สรุปหน้าที่การงาน


ทำหน้าที่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด

สรุปผลการดำเนินงาน 

งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์

 ภาพรวม

งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหน่วยรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้

(๑)     งานสุขภาพจิต

(๒)     งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

(๓)     งานส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ

บุคลากรประกอบด้วย

๑. นางมะลิวัลย์  เมฆมหาพรหม  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้างาน

๒. นางชลิตดา  อุดมรักษาสกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หน้าที่ความรับผิดชอบหลักงานสุขภาพจิต และร่วมรับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ของหน่วย

๓. นายธรณิศวร์  บุญแข็ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก     งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการ TO BE NUMBER ONE และร่วมรับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ของหน่วย

๔. นายมาลายุทธ  คัชมาตย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก  งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และร่วมรับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ของหน่วย

๕. นางจิรพรรณ  คงสอน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก    งานส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ และร่วมรับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ของหน่วย

๖. นางสายฝน  เพชรสิม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักงานงานธุรการ การเงิน การบัญชี การพัสดุ และร่วมรับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ของหน่วย

ในรอบปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคีเครือข่ายได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์อย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ตลอดจนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กำหนดว่าภายในปี ๒๕๕๖ (ระยะ ๔ ปี) จะสามารถผลักดันให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการดูแลเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านงานสุขภาพจิตสามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ดังนี้

(๑)  อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๕  ดำเนินการได้ ร้อยละ ๓๗.๑๕

(๒) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่วินิจฉัยโดยแพทย์ได้รับการบำบัดรักษาดูแลช่วยเหลือกว่าร้อยละ ๘๐ ดำเนินการได้ ร้อยละ ๑๐๐

(๓) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดดูแลช่วยเหลือตามแนวทางที่กำหนดไม่น้อยกว่า  ร้อยละ ๘๐ หายหรือทุเลาดำเนินการได้ ร้อยละ ๑๐๐

(๔) อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง

 ด้านงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บำบัดผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจ จำนวน เป้าหมายที่กำหนดไว้ ๑๔๐ คน ดำเนินการได้ ๑๘๓ คน มากกว่าเป้าหมาย ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓๐.๗๑ และการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดทุกตัว ดังนี้

(๑) ประชากรทั้งหมด ๙๙๖,๓๒๑ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๗๕๙,๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๑ มากกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดให้ประชากร ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE

(๒) จำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐ – ๒๔ ปี ทั้งหมด ๒๔๐,๗๗๖ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE และเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๓๔,๖๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๔ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ จำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐ – ๒๔ปี เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE และเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว้าร้อยละ ๙๐

(๓) ทุกอำเภอมีชมรม  TO BE NUMBER ONE และมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นครบทุกอำเภอ ตามเป้าหมายตัวชี้วัด

(๔) ขมรม/จังหวัด ได้ร่วมการประกวดระดับภาค/ประเทศ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศจังหวัด      TO BE NUMBER ONE ระดับภาค และได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดแข่งขันระดับประเทศ บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่ต้องเข้าร่วมการประกวดและได้รับรางวัลใดๆ ในการประกวดแข่งขันระดับภาค/ประเทศ

สำหรับงานการส่งเสริมสมรรถภาพผู้พิการ ได้บูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการที่บ้าน และได้รับสิทธิในการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิ (ท.๗๔) ร้อยละ ๘๑.๑๘ มากกว่าเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ ร้อยละ ๗๐

 ผลการดำเนินงานด้านต่างๆ

๑.  งานสุขภาพจิต

๑.๑  วิสัยทัศน์งานสุขภาพจิต

งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคีเครือข่ายได้จัดทำการวิเคราะห์สถานการณ์ SWOT เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม การดำเนินงานสุขภาพจิต โดยกำหนดวิสัยทัศน์

“เป็นเลิศด้านวิชาการ บริหารโปร่งใส ทันสมัยเทคโนโลยี สุขภาพดีถ้วนหน้า”

๑.๒  พันธกิจ

(๑)    ส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ

(๒)    ขยายพัฒนาระบบบริการบำบัดและฟื้นฟูครอบคลุมทุกกลุ่มและพื้นที่

(๓)    พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสุขภาพจิต

(๔)    พัฒนาระบบบริหารจัดหารทั้งในด้านการปรับโครงสร้างองค์กรและระบบบริการ

(๕)    พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน

(๖)    พัฒนาบุคลากรทั้งด้านจิตสังคมและศักยภาพด้านวิชาการ

 ๑.๓  แผนปฏิบัติการ ปี ๒๕๕๓

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ว่าภายในปี ๒๕๕๖ (ระยะ ๔ ปี) จะสามารถผลักดันให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพในการดูแลเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนปฏิบัติการงานสุขภาพจิตและยาเสพติด ปี ๒๕๕๓ งบประมาณ P&P area based งบ NON UC งบกองทุนต่างๆ ของ สปสช. และงบกรมสุขภาพจิต

(๑) เป้าหมาย

๑)  ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

๒)  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้พิการ, ผู้สูงอายุผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือหลังคลอด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุราและยาเสพติด

๓)  บุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) /โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) /โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   (รพ.สต.) / สถานีอนามัย(สอ.) / ศูนย์สุขภาพชุมชน(ศสช.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม. )

๔)  ดำเนินการใน รพท. ๑ แห่ง

๕)  รพช. ๙ แห่ง และ รพร. ๑ แห่ง

๖)  รพ.สต. / สอ./ ศสช. ๑๕๓ แห่ง

(๒) ตัวชี้วัด

๑)  อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๕

๒)  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่วินิจฉัยโดยแพทย์ได้รับการบำบัดรักษาดูแลช่วยเหลือกว่าร้อยละ ๘๐

๓)  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดดูแลช่วยเหลือตามแนวทางที่กำหนดไม่น้อยกว่า  ร้อยละ ๘๐ หายหรือทุเลา

๔)  อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง

๑.๔  ผลการดำเนินงาน

(๑) การพัฒนาบุคลากร

จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร รพท. รพช. / สอ./ PCU ผู้ปฏิบัติงานในการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า Basic course Satear เป็น program ในการดูแล ผู้ป่วยจิตเวช, ซึมเศร้าเชิงลึก และอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข Advance course ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร Basic course การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้ามาแล้วจำนวน ๒๐๐ คน งบประมาณ ๘๒,๐๐๐ บาท

(๒) พัฒนาระบบสารสนเทศ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานและกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายภายใต้ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ อบรมแผนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีอบรมการใช้โปรแกรมระบบการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน ๑๐๐ คน ใช้เงินงบประมาณ ๑๑๔,๐๐๐ บาท

(๓) พัฒนาคุณภาพระบบบริการ

จัดการอบรมแก่บุคลากรผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับ รพท. / รพช.  สอ./ PCU HA ของงานสุขภาพจิต ถ่ายทอดองค์ความรู้ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและสำหรับ รพท. / รพช.  สอ./ PCU จำนวน ๒๐๐ คน ใช้เงินงบประมาณ ๖๓,๐๐๐ บาท

(๔) บูรณาการงานสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข

ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้เครือข่ายบริการสุขภาพถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี ด้านสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข ได้แก่ ผู้นำชุมชน / เทศบาล/ อบต. และจัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานบูรณาการงานสุขภาพจิตสู่เครือข่ายนอกระบบสาธารณสุข ใช้เงินงบประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ บาท

(๕) บูรณาการดำเนินงานร่วมกับชุมชน

ประสานการดำเนินงานกับ อสม. ตลอดจนผู้นำ และแกนนำชุมชน ในการสำรวจและ      คัดกรองผู้ป่วยสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ป่วยซึมเศร้า/มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย ให้บริการสุขภาพจิตเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่ผ่านการคัดกรองและประเมินระดับความรุนแรง ตลอดจนส่งต่อผู้ที่มีอาการ/มีแนวโน้มว่าจะฆ่าตัวตายให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อสั่งการ/ดำเนินการรักษา กรณีที่เป็นโรคเรื้อรังทางกายให้ได้รับการรักษาทางกายควบคู่กับการรักษาทางจิตเวชดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังด้วยเทคโนโลยี    ๘Q และแบบประเมินโรคซึมเศร้า ๙ คำถาม หรือ ๙Q

(๖) อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย

ในปี ๒๕๕๓ มีจำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า ๙Q ทั้งหมด ๒,๙๖๖ คน ได้รับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ จำนวน ๒,๕๒๙ คน เมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๒ ที่มีผู้ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์/มีการเข้าถึงบริการจำนวน ๑,๘๔๔ ตน เพิ่มขึ้น ๖๘๕ คน คิดเป็น ร้อยละ ๓๗.๑๕ และเมื่อเปรียบเทียบผลงานปี ๒๕๕๒ กับปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๕๒ มีจำนวนผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ๗๔๗ คน คิดเป็น ร้อยละ ๖๘.๐๙ จากผู้เข้าถึงบริการในปี ๒๕๕๑ ที่มีจำนวน ๑,๐๙๗ คน ซึ่งการเข้าถึงบริการในปี ๒๕๕๑ มีจำนวนผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๗๖ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๓๒.๔๒ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนดให้อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยซึมเศร้า มากกว่าร้อยละ ๕  เมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวขี้วัดทุกปี    

ตาราง ๑ ผลการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า/มีภาวะสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

การคัดกรองโรคซึมเศร้า/มีภาวะสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

จำนวน

ร้อยละ

จำนวนของผู้ได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าทั้งหมด

           ๔๕,๖๘๙

 

๑.๑

มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า(๒Q+ve)

             ๒,๙๘๓

      ๖.๕๓

๑.๒

ปกติ(๒Q-ve)

           ๔๒,๗๐๖

     ๙๓.๔๗

 

การประเมินโรคซึมเศร้า ๙Q

 

 

จำนวนของผู้ได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า ๙Qทั้งหมด

             ๒,๙๖๖

 

๒.๑

ระดับปกติ (๙Q < ๗)

             ๑,๗๒๖

     ๕๘.๑๙

๒.๒

ระดับอาการน้อย (๙Q=๗-๑๒)

                ๔๙๙

     ๑๖.๘๒

๒.๓

ระดับอาการปานกลาง (๙Q=๑๓-๑๘)

                ๖๗๒

     ๒๒.๖๖

๒.๔

ระดับอาการรุนแรง (๙Q≥๑๙)

                  ๖๙

      ๒.๓๓

 

(มีอาการรวม)

              ๑,๒๔๐

     ๔๑.๘๑

 

การประเมินแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย ๘Q

                  -  

 

จำนวนของผู้ได้รับการประเมินโรคซึมเศร้าด้วย๘Q ทั้งหมด

              ๑,๗๒๑

 

๓.๑

ระดับปกติ (๘Q = ๐)

                ๗๖๑

     ๔๔.๒๒

๓.๒

แนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายระดับน้อย (๘Q=๑-๘)

                ๘๖๒

     ๕๐.๐๙

๓.๓

แนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายระดับปานกลาง  (๘Q=๙-๑๖)

                  ๘๖

      ๕.๐๐

๓.๔

แนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายระดับรุนแรง  (๘Q>๑๗)

                  ๑๒

      ๐.๗๐

 

(รวมมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย)

                 ๙๖๐

     ๕๕.๗๘

 

การสุขภาพจิตศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความคิด

                  -  

 

จำนวนของผู้ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความคิดทั้งหมด

             ๑,๒๖๗

     ๔๒.๗๒

 

การส่งต่อ

                  -  

 

จำนวนของผู้ได้รับการส่งต่อทั้งหมด

               ๗๒๕

     ๒๔.๔๔

 

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ที่เป็น F๓๒,F๓๓,F๓๔.๑F๓๘F๓๙

                  -  

 

จำนวนผู้ได้รับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ทั้งหมด

                ๑,๑๔๙

     ๓๘.๗๔

จำนวนของผู้ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเรื้อรังทางกายทั้งหมด

             ๘,๙๕๓

     ๑๙.๖๐

จำนวนของผู้ได้รับการรักษาด้วยยาทั้งหมด

                ๙๑๓

     ๗๙.๔๖

จำนวนผู้ได้รับการติดตามเฝ้าระวังด้วย ๙Q ,๘Qทั้งหมด

              ๑,๑๕๖

     ๓๘.๙๘

 

ตาราง ๒ จำนวนและร้อยละผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบ ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๓

 

ปีงบประมาณ

ปี ๒๕๕๓

ปี ๒๕๕๒

ปี ๒๕๕๑

ปี ๒๕๕๐

จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการในปี(คน)

๒,๕๒๙

๑,๘๔๔

๑,๐๙๗

๙๒๑

ผลต่างจากปีที่แล้ว(คน)

๖๘๕

๗๔๗

๑๗๖

 

ร้อยละ(ผลลัพธ์การเข้าถึงบริการเพิ่ม/ลด)

๓๗.๑๕

๖๘.๐๙

๑๙.๑๑

 

 

(๗) อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคนลดลง

จากการดำเนินงานในปี ๒๕๕๓ พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๕ ราย คิดเป็นอัตรา เท่ากับ ๓.๖๕ ต่อแสนประชากร และเมื่อเปรียบเทียบกับปี ๒๕๕๒ ที่มีจำนวน ๖๐ ราย คิดเป็นอัตรา ๕.๓๒ ต่อแสนประชากร ลดลง ๒๕ ราย อัตราลดลง  ๑.๖๗ ต่อแสนประชากร

๒.  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

๒.๑  ผลการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในภาพรวม

ผลการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้ง ๓ ระบบ ในภาพรวมของจังหวัด ประกอบด้วย ระบบสมัครใจ ซึ่งเป็นระบบหลัก ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ  รวม ๑,๑๑๒ คน  แต่เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑,๐๑๘ คน ตามตาราง ๓

๒.๒  ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ได้จำทำแผนปฏิบัติบูรณาการกับแผนปฏิบัติการการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ (ศตส.จ.พช.) ตั้งเป้าหมายบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ปี ๒๕๕๓ ระบบสมัครใจ จำนวน ๑๔๐ คน มีผลการดำเนิน งาน ๑๘๓ คน เกินกว่าเป้าหมาย ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓๐.๗๑ ในจำนวนนี้เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑๘๑ คน

ตาราง ๓ ผลการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ปี ๒๕๕๓ จังหวัดเพชรบูรณ์

 

อำเภอ

ผู้เสพ

รวม

ผู้ติด

รวม

ผู้ติดยาเสพติดรุนแรง

รวม

ผลรวมทั้งหมด

รวม

สมัครใจ

บังคับ

ต้องโทษ

สมัครใจ

บังคับ

ต้องโทษ

สมัครใจ

บังคับ

ต้องโทษ

สมัครใจ

บังคับ

ต้องโทษ

เมือง

๔๙

๗๗

๖๐

๑๘๖

๒๑

๒๑

๔๗

 

 

๗๐

๑๐๐

๖๕

๒๓๕

หล่มสัก

๒๙

๑๔๔

๔๑

๒๑๔

๒๗

๓๖

 

 

๓๐

๑๗๒

๔๙

๒๕๑

วิเชียรบุรี

๕๐

๖๓

๑๕

๑๒๘

 

 

 

 

 

-

๕๐

๖๗

๑๕

๑๓๒

หนองไผ่

๒๔

๑๘

๔๕

 

 

 

 

๓๔

๑๘

๕๕

บึงสามพัน

 

๑๐

๑๒

๒๒

๑๑

 

๑๖

 

 

 

-

๑๑

๑๕

๑๒

๓๘

ชนแดน

 

๓๖

๔๓

 

 

 

 

-

 

๔๒

๕๐

หล่มเก่า

๕๘

๓๒

๙๔

๑๑

๑๔

 

 

 

-

๖๙

๓๔

๑๐๘

ศรีเทพ

๔๑

๔๘

 

 

 

 

 

-

๔๔

๕๑

เขาค้อ

๓๗

๑๐

๕๐

 

 

 

 

-

๓๙

๑๓

๕๕

วังโป่ง

๒๑

๒๘

 

๒๘

๓๙

น้ำหนาว

 

 

 

 

-

 

 

 

-

 

เพชรบูรณ์

๑๔๔

๕๑๑

๒๐๗

๘๖๒

๓๖

๙๔

๒๐

๑๕๐

 

๑๘๑

๖๑๐

๒๒๗

๑,๐๑๘

จังหวัดอื่น

 

๓๘

๔๑

 

 

 

 

๔๕

๔๗

๙๔

รวม

๑๔๔

๕๔๙

๒๔๘

๘๖๒

๓๗

๑๐๑

๒๕

๑๕๐

๑๘๓

๖๕๕

๒๗๔

๑,๑๑๒

 

ดำเนินการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด โดยกำหนดเป้าหมายไว้จำนวน ๕๙๓ คน สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง ๕๙๓ คน ผลการติดตามพบว่าสามารถหยุด เลิกการเสพได้ ทำงานอยู่กับบ้าน จำนวน ๔๗๖ คน ทำงานต่างจังหวัด จำนวน ๕๒ คน ศึกษาต่อจำนวน ๙ คน อุปสมบท จำนวน ๑ คน กลับไปเสพซ้ำ จำนวน ๒๘ คน ถูกจับกุมดำเนินคดี จำนวน ๑๑ คน

นอกจากนั้น ยังดำเนินการจัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคัดกรองผู้เสพผู้ติด หลังจากที่ อสม. ร่วมกับชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำประชาคมค้นหาผู้เสพหรือกลุ่มเสี่ยง ตามปฏิบัติการ Clean & Sill จำนวน ๕ ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น ๓๑๔ คน ดังนี้

อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี วันที่  ๑๐ – ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓  จำนวน   ๔๒  คน

อำเภอหล่มเก่าและอำเภอเขาค้อ วันที่  ๑๗ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓  จำนวน   ๔๕  คน

อำเภอหล่มสัก                       วันที่  ๑๗ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓     จำนวน ๑๒๒ คน

อำเภอหนองไผ่และบึงสามพัน    วันที่  ๒๔ – ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓  จำนวน   ๓๙  คน

อำเภอเมืองเพชรบูรณ์               วันที่  ๑๗ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓    จำนวน   ๖๖  คน

 ๒.๓  ผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE

(๑) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๑  การบริหารจัดการแบบบูรณาการ

๑)  บูรณาการแผนงาน โครงการ และกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมีจำนวนโครงการที่บูรณาการ ๔๐ โครงการ งบประมาณ ๔,๙๕๙,๘๒๐  บาท

๒)  ประกาศนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโครงการ TO BE NUMBER ONE

๓)  ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง

๔)  การติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ฯลฯ

(๒) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๒  รณรงค์ปลุกจิตสำนึกสร้างกระแสป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

๑) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • · พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล โดยจัดทำโปรแกรมบันทึกข้อมูลชมรม TO BE NUMBER ONE ในโปรแกรมสำเร็จรูป ผ่านเครือข่าย Internet Online สะดวก ง่ายต่อการสืบค้นหาข้อมูล ทำให้สามารถปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • · จัดทำ Web Site เพื่อการประชาสัมพันธ์และติดต่อสื่อสารของสมาชิกตลอดจนรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลไว้ที่จังหวัด โดยจัดทำ Program จัดเก็บข้อมูลสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE

๒) สร้างกระแส TO BE NUMBER ONE ด้วยการ

  • · ประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ กระจายเสียง เคเบิลทีวี  ป้ายข้อความวิ่ง
  • · จัดทำ Spot โครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัด
  • · จัดทำ Spot เชิญชวนสมัครสมาชิกและชักชวนผู้เสพให้เข้ารับการบำบัด
  • · จัดทำคัทเอาท์ไวนิล TO BE NUMBER ONEหน้าศาลากลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และบริเวณสี่แยกไร่ยาสูบ
  • · แจกจ่ายสปอตวิทยุ สำหรับสถานีวิทยุหลัก ๕ แห่งและวิทยุชุมชน ๔๐ แห่ง และ    หอกระจายข่าวสารประจำหมู่บ้าน/เสียงตามสายของทุกอำเภอ/ตำบล/เทศบาล
  • · จัดทำ CD เพลง TO BE NUMBER ONE ทั้งที่เป็นเนื้อร้อง/ทำนองของส่วนกลาง และในส่วนที่จังหวัดจัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเอง แจกจ่ายให้สถานีวิทยุหลัก ๕ แห่งและวิทยุชุมชน ๔๐ แห่ง รวมถึงหอกระจายข่าว/เสียงตามสายของทุกอำเภอ/ตำบล/เทศบาล รวม ๒๕๐ แห่ง
  • · จัดทำและแจกจ่ายสติกเกอร์ TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๐,๐๐๐ แผ่น
  • · จัดทำและแจกจ่ายแผ่นพับจังหวัดเพชรบูรณ์  TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๐,๐๐๐ แผ่น

๓) ผลการขยายจำนวนชมรมและสมาชิกชมรม  TO BE NUMBER ONE 

จังหวัดเพชรบูรณ์มีจำนวนประชากรทั้งหมด ๙๙๖,๓๒๑ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๗๕๙,๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๑ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ จำนวน ๔๙๒,๙๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๔๘ และกำลังรับสมัครอยู่อย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ที่มีอายุ ๑๐ – ๒๔ ปี ทั้งหมด จำนวน๒๔๐,๗๗๖ คน เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE จำนวน ๒๓๔,๖๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๔ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ จำนวน ๓๐,๕๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๑

(๓) ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน

จังหวัดเพชรบูรณ์ได้คัดเลือกตัวแทนสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE  จากนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาเป็น “แกนนำ TO BE NUMBER ONE”  โดยส่งเข้าอบรม TO BE NUMBER ONE CAMP  จำนวน ๕๔ คน ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นต้นแบบ ๒ แห่ง ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ๑ แห่ง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ ๑ แห่ง และขยายเครือข่ายศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษาเพิ่มอีกจนครบทุกอำเภอและทุกตำบล  ปัจจุบันมีศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษา ๒๑๓ แห่ง สถานประกอบการจำนวน  ๑๑ แห่ง ชุมชนจำนวน ๑๑๗  แห่ง รวม  ๓๔๑  แห่ง  เพิ่มขึ้นจาก ปี ๒๕๕๒  ร้อยละ ๕๘

(๔)  ผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาทักษะชีวิตและการสร้างและพัฒนาเครือข่าย       TO BE NUMBER ONE

๑)  มีสมาชิก &ldqu

คำสำคัญ (Tags): #หน้าที่การงาน
หมายเลขบันทึก: 420950เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท