ธรรมที่ควรละ


ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ

(ฆ)ธรรม ๑ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ อัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา)

นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๑/๓๖๘

..........................................

(ฆ)ธรรม ๒ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ

๑. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)

๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๐

.......................................

(ฆ)ธรรม ๓ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือตัณหา ๓ ได้แก่

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)

๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)

๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๓/๓๗๓

........................................

(ฆ)ธรรม ๔ ประการที่ควรละ

คือโอฆะ (ห้วงน้ำคือกิเลส) ๔ ได้แก่

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)

๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)

๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)

๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

นี้ คือ ธรรม ๔ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๔/๓๗๖

.......................................

(ฆ)ธรรม ๕ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ นิวรณ์ ๕ ได้แก่

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)

๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)

๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)

๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๕/๓๘๐-๓๘๑

...............................................

(ฆ) ธรรม ๖ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือหมวดตัณหา ๖ ได้แก่

๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป

๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง)

๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น)

๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส)

๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ)

๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์)

นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๖/๓๘๙

.....................................

(ฆ)ธรรม ๗ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ อนุสัย ๗ ได้แก่

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)

๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)

๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)

๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)

๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)

๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)

๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

นี้ คือ ธรรม ๗ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๗/๓๙๙

........................................

(ฆ)ธรรม ๘ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ มิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด) ๘ ได้แก่

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)

๒. มิจสังกัปปะ (ดำริผิด)

๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)

๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)

๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)

๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)

๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๘/๔๐๗ ๔๐๘

................................................

(ฆ)ธรรม ๙ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ได้แก่

๑. เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงเป็นไป

๒. เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ (การได้) จึงเป็นไป

๓. เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงเป็นไป

๔. เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (การกำหนดด้วยอำนาจพึงพอใจ) จึงเป็นไป

๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงเป็นไป

๖. เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงเป็นไป

๗. เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงเป็นไป

๘. เพราะอาศัยมัจริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงเป็นไป

๙. เพราะอาศัยอารักขะ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกที่เกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศาสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวขึ้นเสียงว่า มึง มึง และการพูดเท็จ จึงเป็นไป

นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๙/๔๒๑

.......................................

(ฆ)ธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ คืออะไร

คือ มิตฉัตตะ (ความเป็นธรรมที่ผิด) ๑๐ ได้แก่

๑. มิฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)

๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)

๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)

๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)

๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)

๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด)

๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๖๐/๔๓๐ ๔๓๑

หมายเลขบันทึก: 421567เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2011 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ละได้บ้างเป็นบางข้อ

บางข้อพยายามอยู่

บางข้อทำไม่ได้ทำไงดี....

เยอะตาลายไปหมดเลย

ข้าพเจ้าละข้อเดียวเองคือ

การกระทำใดก็ตามแต่ อันก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

สิ่งนั้นควรละเสีย

สวัสดีค่ะ

คุณยายแวะมาอ่านธรรมะก่อนนอนค่ะ

 

 

  • ปีนี้ได้ยินคำว่า อัสมิมานะ เป็นครั้งที่สองแล้ว  ครั้งแรกได้ยินจากรุ่นน้อง
  • เธอเขียนมาว่าอย่างนี้ครับ
  • ขณะนี้มีเพื่อนฝรั่งที่เขารู้ว่าน้องสนใจการนั่งสมาธิ ก็เลยจัดกลุ่มมาทำสมาธิด้วยกัน  แต่พอนานเข้าก็เลยได้รู้ว่า เขาสนใจแค่การนั่งสมาธิรักษาโรค ก็เป็นข้อดีค่ะ   แต่ทว่า เมื่อได้อะไรจากสมาธิแล้วtoo pride โดยนำมาเบ่งกัน เรียกว่าอัสมิมานะ หรือการถือตัวถือตน ก็เลยทำให้น้องเห็นความอนิจจัง ทุกขังอนัตตามากขึ้น   นอกจากนั้น เขาได้ยินว่าน้องมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก และน้องได้พูดให้หลายคนเริ่มเอนมาสนใจทางนี้   ผลคือ คนคริสต์ก็บอกศาสนาจารย์ โบสถ์รอบ ๆ บ้าน สามสี่โบสถ์ ก็เลยขยับมามี campaign กันใหญ่ เช่นมีหนังสือแจก มีของขวัญชวนเข้าโบสถ์ มีการเคาะประตูตามบ้านเร่งชักชวนกันเข้ามาโบสถ์   นี้คือตัวสารัมภะ คือกิเลสละเอียดชนิดหนึ่ง เรียกว่า การอยากแข่งดี ด้วยความอิจฉาริษยา   จะเห็นได้ว่าอวิชชาสองตัวนี้ คืออัสมิมานะและสารัมภะ มีแต่ทางพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้คนเห็นและเข้าไปรู้จักมันให้ถึงรากเหง้าและมีวิธีกำจัด ขณะที่ศาสนาอื่นไม่สามารถเข้าถึงเลย   เมื่อวานอ่านหนังสือธรรมะที่เขียนโดย Richard Hayes เขาเป็นprofessor จบมาทางภาษาสันกฤตและเป็นพุทธเต็มตัว ใช้ภาษาง่าย ๆ สละสลวย เล่าประกอบประสบการณ์ของเขาเอง เขาก็ยังเห็นด้วยกับProfessorท่านอื่น(ชาวญี่ปุ่น) ที่สอนเขา เห็นด้วยตรงที่jว่า Buddhism is complicated. ดังนั้นคนที่เข้าถึงศาสนาพุทธจึงถูกพัฒนาให้เกิดปัญญาไปโดยอัตโนมัติ พุทธศาสนาจึงเป็นวิชชาขั้นสูง ไม่เหมาะแก่คนพาล และคนโง่ (ตรงนี้เล่าสู่กันฟัง นะคะ)    

 

  • ยิ่งได้ทบทวนดูใจตนเอง....ยิ่งมีสิ่งเหล่านี้เกาะกุมอย่างหนาแน่น...นะคะ

ขอบคุณค่ะที่นำธรรมะดี ๆ มาฝาก

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

จะนำธรรมะดี ๆ ไปปฏิบัติค่ะ เป็นแนวทางที่ดีมากๆ

...ให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท