ผักชมจันทร์


ใต้ฟ้าเมืองไทย

 

 

      " ผักชมจันทร์ "  คงเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูนัก  แต่ถ้าหากเป็นชื่อ "ดอกชมจันทร์"   " ดอกพระจันทร์ "  หรือ " ดอกไม้จีน "  ก็อาจจะพอเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยบ้าง

        ผักชมจันทร์ หรือดอกชมจันทร์ จัดเป็นผักประเภทเดียวกับ ผักบุ้ง แต่ส่วนที่ใช้ปรุงอาหาร คือ ดอกตูมที่มีรูปร่างเป็นเกลียวสวยแปลกตา  ผักชมจันทร์ คงมีพื้นเพที่อยู่นอกเขตเมืองไทย เพราะได้มีการนำเข้ามาปลูกทางภาคใต้ของเมืองไทยเมื่อหลายปีมาแล้ว  แล้วจึงมีการนำไปปลูกในภาคอื่น ๆ เมื่อ 3 - 4 ปีมานี้  จึงนับว่ายังไม่แพร่หลายนัก

 

 

    ดอกตูมของผักชมจันทร์นำไปทำอาหารได้รสชาติหวานอร่อย มักนิยมนำไปผัดน้ำมันหอย   ผัดวุ้นเส้น  แกงจืด  ผัดขี้เมา หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก 

  

 

 

       ผักชมจันทร์มีคุณค่าทางอาหาร และมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร กล่าวคือ   มีฤทธิ์เย็นประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ เช่นแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส  โปรตีน  และวิตามินเอ  ผักชมจันทร์เป็นอาหารที่กินได้ทุกเพศทุกวัย   วิตามินบีในดอกผักพระจันทร์ช่วยให้สมองทำงานได้ดี  และเพิ่มความจำ   วิตามินซีในผักพระจันทร์  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน  ผักพระจันทร์เป็นพืชที่มีแคลอรี่ต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก

 

   

     ผักชมจันทร์จึงสามารถปลูกเป็นไม้ดอกที่สวยงามประดับบ้าน และเป็นทั้งผักแสนอร่อยในขณะเดียวกัน  ลองหามาปลูกไว้ริมรั้ว หรือทำซุ้มสวย ๆ ดูสักต้นสองตันรับรองคุ้ม...เกินคุ้ม

.....................................................

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

http://www.ecookingfood.com/tag/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

" ไพบูลย์  แพงเงิน "  คอลัมภ์ เทคโนโลยีการเกษตร "ชมจันทร์ ไม้ดอกที่น่าชิมและน่าปลูก"  จากหนังสือ  เทคโนโลยีชาวบ้าน ปักษ์หลัง 495 วันที่ 15 มกราคม  2554

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก :  google

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ใต้ฟ้าเมืองไทย
หมายเลขบันทึก: 420372เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เห็นชื่อตอนแรกไม่คุ้นเลย  แต่พอบอกว่าชื่อดอกไม้จีนก็ถึงบางอ้อ...

ใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและตากแห้งแล้วนะคะ

เห็นรูปแล้วหิวเลยค่ะ...

สวัสดีคุณ Ico48 ดอกชมจันทร์เรียกได้ว่า " สวยอย่างมีคุณค่า" น่ะแหละ ลองหามาปลูกดูนะ  ทั้งสวย ทั้งดี  ทั้งมีประโยชน์

ขอบคุณที่เข้ามาทักทายกัน  

คุณมะเดื่อ ครับ ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนครับ

ในมุมองของผม เกษตรกรไม่ได้น่าสงสารครับ

เค้าเป็นนักสู้ ...สู้กับความเชื่อ เดิมๆ สู้กับภัยธรรมชาติ เค้าเคยเป็นคนที่มีความหวังเต็มเปี่ยม กับคาดการณ์ผลผลิต และราคา แต่ทุกครั้ง ต้องหารสอง เสมอ แต่ก็ไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจ ในการทำการเกษตร ... เค้ามีที่ดินทำกิน เค้ายังมีทางไปครับ...

บางส่วนที่ยอมเเพ้ ก็ขายที่ไปแล้ว...ด้วยเหตุผลบางประการ

ต้องเสริมด้วยความรู้ การจัดการที่เป็นระบบ ให้เค้ากลับมาเป็นนักสู้ ...  

ล่าสุด ดูคลิป ของสสส. บรรเจิดมากครับ ลองตามไปดูนะครับ

ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เกิดขึ้นได้อย่างไร  กับ TVC  ฝีมือใคร ....

http://www.youtube.com/watch?v=W_suOnq0V0M&feature=sub 

สรุป

ผู้นำพร้อม + ชุมชนพร้อม + ความรู้พร้อม=ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ผมชอบมองการพัฒนาการเกษตร เป็นมิติของการพัฒนาร่วมกันของชุมชน ของกลุ่มเกษตรกร มากกว่าต่างคน ต่างทำ เพราะมันไม่ยั่งยืน แล้วก็ล้า ด้วย ช่วยๆกันครับ

สวัสดีคุณ Ico48 ขอบคุณที่มาพูดคุยกัน  ขอบคุณในความเข้าใจที่คุณมีต่อเกษตรกร  สิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริง  ถึงแม้จะเกิดขึ้นและเป็นจริงในบางส่วน  แต่ก็เป็นจริง  สักวันแนวคิดในการจัดการนี้คงกระจายไปทุกชุมชน  ขอเอาใจช่วยนะ

สวัสดี Ico48  ภาพสวยดี กล้วยไม้ชอบ ๆๆๆ  แต่ข้อความ " แด่คุณครูด้วยดวงใจ" คง " ผิดบันทึก " กระมังหนอ   " มะเดื่อ...เกษตรกรชั้นจัตวา " นะ  ถนัดปลูกผัก เลี้ยงไก่  สอนใครไม่เป็นหรอก   แต่ขอบคุณที่แวะมาทักทายละกัน

  • เห็นมะเดื่อแล้วอยากกิน
  • ตอนเด็กๆๆเก็บมายำปลา can
  • ฮ่าๆๆๆ
  • ตามมาทักทาย กลุ่มคนปลูกผักกินได้
  • เอาผักที่ไร่มาฝากด้วยครับ

ลืมบอกไปว่าพยายามหาพันธุ์ผักชนิดนี้ครับ

สวัสดีท่าน ดร. Ico48  ผักในสวนของท่านดูดีมีคุณค่าน่ากิน  สำหรับเมล็ดพันธุ์ของผักชมจันทร์ก็มีจำหน่ายนะ  ลองหา ๆ ดูนะท่าน พูดถึงมะเดื่อ ชอบเอามาจิ้มน้ำพริกมากกว่ายำ  มะเดื่อชุมพร หรือบางที่เรียกมะเดื่ออุทุมพร แต่ถนัดเรียกว่า " ลูกฉิ่ง" มากกว่า  จิ้มน้ำพริกกะปิ หรือน้ำบูดู กินกรอบ ๆ อร่อยมาก ๆ  ขอบคุณที่เข้ามาพูดคุย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท