ธรรมที่ควรกำหนดรู้


กำหนดรู้ นั้น มี ๒ คือกำหนดรู้ด้วยการรู้และกำหนดรู้ด้วยการพิจารณา

กำหนดรู้ด้วยการรู้หมายเพียงรู้จักแยกขันธ์เป็นส่วนๆจากสังขารว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรแล้ว

รู้จักลักษณะแห่งส่วนนั้นๆ นี้ เรียกว่า กำหนดรู้ด้วยการรู้ ส่วนกำหนดรู้ด้วยการพิจารณานั้น

คือกำหนดส่วนแห่งขันธ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดแล้ว พิจารณาหาเหตุผลและเกิดดับ

ยกขึ้นพิจารณาโดยไตรลักษณ์ จนมีความเห็นแน่ว่า ส่วนนั้นๆ ย่อมประกอบด้วย เกิด ดับ หรือ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งไม่ใช่ตน

(พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺกาโร) ประมวลปัญหาและเฉลยธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ มหามกุฏราชวิทยาลัย

พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๔๗ ๔๘)

สิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือธรรมต่างๆดังนี้

(คัดบางส่วนจาก ทสุตตรสูตร)

ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ

(ค)ธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้คืออะไร

คือ ผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน

นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๕๑/๓๖๘

.....................................

(ค)ธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้คืออะไร

คือ

๑. นาม

๒. ๒.รูป

นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๐

.....................................

(ค)ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้คืออะไร

คือ เวทนา ๓ ประการได้แก่

๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)

๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)

๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา (แปล) ๑๑/๓๕๓/๓๗๒-๓๗๓

.............................................

(ค)ธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้คืออะไร

คือ อาหาร ๔ ได้แก่

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด

๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)

๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือ มโนสัญเจตนา)

๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๕๔/๓๗๖

.......................................

(ค)ธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้คืออะไร

คือ อุปาทานขันธ์(กองแห่งความยึดมั่น) ๕ ได้แก่

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานคือรูป)

๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานคือเวทนา)

๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานคือสัญญา)

๔.สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)

๕.วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา(แปล) ๑๑/๓๕๕/๓๘๐

..........................................

(ค) ธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร

คือ อายตนะภายใน ๖ ได้แก่

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)

๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)

๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)

๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)

๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)

๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)

นี้ คือ ธรรม ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา(แปล) ๑๑/๓๕๖/๓๘๘-๓๘๙

.............................................

(ค) ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร

คือ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่

๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวิริปาติกะบางพวก นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) บังเกิดด้วยปฐมฌาน นี้ เป็นวิณญาณฐิติที่ ๒

๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทพชั้นอาภัสสระ นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓

๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฏสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยอาการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ไม่มีอะไร นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

นี้ คือ ธรรม ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา(แปล) ๑๑/๓๕๗/๓๙๘-๓๙๙

.............................................

(ค)ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร

คือโลกธรรม ๘ ได้แก่

๑. ได้ลาภ

๒. เสื่อมลาภ

๓. ได้ยศ

๔. เสื่อมยศ

๕. นินทา

๖. สรรเสริญ

๗. สุข

๘. ทุกข์

นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรกำนหดรู้

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๕๘/๔๐๗

......................................

(ค) ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร

คือ สัตตาวาส ๙ ได้แก่

๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวิริปาติกะบางพวก นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๑

๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) บังเกิดด้วยปฐมฌาน นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๒

๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓

๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๔

๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญีสัตตพรหม นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๕

๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรุปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖

๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนะฌารโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌานโดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๗

๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ไม่มีอะไร นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๘

๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้ เป็นสัตตาวาสที่ ๙

นี้ คือ ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา(แปล) ๑๑/๓๕๙/๔๒๐-๔๒๑

...........................................

(ค)ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร

คืออายตนะ ๑๐ ได้แก่

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)

๒. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)

๓. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)

๔. สัททายตนะ(อายตนะคือเสียง)

๕. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)

๖. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)

๗. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)

๘. รสายตนะ (อายตนะคือรส)

๙. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)

๑๐. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)

นี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๖๐/๔๓๐

หมายเลขบันทึก: 421565เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2011 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มารับธรรมด้วยคนค่ะคุณณัฐ

กำหนดยากจังแต่จะพยายามค่ะ..

ธรรมมะ 84000 พระธรรมขันธ์ เปรียบเสมือนกับใบไม้ในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าเอามาใช้แค่เพียงหยิบมือเอง

✿อุ้มบุญ✿ จะแวะมาเรียนบ่อยๆ.....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท