รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมส่งมอบจรวดหลายลำกล้องDTI-1ให้กับกองทัพบก


กองพลทหารปืนใหญ่

 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 ให้แก่กองทัพบก เพื่อให้กองพลทหารปืนใหญ่ทดลองใช้ปฏิบัติการด้านทหาร    เมื่อวันที่ 24  มกราคม  2554ที่กองพลทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1โดยพลอากาศเอก ธเรศ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานส่งมอบและพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานรับมอบ พร้อมด้วยพลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม    พลโท ดร.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พลตรี สุกิจ เนื่องจำนง ผู้บัญชาการกองทหารปืนใหญ่ และพลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ ผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กองทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี ครั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมิตรประเทศมาตั้งแต่ ปลายปี 2552 ขณะนี้ต้นแบบจรวดพร้อมส่งมอบให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้งานทั้งนี้ต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1เป็นโครงการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและกองทัพบกได้ลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตามแผนการพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม โดยกองพลทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยงานที่นำจรวดหลายลำกล้อง DTI-1นี้ไปทดลองใช้งาน  โครงการวิจัยพัฒนาการวิจัยจรวดหลายลำกล้อง DTI-1นับเป็นก้าวแรกของการผลักดันการเทคโนโลยีป้องกันประเทศของคนไทย นำไปสู่การพัฒนาอุสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถผลิตยุทโธปกรณ์ได้ด้วยตัวเองในอนาคต เมื่อสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่การส่งออกในอนาคตได้แล้ว นอกจากจะทำให้เราสามารถพึ่งพาตนเองด้านความมั่นคง ยังจะสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่ประเทศทั้งด้านงบประมาณและรายได้แก่ประเทศ 

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  กล่าวว่า  การส่งมอบต้นแบบจรวดลำกล้องวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ด้วยคนไทยที่มาจากนักวิจัยเหล่าทัพสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านยุทโธปกรณ์จรวด สามารถพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เทคโนโลยีที่สะสม เป็นระบบจรวดนำวิถี และตามความต้องการเหล่าทัพหน่วยต่างๆ นอกจากนั้น สทป. จะดำเนินโครงการวิจัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางทหาร โครงการเทคโนโลยียานไร้คนขับ และโครงการย่อย สทป. ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่น โครงการวิจัยพัฒนาระบบอำนวยการรบ และโครงการวิจัยพัฒนาปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพรถสะเทินน้ำสะเทินบก เป้าหมายคือมุ่งหวังให้ภารกิจ สทป. สามารถช่วยลดการนำเข้ายุทโธปกรณ์ โดยกองทัพหันมาใช้ยุทโธปกรณ์ฝีมือคนไทยมากขึ้น”

               

                               

หมายเลขบันทึก: 422258เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2011 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พััักรารพหีีีีีีีีะัรพ่รุุัรำรุ่้้ปเดิหีหีีีหีีไพแ้่ะพาะพาร

พััักรารพหีีีีีีีีะัรพ่รุุัรำรุ่้้ปเดิหีหีีีหีีไพแ้่ะพาะพาร

ความเห็น

Ico48
ีด่ด่แปดดา่ด [IP: 58.8.251.152]
10 กุมภาพันธ์ 2554 15:44
#2359134
สุขเกษม เพ็ญสิริวัฒนกุล

ผมจะไปทํางานที่นายบอกก็อยากจัดการเรื่องไรบางอยางก่อนแล้วผมจะไปข้ายกองทับบกแล้วผมจะไปกับนายเลิย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท