แรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา


แรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา  กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสาน
Sugar Cane Labors and Alcohol Drinking,  A Case Study of  A Village in Northeast.
  

 

                ภาคอีสานมีพื้นที่และแรงงานอ้อยมากที่สุดในประเทศ ด้วยสภาพการทำงานที่หนัก และเหนื่อยล้า การดื่มสุราจึงเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน
 

 

                วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามิติทางสุขภาพและสังคม และผลกระทบทางสุขภาพและสังคมจากการดื่มสุราของแรงงานอ้อย 
 

 

                วิธีการศึกษา  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ แรงงานอ้อยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอ้อย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก  การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ตั้งแต่ เดือน มกราคม – ธันวาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิควิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
 

 

                ผลการศึกษา  พบว่า มิติทางสุขภาพและสังคมของแรงงานอ้อยกับการดื่มสุราที่มีผลต่อการดื่มสุรา  ได้แก่  เพื่อนแรงงานชักชวน  สุราแก้เมื่อยและเป็นยา   วัยและเพศกับสุรา  เกรงใจภรรยา จึงไม่กล้าดื่ม  และลักษณะงานเอื้อให้ดื่ม  โดยแรงงานที่มีค่าใช้จ่ายในการดื่มสุรามากที่สุด คือ แรงงานพ่นยากำจัดวัชพืช คิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ต่อวัน  แรงงานหญิงดื่มสุรามากขึ้น เพราะมีรายได้จากการทำงาน เช่นเดียวกับแรงงานเด็ก อายุ 13 ปีขึ้นไป ในช่วงปิดเทอม ดื่มสุรามากขึ้น เพราะสามารถหาเงินได้เอง  นอกจากนั้น แรงงานขึ้นอ้อย  เอื้อต่อการดื่มสุราเพราะเถ้าแก่อ้อยให้สุราดื่ม เพื่อกระตุ้นให้ทำงาน ผลกระทบจากการดื่มสุรา ได้แก่ สุราก่อหนี้ให้ครอบครัว  ปัญหาสุขภาพ  ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  เชื่อมโยงสู่ความเสี่ยงทางเพศ   และการทะเลาะวิวาท   ทั้งนี้  แรงงานพ่นยากำจัดวัชพืช  เป็นแรงงานที่ทำงานหนัก และเสี่ยงต่อสุขภาพ มีการดื่มสุราด้วยเชื่อว่า ดื่มก่อนทำงาน เพื่อกันยาพ่น ระหว่างทำงาน ดื่มสุราเพื่อให้เกิด “อาการสึม” สามารถยกน้ำหนักของถังพ่นได้ง่าย และดื่มหลังจากการทำงาน เพราะแก้ยาพ่น นอกจากนั้น พบว่า ชุมชนยังไม่มีบทบาทและกลไกในการจัดการสุขภาพของแรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา
 

 

                สรุปผลและข้อเสนอแนะ  ชุมชนควรมีการเฝ้าระวัง  รวบรวมข้อมูล และการพัฒนากติกา นโยบายในการดื่มสุราของแรงงานอ้อย ด้านเจ้าของงาน  “เถ้าแก่อ้อย”  ควรมีมาตรการในการควบคุมการดื่มสุรา และการป้องกันตนเองของแรงงาน  ด้านหน่วยงานสาธารณสุข ควรนำข้อมูลที่ได้มาจัดกิจกรรมปฏิบัติการ  เพื่อจัดการสุขภาพของแรงงานอ้อยกับการดื่มสุรา

 
 
หมายเหตุ
 
- เป็นผลงานที่ผมยากลำบากมากที่สุด แต่มีผลออกมามีความภูมิใจมากที่สุดเช่นเดียวกัน ผมได้รับคำแนะนำด้านวิชาการ และการดำเนินชีวิตจากครูผู้มีพระคุณหลายท่าน (จากหน้าประวัติของผม)
 

 

- เป็นผลงานที่ผมประทับใจมาก และบริบทพื้นที่และความรู้ที่สั่งสมในการทำงาน ทำให้งานชิ้นนี้ เป็นรากฐานในการศึกษาชิ้นต่อ ๆ ไป ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากผมแล้ว  ผมยกความดีให้กับประชากรกลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่จะศึกษาต่อยอดต่อไป
 

 

- เป็นผลงานที่ทำให้ผมได้รับรางวัลมากมาย อาทิ  ชนะเลิศผลงานวิชาการระดับจังหวัด / ระดับเขต ปี 2552   การนำเสนอผลงานสุราแห่งชาติ ปี 2552  และรางวัล R2R ดีเด่น  ปี 2552 ของ  สวรส. และได้นำเสนอ ณ ที่ต่าง ๆ มากมาย แต่นั้นไม่สำคัญเท่าการที่ผมมีแรงใจในการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ให้กับผู้อื่น ๆ (ใช่ไหมครับ)
 
---------
หมายเลขบันทึก: 422251เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2011 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่เมืองกาญจน์ใช้แรงงานอ้อยมานานมาก แม้บรรพบุรุษของผมเองก็นำเข้าชาวอีสานทุกปี ปีหลังๆ ชักลำบากแรงงานหายาก กำลังจะหันไปหาเครื่องจักรมากขึ้น น่าจะมีการศึกษาแนวโน้มแรงงานในอนาคตนะครับ

  • ยอดมากเลยน้องพี่...
  • ขอชื่นอีกสักสองเรื่องนะในปีนี้....
  • วันที่ 28 มกราคม 2553  จะไปร่วมมั๊ยที่ป่าติ้ว ดร.กะปุ๋มมานำพา CQI สู่ R2R  ทั้งวัน พักที่บ้านพี่ก็ได้  
  • สนใจติดต่อ  [email protected]  นะจ๊ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท