ธรรมะจัดสรร ธรรมะในฟิล์ม


ธรรมะจัดสรร ธรรมะในฟิล์ม

เมื่อวานขณะที่เดินไปดูคนไข้ที่หอผู้ป่วย 9A  กับอาจารย์หมอศรีเวียง อาจารย์หมอพิศาล อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคอายุรกรรม  ได้มากบอกบุญเราว่ามี case จะ consult  palliative care team  อยู่ที่หอผู้ป่วย  สว. ชั้น 15 เป็นมะเร็งตับอ่อน advance stage  เป็นชาวต่างชาติ ภรรยาเป็นคนไทย คนไข้ตอนนี้ทราบ เรื่องการพยากรณ์โรคของตัวเอง และปฏิเสธที่จะรับการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด แต่ขอเพียงช่วยเขาเรื่องความปวด มาโรงพยาบาลครั้งนี้ก็เพื่อควบคุมความปวด  อยากให้ทีมเข้ามาช่วยดู

       หลังรับ case จากอาจารย์ ฉันจึงไปเยี่ยมคนไข้เพื่อประเมินในเบื้องต้น  พบว่าคนไข้เป็นชาวเนเธอแลนค์  อายุ 60 ปี จากการพูดคุยทำให้ทราบว่าเขารักเมืองไทยมากและจะขอตายที่ประเทศไทย สิ่งที่เขากังวลที่สุดคือเรื่องปวด อาการปวดท้องและร้าวไปที่หลัง ซึ่งตอนนี้ได้รับการดูแลจากทีม pain service  ฉันใช้เวลาชั่วโมงกว่าๆในการพูดคุยเพื่อประเมินคนไข้และครอบครัว  ฉันพยายามที่จะสื่อสารกับคนไข้ และยอมรับว่าคุณโจ(นามสมมุติ) เขาพูดภาษาอังกฤษที่สื่อสารค่อนข้างง่าย แฮ่ๆ ฉันเองก็พอไหว

 

            หลังจากที่คุยแล้วพบว่าความต้องการของเขาตอนนี้คือ ขอให้จัดการเรื่องปวดให้เขา เรื่องการเตรียมตัวในระยะท้ายของชีวิตเขาพร้อมแล้ว ญาติพี่น้องและลูกสาวคนเดียวที่เกิดกับภรรยาคนก่อน ที่อยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์  ทราบเรื่องและมาเยี่ยมแล้ว  case นี้สอนให้ฉันได้เห็นและเรียนรู้การเตรียมตัวตายในบริบทของต่างประเทศแบบตัวเป็นๆ ประเทศเขาถ้ารู้ว่าเป็นมะเร็ง คนที่จะรู้คนแรกคือคนไข้ ต่อมาจึงเป็นญาติ   ต่อมาช่วงเย็นอาจารย์หมอศรีเวียงไปเยี่ยมคนไข้และประเมินเพิ่มเติม อาจารย์เล่าให้ฉันฟังว่าอาจารย์ประเมินได้ว่าคนไข้เขาต้องการทำ living will(หนังสือแสดงเจตนาในระยะสุดท้าย)ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยเราก็มีกฎหมายออกมาแล้ว   และที่ประเทศประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการพัฒนาเรื่อง palliative care มายาวนานกว่า 40 ปี แล้ว ซึ่งเขาเล่าให้ฟังว่าที่นั่นมีกฎหมายอนุญาต ให้ทำการุณยฆาตได้ โดยถูกกฎหมาย โดยในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เสียชีวิต จากการทำการุณยฆาต นับหมื่นคน (การุณยฆาตคือการที่แพทย์ ทำให้ชีวิตสิ้นสุดลง ตามความปรารถนาของ ผู้ป่วยเอง โดยคำขอของผู้ป่วย ต้องเป็นไปด้วยความ สมัครใจ ชัดเจน แน่นอน และได้ไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ต้องมีการขอหลายครั้ง และการเจ็บป่วยนั้น ต้องสุดแสนจะทนทาน ไม่มีทางรักษาได้ ข้อมูลจาก Internet   ) ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายนี้

        และสิ่งที่น่าสนใจ คนไข้คนนี้เขาสนใจสมาธิ  สมาธิอาจจะช่วยเขาในการ control pain     แต่ละ case อาจารย์จะคอย supervise และ case ทุก case คือครู palliative care  คุณโจก็เช่นเดียวกันแต่สิ่งหนึ่งที่น่าประหลาดใจมากๆคือ เขาเป็นคาทอริก แต่กลับซึมซับเอาความเชื่อและวัฒนธรรมทางศาสนาพุทธ จนกระทั่งสามารถเข้าใจในศาสนาอย่างลึกซึ้ง ถึงขั้นฝึกสมาธิได้  พอทราบดังนี้จึงชวนไปกราบพระอาจารย์ทัชพงษ์ ฐานกโร แต่ลูกศิษย์ลูกหาท่านจะเรียกสั้นๆว่าพระอาจารย์หมี ที่หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธทันที  โดยนัดหมายในวันต่อไป 9 โมงเช้า

           เช้าวันที่ 18 มกราคม 2554 ก่อนถึงที่ทำงานฉันแวะซื้อดอกบัวและขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ (คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัย ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว (ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) 

ขันหมากเบ็ง

         เมื่อได้เวลาจึงไปที่หอผู้ป่วย สว ชั้น 15 เพื่อนำคุณโจและมาลี(นามสมมุติ) ไปกราบพระ เราใช้เวลาชั่วโมงครึ่งอยู่กับธรรมะจัดสรร ของพระอาจารย์หมี ฉันสังเกตเห็นโจฟังไปยิ้มไป พระอาจารย์หมีสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างเยี่ยมยอด โดยเนื้อหาของพระธรรมในวันนี้คือเรื่องการฝึกสมาธิ โจบอกว่าเขาเคยปฏิบัติธรรม และเขาจะถนัด บริกรรม พุทธ โธ ( put tho easy for me )  เขาเล่าติดตลกว่าอยู่ที่บ้านท่อง พุทธ โธ พุทธ โธแต่พอหมาวิ่งมา พุทธ โธ away  เลยขำกันใหญ่ พระอาจารย์สอนได้โดนใจมากๆ  คุณโจบอกว่าเขาประทับใจมาก  พระอาจารย์ทำให้เขาสามารถเข้าในธรรมะมากขึ้น พระอาจารย์สอนให้เข้าใจง่ายและสนใจจะไปฝึกกับพระอาจารย์ที่วัดป่าสันติกาวาส ที่อุดรธานี พระอาจารย์บอกว่าไม่ขัดข้อง

           เสร็จจากทำบุญฉันขอตัวไปทำงานต่อ คุณโจบอกกับฉันว่า “To day I ‘m very happy to day is a good day for me, thank you for helping me and my wife”  และวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวันที่งาน palliative care ได้เยียวยาผู้คน   คนแล้วคนเล่า และยังคงมีผู้คนอีกมากมายที่รอคอย ให้เราได้เข้าไปเยียวยา

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 422106เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับพี่กุ้งนาง
  • การเตรียมตัวในผู้ป่วยระยะสุดท้ายนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้ป่วย เสมือนแบกทุกข์ไว้ทั้งสองด้าน คือร่างกายที่เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และจิตใจที่รู้ว่าตัวเองใกล้ถึงเวลาที่จะต้องจากคนที่รักเขา และคนที่เขารัก เป็นเรื่องที่หนักที่สุดในชีวิตครับ เพราะไม่มีใครอยากตาย 
  • การมีคนเข้ามาช่วยเหลือในภาวะเช่นนี้ นอกจากได้ช่วยแบ่งเบาความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติแล้ว ยังได้กุศลจากความตั้งใจและปรารถนาดี
  • แม้จะเป็นเรื่องร้าย แต่ถ้ามองในทางดี อาจช่วยให้ไม่ประมาทในชีวิต ได้เตรียมตัวเอง ซึ่งดีกว่าอีกหลายๆ คนที่ใช้ชีวิต มัวเมา ลืมตน ลืมตาย ไปแบบไม่มีใครตั้งตัวครับ
  • มาเชียร์คุณกุ้งนาง
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานครับ

พี่กุ้งนาง มาเรียนเชิญบุคคลตัวอย่าง :>

หากพอมีเวลา รบกวนมาแบ่งปันแนวทางบริหารชีวิต เวลา ของคนทำงาน Palliative ให้สมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวที่นี่คะ

http://gotoknow.org/blog/aphnpal2009/422564

พี่น่ารักมากเลยค่ะ ขอให้มีความสุขความเจริณค่ะ ร่วมกันทำงานเพื่อผู้ป่วยนะคะ

สวัสดีครับ

            สบายดีนะครับ ผมยังรอรูปถ่ายพระอาจารย์โปรดคนไข้ชื่อน้องมาร์ช

ที่ชั้น 7 อยู่นะครับ ไม่ทราบว่าอาการน้องเขาเป็นยังไงบ้าง

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

สมศักดิ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท