วิธีบรรเทาอาการ(แก้)เมาค้าง [EN]


  

 

สำนักข่าว 'Telegraph (ภาษาไทยโบราณ = ตะแล็บแก๊บ = โทรเลข)' ตีพิมพ์เรื่อง [ Coffee and an aspirin 'best hangover' cure afterall ] = , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Telegraph ] 
.
การศึกษาใหม่พบว่า สารกาเฟอีนในกาแฟ และสารต้านการอักเสบในแอสไพริน (ยาแก้ปวด-แก้ไข้ชนิดหนึ่ง) ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจากการเมาค้างได้
.
กลไกที่แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) ทำให้เมาค้างส่วนหนึ่ง เป็นผลจากสารอะซีเทท (acetate) จากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สารนี้ทำให้คนแต่ละคนปวดหัวได้ไม่เท่ากัน
.
ศ.ไมเคิล ออสชินสกี และคณะ จากมหาวิทยาลัยโตมัส เจฟเฟอซัน ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐฯ ทำการทดลองในน้องหนู (ตีพิมพ์ใน J New Scientist) พบว่า กาแฟกับแอสไพรินบรรเทาอาการปวดหัวเมาค้างได้
.
ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) มีความเชื่อไปต่างๆ นานาในเรื่องยาแก้เมาค้าง บางคนเชื่อว่า ดื่มน้ำมากๆ หรือกินอาหารเช้าแบบอังกฤษ (English breakfast) เช่น ไข่ดาว น้ำผลไม้ ฯลฯ แล้วอาการจะทุเลาลง
.
การศึกษานี้มีการควบคุมแบบละเอียดถี่ถ้วนไม่ให้น้องหนูมีภาวะขาดน้ำ และไม่พบว่า การดื่มน้ำแก้ปวดหัวเมาค้างได้
.
ความเชื่อต่อไป คือ ให้กิน 'a hair of the dog (ขนน้องหมา - มาจากความเชื่อโบราณว่า ถ้าหมาบ้ากัด, ให้นำขนหมาใส่ในแผล
.
ความเชื่อแบบนี้ในเรื่องเหล้า คือ ถ้ากินเหล้าแล้วเมาค้างก็ให้กินเพิ่ม หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า "กินถอน(ถอดอาการ)" [ wikipedia ]; [ phrases ]
.
ฝรั่งที่เชื่อแบบนี้มักจะกินเหล้าผสมอะไรต่อมิอะไรเข้าไป เช่น น้ำผลไม้ เครื่องเทศ ฯลฯ
  • 'a hair of the dog' = กินเหล้าถอนอาการเมาค้าง

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป และแหล่งข่าวก็ไม่ได้รายงานว่า ศ.ออสชินสกีรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้น้องหนูปวดหัว หรือตอนนี้น้องหนูหายปวดหัวแล้ว

 

 
วิธีป้องกันปวดหัวจากเมาค้างที่ดีที่สุด คือ การไม่ดื่มเหล้า, รองลงไปเป็นการไม่ดื่มหนัก และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชนิดมีสีเข้ม
.
ตำรวจมีส่วนช่วยแก้อาการเมาค้างได้ดีที่สุดเช่นกัน โดยการตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจให้บ่อย ตรวจให้ถี่ยิบ
.
และถ้ามีใครบาดเจ็บหรืออุบัติเหตไปโรงพยาบาล... ขอความกรุณาตำรวจไปตรวจแอลกอฮอล์ทุกคนด้วย พร้อมปรับให้หนักด้วย จะเป็นพระคุณอย่างที่สุด
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
 > [ Twitter ]
ที่ มา                               
  • Thank [ Telegraph ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 มกราคม 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

 

 

หมายเลขบันทึก: 421093เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2011 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท