KM_Md_KKU มุมมองคนตัวเล็ก(6)>>>KM Forum Md.KKUครั้งที่ 3-4 “นักวิจัยหน้าใหม่” : เห็นอะไร?ในมุมของผู้เขียน


ข้อมูลปัญหาต่างๆของนักวิจัยที่ได้รับทราบได้ถูกนำมาแก้ไขทางนโยบายแล้วมากมาย แต่สิ่งที่น่าคิดคือ “อะไรที่ทำให้งานวิจัยไม่ออก?”

การเสวนาครั้งนี้ทีมวิจัยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพนักวิจัยใหม่และนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะฯ

กิจกรรม KM Forum ของฝ่ายวิจัยจัดในวันพุธที่ 12 มกราคม เวลา 12.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมศิษย์เก่า ผู้ร่วมวงเสวนาเป็นคณาจารย์จากภาควิชาทางปรีคลินิก

รศ.โสพิศ วงศ์คำ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้นำการเสวนาครั้งนี้โดยเริ่มจากการแสดงให้เห็นทิศทางการบริหารการวิจัยของคณะแพทย์ที่จัดทำสอดรับกับนโยบายด้านวิจัยของคณะแพทยศาสตร์

ประเด็นพูดคุยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ

  • นโยบาย ทิศทาง และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลพื้นฐาน แนวโน้มผลงานวิจัย และตัวชี้วัดทางการวิจัย
  • ผลงานตีพิมพ์ใน index journal ของภาควิชาต่างๆ
  • การเทียบเคียงกับคู่แข่ง
  • นโยบายและแนวทางการสนับสนุนงานวิจัย บนแนวคิด “คนที่อยากวิจัย ได้วิจัย” เพื่อเพิ่มผลงานวิจัย
  • การเพิ่มผลงานตีพิมพ์ เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย โดยมี service และ support ต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและพัฒนาที่สร้างองค์ความรู้ให้เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ถูกนำมาแสดงพร้อมแผนส่งเสริมงานวิจัยสหสาขาเพื่อสนองนโยบายสุขภาพของชาติและท้องถิ่น(SO)

คำถามว่า “นักวิจัยต้องการอะไร?” >>> 91.8% ต้องการเวลาที่สามารถทำงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง

มีการสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยมากขึ้นโดยสนับสนุนทั้งงบประมาณ ครุภัณฑ์วิจัย เงินทุน บุคลากรผู้ป่วยและห้องวิจัย ได้จัดสรรอาคารปรีคลินิกชั้น 3 และชั้นสำหรับการวิจัยทางปรีคลินิก

มีโจทย์ที่เกิดการ sharing บางประเด็นในปัญหาอุปสรรคการทำวิจัย

อ.โสพิศ กล่าวว่า ข้อมูลปัญหาต่างๆของนักวิจัยที่ได้รับทราบได้ถูกนำมาแก้ไขทางนโยบายแล้วมากมาย แต่สิ่งที่น่าคิดคือ “อะไรที่ทำให้งานวิจัยไม่ออก?”  

ศ.สมบูรณ์ เทียนทอง รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้ให้คำแนะนำเรื่องของการเตรียมทำผลงานวิจัยเพื่อปรับตำแหน่งทางวิชาการและอาจารย์ได้ร่วมแสดงข้อคิดเห็นเรื่องของการจัดสรรเวลาว่า อีกวิธีหนึ่งที่มีความเป็นไปได้นั่นคือ การพูดคุยตกลงทำความเข้าใจกันภายในภาควิชาฯของตน แต่โดยส่วนใหญ่นักวิจัยมักสละเวลาส่วนตัวในการทำวิจัยกัน

................

วันพุธที่ 13 มกราคม เป็นการจัดสำหรับคณาจารย์จากภาควิชาทางคลินิก ณ ห้องประชุมหนองแวง เวลา 12.00-14.00 น.

การนำเสนอของ รศ.โสพิศ วงศ์คำ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ คล้ายเดิมแต่กระชับและโยนประเด็นสู่ผู้ฟังเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์มากขึ้น

 

ประเด็นเพิ่มเติมมีในเรื่อง

  • การนำ R2Rมาเพิ่มจำนวนงานวิจัยได้อย่างไร
  • ความยากของการวิจัยทางคลินิกที่มีมากกว่าทางปรีคลินิก
  • เทคนิคการนำงานวิจัยสอดแทรกอยู่ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์กลุ่มต่างๆ

มีการยกประเด็น Best Practice ของภาควิชาสูติ-นรีเวชศาสตร์ เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างงานวิจัยโดยมีความร่วมมือของอาจารย์, resident และ พชท./พจบ จนมีผลงานตีพิมพ์ระดับชาติ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่ดีมากน่าจะได้ถูกนำมาถ่ายทอดสู่ภาควิชาฯอื่นๆและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอีก

อีกปัญหาของอาจารย์ทางคลินิกคือ ไม่มีผู้ช่วยอาจารย์ทางคลินิกในการทำวิจัยเพราะงานทางคลินิกเป็นความเฉพาะ

ฝ่ายวิจัยโดยอ.เจศฎา ถิ่นคำรพได้จัดทำ Clinical Research Center แต่พบว่างานบางอย่างฝ่ายวิจัยไม่สามารถเข้าไปช่วยทำแทนผู้วิจัยได้หมด อย่างไรเสีย การทำงานวิจัยให้เสร็จสมบูรณ์ก็ต้องเป็นนักวิจัยเจ้าของผลงานอยู่ดี

Best Practice ที่ผู้เขียนได้เห็นคือ การเล่าประสบการณ์ตรงของ อาจารย์ท่านที่ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยเช่น ศ.สมบูรณ์ เทียนทองและ ศ.เจศฎา ถิ่นคำรพ ซึ่งนักวิจัยหน้าใหม่อาจเก็บประเด็นในการดำเนินการทำวิจัยของตนให้สำเร็จได้เช่นกัน ได้แก่ การสละเวลาส่วนตัวในการทำวิจัย, การทำงานวิจัยเป็นทีม หรือแม้แต่อาจารย์ต้องช่วย dent /พชท./พจบ.ในการเป็นพี่เลี้ยงทำให้งานวิจัยนั้นสำเร็จลงได้

และโดยสรุป ผู้เขียนมองการจัดKM Forum ของฝ่ายวิจัยในทั้งสองครั้งนี้ว่าเป็นการจุดประกายไฟให้นักวิจัย ซึ่งหากได้จัดทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆติดๆกัน ไฟนี้จะลุกโชติช่วง คงได้เห็นการนำผลลัพธ์การทำวิจัยมาใช้งานสู่บุคคล ชุมชน(ตาม KPI)ได้สำเร็จ

และที่สุดแล้ว การดึงประเด็นเพื่อถอดบทเรียนของความสำเร็จในการทำวิจัยของนักวิจัยรุ่นเก่าสู่นักวิจัยรุ่นใหม่ คงต้องดำเนินการต่อเนื่องเพื่อช่วยให้เกิดผลลัพธ์ต่อนักวิจัยหน้าใหม่จริงๆ ซึ่งผู้ถอดและผู้เก็บประเด็นความรู้คงต้องเป็นผู้อยู่ในพื้นที่ ในทีมฝ่ายวิจัยนั่นเอง...

...

มีบางประเด็นที่เคยสกัดจากประสบการณ์ของท่านผู้ร่วมKMในคราวก่อนๆ

ประเด็นสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน KM Forum

4. ประเด็นเกี่ยวกับพันธกิจด้านวิจัย

1) การใช้ประโยชน์จากการวิจัย

2) การจัดการกลุ่มวิจัย

3) การวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน

4) การแลกเปลี่ยนการจัดการ R2R

5) RRU

คำสำคัญ (Tags): #km md kku#knowledge management
หมายเลขบันทึก: 420455เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2011 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านพี่ติ๋ว เกณฑ์ ของ สกอ ๒๕๕๓ ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ คือ การนำงานวิจัยดีดีมาแปลเป็นเรื่องราวที่คนธรรมดาเข้าใจได้ครับ

เรียน ท่านอ.JJ ค่ะ

ยังไม่พบกิจกรรมดังอาจารย์ว่าในการประชุมครั้งแรกนี้ค่ะ น่าปรับกลยุทธิ์หรือเจาะกิจกรรมให้ด้วยเลย

อีกวิธีหนึ่งนั้นติ๋วคิดว่า เจ้าตัวคงบอกได้ว่างานวิจัยเรื่องใดของตนที่ถูกนำเอาไปใช้...เจ้าของงานน่าจะรู้ดี ติ๋วว่าข้อมูลน่าจะมีอยู่แล้วในงาน เพียงแต่เราอาจจะต้องทำแบบฟอร์มให้เขาตอบให้ ดูจะดีและตรงกว่าให้เขาคิดเอง เพราะผลงานน่ะมีแล้วแต่เล่าตามที่เราต้องการไม่เป็นน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท