องค์การและสภาพแวดล้อมขององค์การ


แนวคิดด้านการจัดการร่วมสมัยกลับมองว่า การจัดการคือ การทำงานกับเครื่องไม้เครื่องมือและทรัพยากรต่างๆ จำนวนมากเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

องค์การและสภาพแวดล้อมขององค์การ

 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ

 

ความหมายของการจัดการ

     นักทฤษฎียุคต้น มีมุมมองง่ายๆ ว่า การจัดการ หมายถึง ความสามารถในการทำงานโดยอาศัยผู้อื่นช่วยตามที่ต้องการ แต่แนวคิดด้านการจัดการร่วมสมัยกลับมองว่า การจัดการคือ การทำงานกับเครื่องไม้เครื่องมือและทรัพยากรต่างๆ จำนวนมากเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

นิยามของการจัดการในปัจจุบัน หมายถึง กระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การโดยอาศัยขั้นตอน

  1. การวางแผน (planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายและพัฒนาวิธีการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น
  2. การจัดองค์การ (organizing) หมายถึง กระบวนการกำหนดกรอบเพื่อที่จะไปสู่การพัฒนาและมอบหมายงาน การบริหารและจัดสรรทรัพยากร การประสานกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  3. การนำ (leading) หมายถึง กระบวนการในการใช้อิทธิพลและจูงใจผู้อื่นในองค์การให้ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
  4. การควบคุม (controlling) หรือการประเมินผล หมายถึง กระบวรการตรวจ ติดตาม และกำกับดูแลความก้าวหน้าของกิจกรรมต่างๆ ในองค์การว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

โดยการใช้ทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ ได้แก่

  1. มนุษย์
  2. วัสดุอุปกรณ์
  3. เงินทุน
  4. สารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายองค์การตามที่ตั้งไว้

ไม่มีผู้บริหารคนใดสามารถดำเนินงานให้สำเร็จเพียงลำพัง เพราะธรรมชาติของการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องและใช้คนเป็นกลไกสำคัญ

เป้าหมายขององค์การและการจัดการ

     ผู้จัดการไม่ว่าองค์การประเภทใด มีภาระหน้าที่ด้านการจัดการและนำเอาเทคนิคการบริหารต่างๆ มาใช้อย่างเต็มที่เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมายขององค์การเป็นสำคัญ

     แต่ผู้บริหารภาครัฐอาจจะมีภาระที่ยากกว่าของเอกชน เพราะเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนและต้องอยู่ภายใต้กฏระเบียบของราชการที่มากมาย

 

 

 

 

 

เรื่องที่ 1.1.2 หน้าที่และบทบาททางการจัดการ

ลักษณะของงานด้านการบริหาร

     หน้าที่หลัก 4 ประการ คือ วางแผน จัดองค์การ นำพา และควบคุม

     แต่ธรรมชาติที่แท้จริงหรือพฤติกรรมหรือกิจกรรมด้านการบริหาร จะมีเรื่องของการบริหารเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ลักษณะของงานบริหารจึงออกมาเป็น

  1. การตรากตรำทำงานหนักด้วยเวลาที่ยาวนาน ผู้บริหารระดับสูงมักทำงานหนัก
  2. การทำกิจกรรมหลากหลาย เวลาสั้น ไม่ต่อเนื่อง
  3. การประชุมและสื่อสารทางโทรศัพท์  เพื่อช่วยให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว

 

บทบาทการบริหารตามแนวคิดของ เฮนรี่ มินทซ์เบิร์ก

ประเภท 

บทบาท

กิจกรรม

บทบาทระหว่างบุคคล

สัญลักษณ์หรือหัวโขน

ผู้นำ

 

ผู้ประสานงานหรือผู้แทน

ประธานงานพิธี หน้าที่เชิงสัญลักษณ์

จัดคนเข้าทำงาน ฝึกอบรม ประสานงาน จูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลนอกองค์การ หรือบทบาทด้านมนุษย์สัมพันธ์

บทบาทด้านสารสนเทศ

ผู้ตรวจสอบติดตาม

 

ผู้เผยแพร่ข่าวสาร

การเป็นโฆษกขององค์การ

รวบรวมสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ

เสาะหาข่าวสารข้อมูล

เผยแพร่ข่าวสารสู่คนในองค์การ

เผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณชน

บทบาทด้านการตัดสินใจ

ผู้ประกอบกิจการ

 

ผู้แก้ปัญหา

จัดสรรทรัพยากร

 

นักเจรจาต่อรอง

ริเริ่มสิ่งใหม่ หาโอกาสเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์การ

แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์การ

พิจารณาจัดสรรทรัพยากรการบริหารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การ

เจรจาต่อรองกับหน่วยงานภายนอกเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ ฯลฯ

 

 

 

เรื่องที่ 1.1.3 ประเภทและทักษะของผู้บริหาร

     ส่วนใหญ่ผู้บริหารจะใช้กระบวนการบริหารเป็นเครื่องมือนำพาพวกเขาไปสู่เป้าหมายขององค์การ แต่งานด้านการจัดการก็มีธรรมชาติเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป สามารถจัดประเภทได้ 2 อย่างดังนี้

ประเภทของผู้บริหารตามขอบเขตความรับผิดชอบ

     เราอาจเรียกชื่อผู้บริหารได้เช่น

  1. ผู้จัดการทั่วไป  มีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในองค์การ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมขององค์การมากมายหลากหลาย มีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวาง
  2. ผู้บริหารตามหน้าที่ รับผิดชอบในฐานะผู้นำที่มีขอบเขตแคบ เช่น ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
  3. ผู้บริหารโครงการ  เน้นหนักด้านการประสานกิจกรรมและการทำงานต่างๆ กับบุคคลหลายฝ่ายในองค์การให้โครงการสำเร็จ ปกติไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในทรัพยากรของโครงการนั้นๆ

การแบ่งประเภทตามระดับการบริหาร

     แบ่งออกได้ตามพื้นฐานของตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบในองค์การ ปกติในองค์การขนาดใหญ่ มักจะมีผู้บริหารหลายระดับชั้น ในสถานการณ์ปกติสามารถแบ่งผู้บริหารเป็น 3 ระดับ คือ

  1. ผู้บริหารระดับสูง  มีจำนวนน้อยที่สุด อยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้างการบริหารองค์การ มีหน้าที่บริหารใน ภาพรวมทั่วทั้งองค์การ เช่น ประธานกรรมการ, CEO, President, Vice President
  2. ผู้บริหารระดับกลาง  หรือผู้จัดการระดับปฏิบัติ มีหน้าที่ปฏิบัติตามกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับบนในลักษณะกว้างๆ และกำกับดูแลการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง
  3. ผู้จัดการระดับต้น/ปฏิบัติ  หน้าที่หลักคือประสานการทำงานของพนักงานที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร ดูแลการทำงานประจำวันของพนักงาน

ทักษะของผู้บริหาร

  1. ทักษะด้านความคิด หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจภาพรวมของสภาพแวดล้อมองค์การว่าทุกส่วนมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกันอย่างไร และเมื่อตัดสินใจใดๆ แล้วก็สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า นอกจากนั้นยังรวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ ชี้บ่งถึงต้นเหตุของโอกาสหรือปัญหาใดๆ เพื่อกำหนดแผนการที่สอดคล้องกับเรื่องนั้นๆ ได้
  2. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ทักษะด้านเทคนิค คือ ความรู้ความชำนาญในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและขั้นตอน

 

 

เรื่องที่ 1.1.4 ทฤษฎีการจัดการ

     ทฤษฎีองค์การที่สำคัญ ได้แก่

  1. ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม  เน้นการศึกษาถึงองค์การโดยรวม และศึกษาถึงแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานด้วยการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ เน้นการศึกษางานโดยใช้หลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการทำงานของบุคคลากร เช่น แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มค่าตอบแทนสำหรับแรงงาน  Frederick W. Taylor  ศึกษาถึงเวลาและการเคลื่อนไหว เป็นการทดสอบและสำรวจถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายและเวลาที่ใช้ในการทำงานด้วยวิธีที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์  หมายถึงการจัดการที่มุ่งเน้นลักษณะและผลกระทบของแต่ละบุคคล และพฤติกรรมกลุ่มในองค์การ เป็นการจัดการที่เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์โดยเฉพาะพฤติกรรมกลุ่ม และการใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การกระตุ้น การให้คำปรึกษา การชักนำ และการติดต่อสื่อสาร
  3. ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ  นำเทคนิคคณิตศาสตร์ สถิติและข้อมูลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาการจัดการ การจัดการเชิงปริมาณประกอบด้วยศาสตร์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ

            บริหารองค์การ

            บริหารเชิงปฏิบัติ

            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

  1. ทฤษฎีเชิงระบบ  เป็นการผสมผสานทฤษฎีทั้งสามข้อข้างต้น โดยมององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพราะเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการจัดการ ในทฤษฎีนี้ ระบบเป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องกันซึ่งต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การหนึ่งจะประกอบด้วย 4 ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการแปรสภาพ ผลผลักและการป้อนกลับ
  2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์เฉพาะอย่างขององค์การ ประกอบด้วย เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมภายนอก และบุคคลขององค์การ  ทฤษฎีนี้เป็นการผสมผสานทฤษฎีที่ 1-3 เช่นกัน
  3. ทฤษฎีการจูงใจ  Abraham Maslow เสนอทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ  ซึ่งเป็นความคิดที่ว่าบุคคลได้รับการกระตุ้นโดยความต้องการเพื่อให้ได้ตอบสนองตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ คือ

            ความต้องการด้านกายภาพ

            ความปลอดภัย

            สังคม

            การยกย่อง

            ประสบความสำเร็จในชีวิต

Douglas McGregor ได้พัฒนาทฤษฎี X และทฤษฎี Y

ทฤษฎี X   มีข้อสมมติฐานมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน

ทฤษฎี Y   มีข้อสมมติฐานมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน ซึ่ง McGregor  พอใจทฤษฎี Y มากกว่า วิธีนี้จะมอบความไว้วางใจพนักงานและให้พนักงานมีส่วนร่วมในองค์การ

______________________________________________________________________________________

 

 

ตอนที่  1.2  แนวคิดเกี่ยวกับองค์กร

 

เรื่องที่  1.2.1  ความหมายและความสำคัญขององค์การ

     ความหมายขององค์การ  องค์การ หมายถึง กลุ่มคนจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มารวมกันเพื่อทำงานด้วยกันภายใต้โครงสร้างองค์การที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งของกลุ่มที่ตั้งไว้

     ความสำคัญขององค์กร 

  1. ความสำคัญด้านการเมือง  เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและอยู่รวมกันเป็นชุมชน ย่อมต้องมีบุคคลหรือกลุ่มคนหนึ่งทำหน้าที่ผู้ปกครองมีหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งองค์การการเมืองขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการบริหาร ให้บริการสาธารณะ
  2. ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ  มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานในปัจจัยสี่ จึงได้มีการจัดตั้งองค์การต่างๆ ขึ้นมาอย่างมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ และยังมีองค์การแบบใหม่ๆที่ตอบสนองความสะดวกสบาย ฯลฯ ที่นอกเหนือจากปัจจัยสี่อีกด้วย
  3. ความสำคัญทางด้านความต้องการทางด้านสังคม  เช่น องค์การที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล พิธีกรรม  ฯลฯ

 

เรื่องที่  1.2.2  ประเภทขององค์การ

     ประเภทที่ 1  เกณฑ์จำแนกองค์การตามลักษณะของความสัมพันธ์ในองค์การ  สมาชิกให้ความสัมพันธ์ในสมาชิกด้วยกัน  แยกออกเป็น องค์การปฐมภูมิ (มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น ครอบครัว ) และองค์การทุติยภูมิ (เช่น สมาคม สโมสร บริษัท มูลนิธิ ฯลฯ)

     ประเภทที่ 2  เกณฑ์จำแนกองค์การตามลักษณะทางโครงสร้างขององค์การ  มีโครงสร้างองค์การชัดเจน อาจกำเนิดขึ้นโดยสมาชิกในองค์การสมัครใจ มีองค์การที่เป็นทางการ (เช่น พรรคการเมือง หน่วยราชการ บริษัท ฯลฯ ) และองค์การที่ไม่เป็นทางการ (เช่น กลุ่มเพื่อน ชมรม ฯลฯ)

     ประเภทที่ 3  เกณฑ์จำแนกองค์การตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ   แบ่งประเภทได้เป็น

  1. องค์การทางการเมือง  มีเป้าหมายแสวงหาผลประโยชน์/ครอบครอง และการใช้อำนาจรัฐ เช่น พรรคการเมือง รัฐบาล
  2. องค์การทางเศรษฐกิจ/การผลิตและการบริการ  มีเป้าหมายแสวงหากำไร แล้วสมาชิกอาจนำมาแบ่งสรรกัน  เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ บริษัท หจก.
  3. องค์การทางสังคม  มีเป้าหมายแสวงหาหรือสนับสนุนการดำรงชีวิตที่ดีในสังคมเพื่อความสุขและประโยชน์ของสมาชิกในสังคม เช่น โรงเรียน  โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานีตำรวจ
  4. องค์การบริหารของรัฐ  มีเป้าหมายเพื่อการบริการสาธารณะด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและบริการประชาชน  เช่น กระทรวงทบวงกรม
  5. องค์การระหว่างประเทศ  มีเป้าหมายส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างประเทศ  เช่น สหประชาชาติ เอเปค อาเซียน

(รายละเอียดการจำแนก ให้ดูที่ ตาราง 1.3 ประเภทขององค์การจำแนกตามเกณฑ์ต่าง หน้า  32 )

     การแบ่งประเภทองค์การตามเกณฑ์ที่ 3 อาจแบ่งแยกได้อีกหลายรูปแบบ คือ

องค์การที่มุ่งแสวงหากำไรและองค์การที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร

     องค์กรที่มุ่งแสวงหากำไร มีจุดมุ่งหมายเพื่อการทำกำไรหรือผลประโยชน์แก่เจ้าของหนือผู้ถือหุ้น

     องค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร  มีจุดมุ่งหมายดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสังคม วัฒนธรรม หรือการเมือง เช่น สหภาพแรงงาน สวนสัตว์  สถาบันศาสนา องค์การสาธารณกุศล  ซึ่งอาจมีการหารายได้แต่ไม่มีเป้าหมายเพื่อทำกำไร

องค์การด้านเศรษฐกิจการผลิตและการบริการ

     องค์การด้านการผลิต  จะมีการใช้วัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าประเภทที่จับต้องได้

     องค์การประเภทบริการ  หน้าที่หลักคือเป็นผู้ให้บริการ เช่น การให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน การให้บริการทางการแพทย์ บริการทางกฎหมาย ฯลฯ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้

     อย่างไรก็ตามหลายองค์การมักจะเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการควบคู่กันไป เพื่อความสะดวกและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มักจะมีบริการด้านการเงินแก่ลูกค้าด้วย

องค์การบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน

     เป็นการแบ่งตามความเป็นเจ้าของ เช่น โรงเรียนรัฐบาล ห้องสมุดประชาชน เป็นหน่วยงานภาครัฐ  ขณะที่โรงงานผลิตหรือร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไป เป็นของภาคเอกชน

 

เรื่องที่ 1.2.3  ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับองค์การ

     ลักษณะของความสัมพันธ์

  1. การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การ และองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
  2. การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
  3. การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร  กล่าวคือ

            ในแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

            ในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ  เช่น การก่อให้เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม

 

______________________________________________________________________________________

 

 

ตอนที่ 1.3  สภาพแวดล้อมขององค์การ

 

เรื่องที่ 1.3.1  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

     องค์การที่จะได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วย

  1. แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ   ผู้บริหารในปัจจุบันจะต้องตื่นตัวและรู้เท่ากันความเป็นไปของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับโลก เพราะต้องอยู่ท่ามกลางการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า ขณะที่ทรัพยากรต่างๆ ก็มีอยู่อย่างจำกัด
  2. แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เป็นสิ่งที่สามารถกำหนดได้จากทัศนคติ ความต้องการ ความคาดหวัง การศึกษา ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของผู้คนในสังคมนั้นๆ
  3. แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านกฎหมายและการเมือง  หมายถึง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อกำหนดและควบคุมการประกอบกิจการต่างๆ  ส่วนปัจจัยด้านการเมืองคือ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มีต่อการประกอบกิจการของภาคเอกชน
  4. แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ไวมาก องค์การใดต้องการอยู่รอดและเพิ่มความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จะต้องพัฒนาและจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาใช้
  5. สภาพแวดล้อมอันเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ   เนื่องจากมีการทำลายทรัพยากรและสภาวะแวดฃ้อมทุกด้าน ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น องค์การธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพราะหากดำเนินการต่างๆ โดยขาดวิจารณญาณแล้ว อาจส่งผลเสียหายต่อองค์การทั้งทางกายภาพและด้านภาพลักษณ์ขององค์การ

 

เรื่องที่ 1.3.2  สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

     เป็นการมุ่งหาแนวทางหรือกระบวนวิธีที่จะบริหารและจัดการองค์การให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารคือผู้มีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค อย่างไรก็ตามแนวทางในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การอาจต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. หลักการคัดสรรและตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อม  หมายถึง กลวิธีการค้นหาข้อมูล ข้อเท็จจริง นำไปสู่การแยกแยะและตีความหมาย เช่น คำถามเกี่ยวกับสถานภาพคู่แข่ง คุณภาพสินค้าของคู่แข่ง
  2. การคาดการณ์ถึงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  3. แนวทางการใช้วิธีเปรียบเทียบสถานะปัจจุบันขององค์กรกับคู่แข่ง

     แนวทางในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การให้เห็นภาพอย่างชัดเจน อาจดำเนินตามหลักการวิเคราะห์  SWOT  (จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส, อุปสรรค)

     การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยวิธีการเปรียบเทียบมาตรฐานกับคู่แข่ง หรือ Benchmarking หมายถึง วิธีหรือกระบวนการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศขององค์การ โดยการวิเคราะห์แนวปฏิบัติของคู่แข่งอย่างละเอียด แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับองค์การของตัวเอง ซึ่งอาจเริ่มด้วยแนวทางต่อไปนี้

  1. การมุ่งเน้นไปที่ปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วพยายามหาคำอธิบายหรือทำความเข้าใจปัญหาอย่างรอบคอบ
  2. รู้จักใช้ประโยชน์จากพนักงานของบริษัทซึ่งจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
  3. การศึกษาถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
  4. การหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน เช่น เรื่องราคา ข้อมูลสินค้าใหม่
  5. การรักษาความลับ

 

เรื่องที่ 1.3.3  แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

     หมายถึง  การบริหารและจัดการท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ของโลกยุคไร้พรมแดน ซึ่งน่าจะมีลักษณะการจัดการความหลากหลาย หรือ Managing Diversity

     การจัดการความหลากหลาย หมายถึง  กระบวนการในการวางแผนและการปฏิบัติตามระบบขององค์การและแนวปฏิบัติในอันที่จะจัดการผู้คนเพื่อก่อให้เกิดศักยภาพของความได้เปรียบที่แตกต่างหลากหลาย และเป็นโอกาสที่จะหาทางขจัดหนือลดศักยภาพที่เป็นความเสียเปรียบขององค์การให้เหลือน้อยที่สุด

     รากฐานของสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

  1. กลุ่มคนผิวและชนกลุ่มน้อย
  2. เพศหญิง
  3. กลุ่มพนักงานที่มีอายุ
  4. กลุ่มคนพิการกลุ่มกำลังแรงงานที่เป็นพวกรักร่วมเพศ

     อุปสรรคในการจัดการกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีความหลากหลาย

  1. คุณลักษณะเฉพาะและความมีอคติ  ทำให้เกิดความลำเอียง
  2. มุ่งเฉพาะกลุ่มหรือพวกพ้องเดียวกัน  ก็คือความลำเอียงสุดขั้ว
  3. การแบ่งแยก  เป็นการลงมือกระทำในลักษณะขัดแย้งกับกลุ่มนั้นๆ

     แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการจัดการความหลากหลาย

          หมายถึง  ความพยายามที่จะดึงเอาศักยภาพซึ่งเป็นความได้เปรียบของความหลากหลายให้มากที่สุด หร้อมกับการหาทางลดอุปสรรคหรือปัญหาที่จะเป็นตัวบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานลง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 420875เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่ให้คำตอบหนูกระจ่างมากเลยค่ะ ขอบคุณที่ทำประโยชน์ให้ทุกคนนะค่ะ หนูเข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ =) THANK YOU. (_/\_)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท