การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด


Radiation Protection

การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด 

Radiation Protection of Practicetioner in Interventional Radiology Suite

                                                สมจิตร จอมแก้ว       อนุ.รังสีเทคนิค

                                                จุฑา ศรีเอี่ยม           อนุ.รังสีเทคนิค

                                                คง บุญคุ้ม               อนุ.รังสีเทคนิค

                                                ตองอ่อน น้อยวัฒน์    อนุ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สมจิตร จอมแก้ว, จุฑา ศรีเอี่ยม, คง บุญคุ้ม และตองอ่อน น้อยวัฒน์.  การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553; 4(1):  12-7

  

ความเสี่ยงทางรังสีเป็นธรรมชาติเนื่องจากรังสีเอกซ์เป็นรังสีกลุ่มมีประจุ ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อเซลล์ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างของผู้ป่วย และระยะเวลาในการตรวจ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีที่ผิวหนังประมาณ 20-50 mGy/min โดยทั่วไประยะเวลาในการตรวจไม่นานนัก แต่จากการศึกษาของ Food and Drug Administration (FDA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ entitled Radiation-induced Skin Injuries from Fluoroscopy  และได้แสดงว่า radiation burn ไม่ใช่ภาวะปกติที่จะเกิดได้จากการฟลูโอโรสโคปี

        แม้ว่าปริมาณรังสีที่ต้องการสำหรับการฟลูโอโรสโคปีเพื่อให้ได้ภาพ 1 ภาพ นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดา แต่ผู้ป่วยอาจได้รับรังสีปริมาณมากได้หากถ่ายภาพจำนวนมากในแต่ละ series เนื่องจากโดยทั่วไปการถ่ายภาพ spot images จะถ่ายที่ความเร็ว 2-6 ภาพต่อวินาที เพื่อให้ได้ภาพของการไหวเวียนของเลือดในระยะต่างๆ เพื่อดูระบบการไหลเวียน การค้างของเลือดในตำแหน่งต่างๆ  เป็นต้น ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเวลาในการฟลูโอโรสโคปีซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักสำหรับการคำนวณปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ

          ในระหว่างการฟลูโอโรสโคปี ลำรังสีเอกซ์จะถูกส่องผ่านพื้นที่ต่างๆ บนร่างกายผู้ป่วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงจึงได้แก่พื้นที่หลักที่ได้รับรังสี เช่น ศีรษะ ช่องท้องซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ได้รับปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) สูง รวมไปถึงผิวหนังบริเวณนั้นด้วย อีกปัจจัยหนึ่งก็คือปริมาณรังสีโดยรวมที่ผู้ป่วยได้รับตลอดการตรวจซึ่งจะพิจารณาจากค่า Kerma Area Product

          การป้องกันอันตรายจากรังสีจะต้องคำนึงถึงอวัยวะที่ไวต่อรังสีที่อาจได้รับรังสีโดยตรงเนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ในพื้นที่ๆ ต้องการตรวจ  หรืออวัยวะที่ไวต่อรังสี เช่น ganad และ breast อีกประการหนึ่งก็คือผิวหนังที่หากได้รับรังสีเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิด radiation injuries ได้หากได้รับรังสีปริมาณสูง ดังนั้นในการตรวจจำเป็นจะต้องทำการถ่ายภาพ spot images น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากแต่จำเป็นต้องได้ภาพเพื่อการวินิจฉัยที่ครบถ้วนเช่นกัน ดังนั้นระบบฟลูโอโรสโคปีรุ่นใหม่จะมีความไวของระบบมากขึ้น โดยเฉพาะตัวรับภาพชนิด flat panel detector จะทำให้ได้ภาพเอกซเรย์ที่มีคุณภาพได้โดยใช้ปริมาณรังสีน้อยลง

แนวทางการป้องกันอันตรายจากรังสีที่สำคัญได้แก่การกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสม การใช้เวลาในการตรวจที่สั้น และ การเพิ่มระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเอกซเรย์ การใช้วัสดุกั้นรังสี ตามแนวทาง ALARA (As Low As Reasonably Achievable) หรือ ALARP (As Low As Reasonably Practicable) การลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วยเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับด้วยเช่นเดียวกัน

 

แนวทางการป้องกันอันตรายจากรังสีในการปฏิบัติงานสำหรับการควบคุมเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดได้แก่

1.  การเพิ่มค่า kV จะช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับโดยเฉพาะ skin dose เพราะว่าค่า kV ที่สูงจะทำให้ลำรังสีมีอำนาจทะลุทะลวงสูง ดังนั้นจึงต้องการปริมาณรังสีน้อยลงเพื่อให้มีปริมาณรังสีผ่านร่างกายผู้ป่วยไปยังตัวรับภาพได้อย่างเพียงพอต่อการสร้างภาพปกติ หากแต่ค่า kV มีผลต่อ contrast ของภาพ โดยค่า KV ที่ต่ำจะทำให้ได้ค่า contrast ที่สูง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ low kV ในการตรวจซึ่งใช้ water soluble iodinated contrast medium ในการตรวจ

2.  ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการฟลูโอโรสโคปีก็คือเวลา ในการตรวจที่ดีจะต้องใช้เวลาฟลูโอโรสโคปีน้อยที่สุดในขณะที่ได้ข้อมูลภาพรังสีที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยรอยโรคได้ การใช้ pulsed fluoroscopy mode ที่ตั้งค่า pulse rate ต่ำ จะทำให้ absorbed dose ลดลง หากแค่เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดบางรุ่นไม่สามารถปรับค่า pulse rate ได้ อย่างไรก็ตามการใช้ pulsed fluoroscopy mode ก็ยังจะช่วยลดปริมาณรังสีได้มากกว่า continuous fluoroscopy mode

3.  การใช้ระบบ automatic brightness control (ABC) ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการให้ปริมาณรังสีที่ต่ำแก่ผู้ป่วย เพราะว่าระบบ ABC จะสร้างภาพที่ดี (good image) ในผู้ป่วยที่มีความหนาของร่างกายแตกต่างกันไป ดังนั้นค่าปริมาณรังสีจึงขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ที่แต่ละบริษัทตั้งไว้ อย่างไรก็ตามระบบเอกซเรย์หลอดเลือดในปัจจุบันล้วนตั้งระบบการถ่ายภาพรังสีเป็น ABC ทั้งสิ้น

4.  การเปลี่ยน field of view หรือการ magnification จะส่งผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ การลด field of view หรือ การเพิ่ม magnification ระบบจะเพิ่มปริมาณรังสีในการรับภาพ ดังนั้นปริมาณรังสี (absorbed dose) จะสูงขึ้น โดยมีค่าประมาณที่สำคัญคือ

  • Field of view, diameter 25 cm Dose rate= 0.3 mGy/s
  • Field of view, diameter 17 cm Dose rate = 0.6 mGy/s
  • Field or view, diameter 12 cm Dose rate = 1.23 mGy/s.

5.  การฟลูโอโรสโคปีไล่ตรวจไปตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายมีผลต่อปริมาณรังสี การฟลูโอโรสโคปีส่องตรวจตำแหน่งเดิมนานๆ จะทำให้อวัยวะและผิวหนังบริเวณนั้นได้รับปริมาณรังสีที่มากกว่าบริเวณอื่น สิ่งที่ต้องระวังก็คือการ overlapped area เนื่องจากการเอียงหลอดเอกซเรย์ การถ่ายภาพท่า oblique  เพราะจะทำให้อวัยวะภายในได้รับปริมาณรังสีสูงขึ้นด้วย

6.  การถ่ายภาพ spot series ที่มีความเร็วมากเกินจำเป็น หรือการถ่ายภาพจำนวนมากแล้วนำมาเลือกเฉพาะภาพที่ต้องการทีหลังจะทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่มาก การใช้ collimator ที่พอเหมาะกับพื้นที่ๆ ต้องการ การจัดให้ระยะทาง (ช่องว่าง)ระหว่างผู้ป่วยกับตัวรับภาพน้อยที่สุด การปรับมุมของ c-arm ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการก่อนถ่ายภาพจะช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ

7.  ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดจะพิจารณาง่ายๆ จากปริมาณรังสีที่ผิวหนัง (skin absorbed dose) ซึ่งทั่วไปจะมีค่าประมาณ 30mGy/min หากทำการตรวจประมาณ 5 นาที (fluoroscopic time) ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีที่ผิวหนัง 150 mGy ดังนั้นหากทำการตรวจนานขึ้นผู้ป่วยก็จะได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น   

8.  การดูแลรักษาเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดที่ไม่ดี การไม่ทำ maintenance จะทำให้เครื่องทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และการทำงานของรังสีแพทย์ นักรังสีการแพทย์ที่ควบคุมเครื่องที่ไม่ได้ห่วงใยต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี หรือขาดทักษะในการใช้งานเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงาน และจะทำให้ใช้เวลาในการตรวจนานขึ้น การกำหนดค่าฟังชั่นต์ต่างๆ มีความคลาดเคลื่อน ส่งผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับเพิ่มขึ้นด้วย

9.  ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต้อกระจกแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานประจำในห้องตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด เนื่องจากมีรายงานถึงการเกิดต้อกระจกในรังสีแพทย์และพยาบาล โดย VANO et al., Lens injuries induced by occupational exposure in non-optimised interventional radiology laboratories, Br. J. Radiol. 1998; 71 : 728-33 และการเกิดปัญหาตาในรังสีแพทย์  โดย HASKAL Z .J. Interventional radiology carries occupational risks for cataracts, RSNA News, June 2004, p 5 ทำให้ปัญหาเรื่องต้อกระจกอยู่ในความสนใจของthe International Commission on Radiological Protection (ICRP) เนื่องจากในปัจจุบันการเพิ่มปริมาณการรักษาผู้ป่วยในบางหน่วยงานสูงเกินกว่า 1000 รายต่อปี ดังนั้นการใช้แว่นตาตะกั่วจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในการป้องกันอันตรายจากรังสีนี้

10. การทำงานระยะยาวในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด โดยไม่ได้รับอันตรายจากรังสีเกินกว่ามาตรฐานนั้นมีความเป็นไปได้ โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างเพียงพอ ได้แก่ 0.25-0.35 มม.ตะกั่ว สำหรับชุดตะกั่วทั่วไป การใส่แว่นตาตะกั่ว การใช้ thyroid shield และการไม่ละเลยต่อผลของรังสีด้วยความเป็นมืออาชีพ จะทำให้การป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างการทำงานเกิดขึ้นอย่างพอเพียง

ด้วยความตระหนักต่ออันตรายจากรังสีนี้นักรังสีการแพทย์และ/หรือผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิคจะต้องดูแล อุปกรณ์กันรังสี โดยอุปกรณ์ป้องกันรังสี ได้แก่

1)   การใช้ชุดตะกั่วและ thyroid shield

2)   การใช้ถุงมือตะกั่ว

3)   การใช้ provided lead shield เช่น ฉากตะกั่ว แผ่นตะกั่ว table side shield

 

สำหรับผู้ปฏิบัติงานในห้องตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด หากเลือกจะใส่ชุดตะกั่ว แบบ 1 ท่อน จะป้องกันรังสีเฉพาะด้านหน้า ดังนั้นจึงไม่ควรหันหลังให้กับแหล่งกำเนิดเอกซเรย์ โดยมีหลายขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามความหนาของตะกั่ว สำหรับชุดตะกั่วแบบ 2 ท่อน จะมีน้ำหนักมากกว่าแต่จะช่วยลดแรงถ่วงน้ำหนักที่ไหล่ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องรับน้ำหนักของชุดมาก  สำหรับ thyroid shield จะช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีที่มีต่อ thyroid gland ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไวต่อรังสีอวัยวะหนึ่ง

 

ถุงมือตะกั่ว ใช้สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงานใส่ขณะใช้จับตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจจะต้องยื่นมือเข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับรังสีด้วย

 

ฉากตะกั่ว ใช้สำหรับกำบังรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน ที่จำเป็นต้องอยู่ในห้องตรวจเอกซเรย์จอภาพเรืองแสง ขณะทำการตรวจ โดยเมื่อยืนหลังฉากตะกั่ว จะได้รับรังสีกระเจิง (scattered ray) ลดลง 50% แต่ฉากตะกั่วมีน้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก จึงมักตั้งอยู่ในตำแหน่งประจำ

 

Table side shield เป็นชุดป้องกันตะกั่วที่ติดตั้งมาพร้อมตัวเครื่องซึ่งสามารถถอดออกได้ มักประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ lower piece ซึ่งเป็นแผ่นตะกั่วขนาดใหญ่ ใช้กำบังรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีซึ่งมักอยู่ใต้เตียง ป้องกันรังสีกระเจิงระดับ 2nd scatterd ray มาถึงผู้ปฏิบัติงานโดยตรง และ upper piece จะช่วยลดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านผู้ป่วยหรือเตียงขึ้นมายังตัวรับภาพไม่ให้กระเจิงมายังผู้ปฏิบัติงาน ในภาวะปกติสามารถพับเก็บหรือถอดออกได้ แต่ควรใช้งานเพื่อป้องกันรังสีให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากต้องได้รับรังสีเป็นประจำ

การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งที่หน่วยงานจะต้องจัดเตรียมให้ โดยถือเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานเองจะต้องตระหนักถึงอันตรายจากรังสีและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ความเคยชินบางประการทำให้อาจได้รับรังสีโดยไม่ตั้งใจได้ ดังนั้นการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพจึงเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่ง

 

บรรณานุกรม

  1. _______________________. Fluoroscopy (Barium meal x-ray) Room. Envirtotect radiation shielding . http://www.envirotectltd.co.uk
  2. _______________________.
    Fluoroscopy. http://rpop.iaea.org/RPOP/RPoP/Content
    /InformationFor/HealthProfessionals/1_Radiology/Fluoroscopy.htm
  3. _______________________.
    Interventional radiology. http://rpop.iaea.org/RPOP/RPoP/Content/InformationFor/HealthProfessionals/4_InterventionalRadiology/index.htm
  4. _______________________. X-ray. http://en.wikipedia.org/wiki/X-ray
  5. _______________________.
    Radiation protection. http://en.wikipedia.org/wiki/Radiation_protection 

 

คำสำคัญ (Tags): #protection#radiation
หมายเลขบันทึก: 420244เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอข้อมูลเกียวกับ รังสีทางการแพทย์ ลักษณะการทำงาน อันตรายจากการทำงานในห้องปฏิบัตการรังสีแพทย์หน่อยครับ ส่งให้ ที่ [email protected] จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท