ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหนตอนที่2


อีกเรื่องหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น กฐิน : พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายจะให้ภิกษุทำจีวรเป็นด้วยตนเองด้วยกันทกรูป และให้พร้อมเพรียงกันทำด้วยมือของตัวเองในเวลาอันรวดเร็ว. ถ้าผ้าที่ช่วยกันทำนั้นมีผืนเดียวก็มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของภิกษุองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าอาวาส แต่เป็นภิกษุจซึ่งหมู่สงฆ์เห็นว่ามีคุณสมบัติสมควรที่จะใช้จีวรผืนนั้นได้หรือขาดแคลนผ้าจะใช้สอย ให้เป็นผู้ใช้สอยจีวรผืนนั้นได้ในนามของสงฆ์ทั้งหมด.
     พระองค์ทรงมุ่งหมายจะให้พระทุกรูปหมดความถือเนื้อถือตัว ไม่ว่าจะเป็นพระผู้น้อย สมภารเจ้าวัดหรือพระผู้ใหญ่มีศักดิ์มีเกียรติอะไรก็ตาม ต้องลดตัวลงมาเป็นกุลีกันหมดในวันนั้นเพื่อจะมาระดมกันกะผ้าตัดผ้าเย็บผ้า ต้ม แก่นไม้ทำสีย้อมผ้า และอะไร ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะให้จีวรนั้นสำเร็จได้ไนวันนั้น เพราะเป็นการรวบรวมเอาเศษผ้ามาต่อกันเป็นจีวร. พระพุทธเจ้าท่านทรงมุ่งหมายให้สิ่งที่เรียกว่ากฐินเป็นอย่างนั้น คือไม่ต้องไปเกี่ยวกับฆราวาสเลยก็ได้แต่เดี๋ยวนี้กฐินกลายเป็นเรึ่องมีไว้สำหรับประกอบพิธีหรูหราหาเงินเอิกเกริกเฮฮาสนุกสนาน พักผ่อนหย่อนใจโดยไม่ได้รับผลสมความมุ่งหมายอันแท้จริง แต่กลับใช้เวลามาก เปลืองเงินมากยุ่งยากมาก จนกลายเป็นโอกาสลาหรับทำสำมะเลเทเมา คือไปทอดกฐินเพื่อกินเหล้ากินปลาเล่นไพ่เฮฮากันอย่างสนุกสนานหรือไม่ก็มุ่งหน้าหาเงินกันเท่านั้น.
     พุทธศาสนา "เนื้องอก" ทำนองนี้ มีขึ้นใหม่ ๆ มากมายหลายร้อยอย่างโดยไม่ต้องระบุชื่อ เพราะมากจนระบุไม่ไหวแต่อยากจะให้เชื่อว่า "พุทธศาสนาเนื้องอก" เป็นเนื้อร้ายชนิดหนึ่งซึ่งงอกขึ้น ๆ จนปิดบังห่อหุ้มเนื้อดีหรือแก่นแท้ของพุทธศาสนาให้ค่อย ๆ ลบเลือนไป : ด้วยเหตฉะนี้แหละสิ่งที่เราเรียกว่าพุทธศาสนา ๆ จึงมีเพิ่มขึ้นมากมายหลายประเภทจากตัวแท้ ของศาสนาที่มีอยู่ดั้งเดิม เกิดเป็นนิกายใหญ่และนิกายย่อย ๆ อีกตั้ง๒๐-๓๐ นิกาย ที่กลายเป็น นิกายตันตระ ที่เนื่องกับกามารมณ์ไปก็มี จำเป็นที่จะต้องแยกแยะให้รู้จักตัวพุทธศาสนาเดิมแท้ไว้เสมอจะได้ไม่หลงงมงายยึดถือเปลือกที่หุ้มภายนอกหรือติดแน่นในพิธีรีตองต่าง ๆ จนเป็นการประพฤติผิดไปจากความมุ่งหมายเดิมที่ถูกต้องยิ่งขึ้น.
     เราควรยึดกายวาจาบริสุทธิ์ให้เป็นที่พึ่งของจิตบริสุทธิ์เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่าอะไรถูก แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามนั้น. อย่าได้ถือว่าถ้าเขาว่าเป็นพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นพุทธศาสนา. เนื้องอกนั้นได้งอกมาแล้วนับตั้งแต่วันหลังจากพระพุทธปรินิพพาน และยังงอกเรื่อย ๆ มา กระจายไปทุกทิศทุกทางจนกระทั่งบัดนี้เลยมีเนื้องอกก้อนโต ๆ อย่างมากมาย.
     พวกเราเองจะไปอ้างเอา "พุทธศาสนาเนื้องอก" มาถือว่าเป็นพุทธศาสนาไม่ได้ หรือ คนในศาสนาอื่นจะมาชี้ก้อนเนื้องอก เหล่านี้ ซึ่งมีอยู่อย่างน่าบัดสีอย่างน่าละอายว่าเป็นพุทธศาสนา ก็ไม่ถูกเหมือนกัน คือไม่เป็นการยุติธรรมเพราะสิ่งนี้ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่เป็น "เนึ้องอก" พวกเราที่จะช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย หรือเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองก็ตาม จะต้องรู้จักจับฉวยให้ถูกตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ไปถูกชิ้นเนื้อร้ายเนื้องอกดังที่กล่าวมาแล้ว.
     แม้พุทธศาสนาตัวแท้ก็ยังมีหลายแง่หลายมุม ที่จะทำให้เกิดการจับฉวยเอาไม่ถูกความหมายที่แท้ของพระพทธศาสนาก็ได้.
     ถ้ามองด้วยสายตาของนักศีลธรรม ก็จะเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศีลธรรม (Moral)เพราะมีกล่าวถึงบ6ญบาป ความซื่อตรง ดีชั่ว ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความเป็นคนที่เปิดเผยตัวเองและอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฏกทั้งนั้น แม้ชาวต่างประเทศก็มองดูในส่วนนี้อยู่มาก หรือว่าชอบพุทธศาสนาเพราะเหตุนี้ก็มีอยู่มาก.
     พุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง สูงขึ้นไปเป็นสัจจธรรม (Truth)คือ กล่าวถึงความจริงที่ลึกซึ้งเร้นลับนอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้. ส่วนนี้ก็ได้แก่ความรู้เรื่องความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา) เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) ความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา); หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทกข์เป็นอย่างไร ; ในฐานะเป็นความจริงอันเด็ดขาดที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้(อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะเป็นสัจจธรรม.
     พุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศาสนา (Rcligion)คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น. และปัญญาที่รู้เห็นความหลุดพ้น ว่างมือใครปฏิบัติ แล้วจะหลุดพ้นไปจากความทุกข์ได้จริง. นี่เรียกว่า พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา.
     เรายังมี พุทธศาสนาในเหลี่ยมที่เป็นจิตทยา(psychology)เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกภาคสุดท้าย กล่าวบรรยายถึงลักษณะของจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เป็นที่งงงันและสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่จะอวดไดัว่าแยบคายหรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลกปัจจุบันไปเสียอีก.
     พุทธศาสนายังมีเหลี่ยมความรู้ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปรัชญา(philosophy)คือสิ่งที่ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการคำนึงคำนวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตผลแห่งการคำนึงคำนวณระบอบหนึ่ง. แต่ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือค้วยการพิสูจน์ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้เห็นชัดด้วย" ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ (science) ได้. ความรู้อันลึกซึ่งเช่นเรื่องสุญญตาย่อมเป็นปรัชญาสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไปพลางก่อน; แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระอรหันต์; เพราะท่านได้เห็นแจ้งประจักษ์แล้วด้วยจิตใจของท่านเองไม่ต้องคำนึงคำนวณตามเหตุผล.
     หลักพระพุทธศาสนาบางประเภท ก็เป็นวิทยาศาสตร์ โดยส่วนเคียว เพราะพิสูจนได้ชัดแจ้งด้วยความรู้สึกภายในใจของผู้มีสติปัญญา ; โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็นต้น. ถ้าผู้ไดมีสติปัญญาสนใจศึกษาค้นคว้าแล้วจะมีเหตผลแสดงอยู่ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง.
     สำหรับบุคคลผู้บูชาวัฒนธรรม ก็จะพบว่ามีคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาหลายข้อที่ตรงกับหลักวัฒนธรรมสากล. และมีคำสอนอีกมาก ที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยเฉพาะ ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย.
     แม้พุทธศาสนาส่วนที่เป็นตรรกวิทยา (logic)ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มีมากด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมปิฎกบางคัมภีร์ เช่นคัมภีร์กถาวัตถุเป็นต้น.

หมายเลขบันทึก: 420044เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท