั้นพื้นฐาน จนเกิดความชำนาญ ทักษะการคิดขั้นสูงประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ที่สำคัญ เช่น ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

5. ทักษะชีวิต หมายถึง เน้นการให้มีความสามารถในการปรับเป้าหมาย แผนและทิศทาง

การดำเนินชีวิตสู่ความสำเร็จ วางตัวและกำหนดท่าทีได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ประเมิน และสร้างข้อสรุปบทเรียนชีวิตของตนเอง

6. การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย หมายถึง ความสามารถในการรับ และส่งสาร อันได้แก่

การพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน แสดงความคิดใหม่จากเรื่องที่ฟัง ดู และอ่านที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

2. ด้านคุณลักษณะ

จุดเน้นด้านคุณลักษณะสาหรับผู้เรียนทุกระดับชั้น เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดไว้

ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ระดับ ป.1 – ม.6) ได้แก่

1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดี

ของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

2) ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง

ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งกาย วาจา ใจ

3) มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และ

ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม

4) ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน

แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

5) อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ

มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6) ความมุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและ

รับผิดชอบในการทำหน้าที่การงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

7) รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า

ร่วมอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

8) มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ

สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่หวังผลตอบแทน

 

 จุดเน้นด้านคุณลักษณะนิสัยสำหรับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย

 

ระดับชั้น ป. 1 - 3 ได้แก่ ใฝ่ดี หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความมีเหตุผล รู้จักแยกแยะ

ถูกและผิด รักความสันติ เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างทางความคิด

ระดับชั้น ป. 4 - 6 ได้แก่ ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงนิสัยรักการอ่าน

และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

ระดับชั้น ม.1 - .3 ได้แก่ อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิต

ด้วยความประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เน้นวัตถุนิยม

ระดับชั้น ม.4 - .6 ได้แก่ มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออก

ถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการศึกษาและการทำหน้าที่การงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จ

 

เบื่อ o-net คิดดูสิอยากเรียนในสิ่งที่เรียนคะแนนไม่ถึง มหาลัยก็บังคับคะแนนo-net อยากสอบใหม่ก็สอบไม่ได้เพราะo-netสอบได้เพียงครั้งเดียวก็เลยไม่มีโอกาสแม้แต่จะสอบใหม่ในปีต่อไปตัดโดกาสชัดชัด บอกให้สอบget-patได้หลายครั้งจะสอบไปทำไมในเมื่อคะแนนo-netไม่ผ่านตามมาตรฐานที่มหาลัยที่เด็กอยากเรียนกำหนดอยู่แล้ว

นโยบายให้เน้น จุดเน้น แล้วจะเน้นอย่างไร 

ลองหยิบมาสัก ช่วงช้น สัก  1 จุดเน้น

ม.1- 3

แสวงหาความรู้ด้วยตนเองใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดขั้นสูงทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

การเน้น  คงไม่ใช่การบอกให้ทำอย่างเดียว  คงต้องใช้หลายวิธีการ

การจัดการเรียนรู้ให้ดี  

Albert einstein
US (German-born) physicist (1879 - 1955)   
พูดไว้ว่า
 
“I never teach my pupils. I only attempt to provide the conditions in which they can learn.

สามารถนำมาเป็นหลักคิดในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างหนึ่ง

 

การให้นักเรียน ม.1 -3 แสวงหาความรู้ด้วยตนเองใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดขั้นสูงทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย

ควรจะทำหลายๆ อย่าง

- ผมเป็นครูสอน ICT  (จริงๆควรจะเรียกว่า ครูที่จัดการเรียนรู้ ICT คำว่าสอน บางทีทำให้รู้สึกว่าบอกความรู้  แต่คำว่าสอนนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่า หมายถึงการจัดการเรียนรู้)  ผมก็สอนของผมไป  เพราะผมเน้นของผมอยู่แล้ว

-ผมเป็นครูสอน คหกรรม ชั้น ม.1-3 ผมก็ต้องเรียนรู้การ

การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะ Information Communication Technology ผมต้องเรียนรู้ เท่าที่คิดได้ตอนนี้ ผมจะเรียง      เว็บไซต์ เกี่ยวกับ อาหารคาว หวาน ไทย อาหารต่างประเทศ 

สิ่งประดิษฐ์  ฯลฯ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สอน  ผมดำเนินการใดๆ

ที่จะบูรณาการ ICT กับการสอนของผม

   

นี่เฉพาะในส่วนที่เป็นเทคโนโลยี เท่านั้น  ในส่วน ที่เป็นทักษะการคิดขั้นสูงทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย   ค่อยว่ากันอีกนะครับ 

สวัสดีค่ะ ท่าน ศน.

ดีมาเลยค่ะ เพราะได้อ่านหนังสือจาก สพป.ชม.3 วันนี้เอง เรื่องจุดเน้น กำลังหารายละเอียดอยู่พอดีค่ะ

วันที่สัมมนา ของ นศ.ม.ราม 24 เม.ย.ฟัง ศน.ได้ไม่เต็มที่เนื่องจากเวลาจำกัด

จะติดตามต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท