การจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง


การจัดทำแผนกลยุทธ์

             การจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง

        ความหมายของแผนกลยุทธ์

        การวางแผนกลยุทธ์  เป็นการคิดอย่างมีระบบภายใต้การร่วมคิดตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง  บนขีดความสามารถสูงสุดที่จะกระทำได้  เพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานบรรลุพันธ์กิจและเป้าประสงค์ที่ถูกกำหนดไว้  ซึ่งจะใช้เป็นองค์ประกอบหลักของเงื่อนไขข้อตกลงการใช้งบประมาณระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงาน

         การวางแผนงบประมาณ  เป็นมาตรฐานแรกที่หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการ  เริ่มด้วยการจัดทำแผนกลยุทธ์และการจัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  เพื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองนโยบาย  เป้าหมายของโรงเรียน  มีผลผลิต  ผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและสามารถวัดผลได้  รวมทั้งมีการกำหนดค่าใช้จ่ายแต่ละแผนงาน /โครงการ/งาน/กิจกรรม 

       แนวทางการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

       การดำเนินการมี  3  ขั้นตอน ดังนี้

       ขั้นตรียมการ

       1.  สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องกับโรงเรียนทุกกลุ่ม  ได้แก่  ผู้บริหาร  ครู  ผู้ปกครองและชุมชน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

       2.  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างกลยุทธ์สถานศึกษา 

       3.  แจกเอกสารชุดปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางและเอกสารการวางแผนกลยุทธ์ ให้คณะกรรมการร่างกลยุทธ์สถานศึกษาเพื่อให้นำไปศึกษาทำความเข้าใจล่วงหน้าอย่างน้อย  1  สัปดาห์

       4.  ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างกลยุทธ์สถานศึกษาเพื่อทบทวนทำความเข้าใจเอกสารที่ใช้เป็นคู่มือในการจัดทำแผนกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางอีกครั้ง  และจัดทำแผนการดำเนินการ

       5.  จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานของสภาพแวดล้อมภายนอก  และสภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษา

       6.  เตรียมความพร้อมด้านวัสดุ  อุปกรณ์  ค่าใช้จ่าย  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

       ขั้นดำเนินการ

       1.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน

       2.  ประเมินสถานภาพของโรงเรียน

       3.  จัดวางทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน

       4.  กำหนดกลยุทธ์สถานศึกษา  มี

           4.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร

           4.2 กลยุทธ์ระดับแผนงาน

                1.1  กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จกลยุทธ์ระดับแผนงาน

                1.2  จัดทำโครงสร้างแผนงานและโครงการ

                1.3  จัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

       ขั้นแสดงผลความสำเร็จ

       1. จัดทำกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางฉบับร่าง

       2. นำเสนอกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางฉบับร่างต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มเพื่อรับข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

       3. ปรับกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางตามข้อเสนอแนะ

       4.  นำเสนอกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อพิจารณาเห็นชอบหรืออนุมัติ

       5.  นำเสนอกลยุทธ์สถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง     ต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา               

        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน

        1.  สภาพแวดล้อมภายนอก

            1.1 สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป

                 1) ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม

                 2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี

                 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

                 4) ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย

             1.2  สภาพแวดล้อมภายนอกเชิงปฏิบัติการ

                 1) สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภารกิจโดยตรงของโรงเรียน

                 2) ลักษณะของกลุ่มสังคมผู้รับผลประโยชน์และผู้รับบริการ

                 3) ภาระงานที่เป็นความต้องการเร่งด่วน

                 4) ความพร้อมของสถานการณ์ในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

                 5) ความร่วมมือของกลุ่มบุคคล

      2.  สภาพแวดล้อมภายใน  ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก  6  ด้าน  คือ

           2.1  โครงสร้างและนโยบายของโรงเรียน

           2.2  การให้บริการและคุณลักษณะผู้เรียน

           2.3  บุคลากร

           2.4  การเงิน

           2.5  วัสดุอุปกรณ์

           2.6  การบริหารจัดการ

          หลังจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งแสดงถึง โอกาสและอุปสรรค    และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียนซึ่งแสดงถึง  จุดแข็งและจุดอ่อน  เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องประมวลผลข้อมูลทั้งสองด้านเข้าด้วยกันเพื่อสรุปเป็นตารางสัมพันธ์แบบเมตริก(SWOT  Matrix)  ซึ่งผลการประเมินสถานภาพของโรงเรียนมีความโน้มเอียงเป็น  4  กรณี  คือ

                1.  กรณีที่  1  เอื้อและแข็ง                  หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส (เอื้อ)  และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นจุดแข็ง  เรียกว่าอยู่ในตำแหน่ง  “ดาวรุ่ง”

                2.  กรณีที่  2  เอื้อแต่อ่อน                    หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส (เอื้อ)  แต่สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นจุดอ่อน  เรียกว่าอยู่ในตำแหน่ง  “เครื่องหมายคำถาม”

                3.  กรณีที่  3  ไม่เอื้อแต่แข็ง                หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค  (ไม่เอื้อ)  แต่สภาพภายในโรงเรียนเป็นจุดแข็ง  เรียกว่าอยู่ในตำแหน่ง  “วัวแม่ลูกอ่อน”

                4.  กรณีที่  4   ไม่เอื้อและอ่อน           หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค  (ไม่เอื้อ)  และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นจุดอ่อน  เรียกว่าอยู่ในตำแหน่ง  “สุนัขจนตรอก” 

         การจัดวางทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน

         การจัดวางทิศทางของโรงเรียนเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าประสงค์

         วิสัยทัศน์

         วิสัยทัศน์คือ  เป้าหมายที่มีลักษณะกว้างๆ  เป็นความต้องการในอนาคต    

         พันธกิจ 

         พันธกิจ  หมายถึง  แนวทางที่องค์กรจะดำเนินงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด   

         เป้าประสงค์

         เป้าประสงค์  คือ  ความคาดหวังสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยสอดคล้องกับพันธกิจ  และวิสัยทัศน์  เพื่อใช้เป็นกรอบชี้นำ  การกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ  รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินความสำเร็จขององค์กร  และกระบวนการดำเนินงาน  เป็นการตอบคำถามว่าใครจะได้ประโยชน์อะไร  อย่างไรจากเรา

          การกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน

          1.  สร้างตารางความสัมพันธ์ผลการวิเคราะห์  SWOT

          2.  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ  SWOT

          3.  สร้างกลยุทธ์ทางเลือก

          4.  กำหนดกลยุทธ์สถานศึกษา

               4.1  กลยุทธ์ระดับองค์กร    นำมากำหนด   แผนงาน

               4.2  กลยุทธ์ระดับแผนงาน  นำมากำหนด   โครงการ

               4.3  กลยุทธ์ระดับโครงการ  นำมากำหนด  กิจกรรม

           5.  กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ

        กรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  (Medium-Term  Expenditure  Framework:MTEF)

        กรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF)  คือแผนที่เชื่อมการตัดสินใจของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเข้ากับกลยุทธ์การาจัดสรรทรัพยากรระยะปานกลาง  MTEF  จะเป็นการประมาณการรายจ่ายในระยะล่วงหน้า 3-4  ปี  โดยประมาณการรายจ่ายใน 2  ส่วน  คือ  รายจ่ายสำหรับโครงการที่ปรากฏตามแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของกรมกระทรวง  จึงเป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ และ MTEF  เป็นแผนที่เชื่อมโยงจากแผนกลยุทธ์ลงสู่แผนการจัดสรรงบประมาณรายปี

 

                เอกสารอ้างอิง  จากหนังสือชุดปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  ของศูนย์ประสานงานปรับระบบงบประมาณ กรมสามัญศึกษา

                            ....................................................

 

หมายเลขบันทึก: 419934เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท