ข้อคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง


การบริหารการเปลี่ยนแปลง

                            ข้อคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

         การที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ  นั้น ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการศึกษาข้อมูลบริบทต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ  และมีข้อคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้

        1.  ข้อผิดพลาดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ควรหลีกเลี่ยง  ดังนี้

             1.1  อย่าพยายามใช้รูปแบบหรือเครื่องมือสำเร็จรูปที่ได้รับการพัฒนาจากภายนอก  แต่ให้พัฒนารูปแบบวิธีสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

             1.2  อย่างเสี่ยงใช้วิธีวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์การแบบสั่งการจากฝ่ายบริหารระดับสูงขององค์การ 

             1.3  อย่าให้ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นเจ้าภาพการเปลี่ยนแปลง  ผู้ที่ควรเป็นเจ้าภาพของการเปลี่ยนแปลงควรเป็นผู้นำของหน่วยงานที่จะทำการเปลี่ยนแปลงนั้น 

             1.4  อย่าให้ความสำคัญกับงานด้านเทคนิคอย่างเดียว 

             1.5  อย่าพยายามที่จะเปลี่ยนทุกอย่างในครั้งเดียว  ถ้าองค์การไม่อยู่ในภาวะวิกฤตร้ายแรงให้ทำการเปลี่ยนแปลงจากส่วนงานรอบนอกที่ไกลจากส่วนงานกลางก่อน 

        2.  เริ่มกาเปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง

         เทคนิคในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่ได้ผลก็คือ  การเริ่มการเปลี่ยนแปลงจากระดับล่างก่อนที่จะขยายไปสู่งานอื่นๆ  อย่างธรรมชาติ  โดยไม่มีการผลักดันจากระดับบน  นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดถ้าเริ่มในส่วนงานขนาดเล็กที่ดูแลบริหารตนเอง และเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะเริ่มกระจายออกไปสู่องค์การในวงกว้าง 

        3.  ความเคยชิ้นของผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง

         การละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ทำให้การเปลี่ยนแปลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 

       4.  บทบาทของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการเปลี่ยนแปลง

         ฝ่ายพัฒนาบุคลากรจะมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงในการให้การสนับสนุนที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ  ดังนี้

         4.1  ช่วยฝ่ายบริหารในการจัดจ้าง  และกำหนดขอบเขตงานขององค์การที่ปรึกษา

         4.2  จัดหาตำแหน่งงานใหม่หรือทำเรื่องเลิกจ้างบุคลากรต้องสูญเสียงานเดิมอันเนื่องมาจากผลการเปลี่ยนแปลง

         4.3  วางแผนการฝึกอบรมแก่บุคลากร

         4.4  อำนวยความสะดวกสำหรับการจัดประชุมหรือการประชุมนอกสถานที่

         4.5  ช่วยทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงนั้นหยั่งรากในองค์การ  ด้วยการออกแบบและพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้ผลตอบแทน

      5.  การใช้ที่ปรึกษาในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

           ในบริบทของการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะมีที่ปรึกษา  2  ประเภท  ดังนี้

                1.  ที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ    ซึ่งจะช่วยออกแบบส่วนขององค์การที่ต้องการเปลี่ยนแปลง  เช่น  ยุทธศาสตร์ที่ต้องเปลี่ยนแปลง  โครงสร้างหรือระบบขององค์การที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง 

                2.  ที่ปรึกษาด้านกระบวนการ  จะให้คำปรึกษาถึงวิธีและกระบวนการต่างๆ  เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลง  และช่วยในการดำเนินการเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งให้คำชี้แนะและกำกับการสร้างผู้นำและสร้างทีมสำหรับการเปลี่ยนแปลง

                ที่ปรึกษาทั้ง  2   ประเภทนี้จะช่วยให้องค์การมีความพร้อมในการนำการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น  และมักดำเนินการผ่าน  4  กระบวนการหลัก  ดังนี้

                5.1  วินิจฉัยองค์การเบื้องต้น (Diagnosis)  จะมีทีมงานของที่ปรึกษารวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

                      1)  หาว่าสถานการณ์ปัจจุบันขององค์การเป็นอย่างไรของผลการดำเนินงานบ้างด้าน

                     2)  หาปัญหาและสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้นที่สะท้อนให้เห็นจากผลการดำเนินการบางด้านขององค์การ

                5.2  ประเมินความพร้อมขององค์การ (Capabilities  Assessment)  เป็นการประเมินความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงขององค์การในด้านต่างๆ 

                5.3  พัฒนายุทธศาสตร์ (Strategy  Development)  ด้วยการทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารที่ปรึกษาจะพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับการบรรลุถึงระดับผลการดำเนินการที่ต้องการ 

                5.4  การดำเนินการ (Implementation)  ที่ปรึกษาจะให้การฝึกอบรมและทำงานร่วมกับทีมของบุคลากรในองค์การในการวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ใน  4  กระบวนการหลัก    ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องวางบทบาทของที่ปรึกษาว่าจะให้เป็นตัวหลักในการทำงานในกระบวนการใดและมีบทบาทเป็นส่วนสนับสนุนในกระบวนการใด  โดยพิจารณาจากความเหมาะสมตามสภาพการณ์

                                           ............................

                                                        อ้างอิง

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สพฐ,  กพร. (2553) .  การบริหารการ

             เปลี่ยนแปลง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

               

หมายเลขบันทึก: 419928เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เวลาเปลี่ยนคนต้องเปลี่ยน

ถ้าคนไม่เปลี่ยน ต้องเปลี่ยนคน แต่ทำได้ยากจังเลย

การบริหารการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจะมีแรงต้าน ต้องประลองกำลัง จึงจะร่วมมือครับ

ผมเอาบทความที่เขียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

http://gotoknow.org/blog/phapun6324/390378

     สวัสดีครับ

  • ตามมาสนับสนุนความคิดเห็น ของท่าน"ผอ.พรชัย"ครับ
  • ชอบวลีนี้มากเลย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจะมีแรงต้าน ต้องประลองกำลัง จึงจะร่วมมือครับ"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท