มือที่ขาวสะอาด คือ มือที่กากบาทเลือกคนดีเท่านั้น


โครงการทักษะชีวิต (จิตสำนึกประชาธิปไตยสู่ความเป็นพลเมืองดี)

28 ธันวาคม พ.ศ 2553

โครงการทักษะชีวิต (จิตสำนึกประชาธิปไตย สู่ความเป็นพลเมืองดี)

                เหตุผลที่ชื่อโครงการ ว่าจิตสำนึกประชาธิปไตย สู่ความเป็นพลเมืองดี ก็มาจากความเชื่อที่ว่า มีแต่วิถีประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะสามารถความจิตสำนึกแห่งการอยู่ร่วมกันได้ หลายคนอาจไม่เห็นด้วยตามนี้ เพราะทฤษฏีทางสัมคมอาจบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่มีธรรมชาติเป็นความป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว โดดเดี่ยว มนุษย์จึงต้องร่วมกลุ่มกันเพื่อเหตุผลทางการป้องกันตัวทางภัยธรรมชาติ หรือความกลัวพื้นฐานต่าง ๆ

 แต่เพราะครูโอ๋ได้เป็นอบรมแกนนำมาเมื่อวันที่ 27 – 28 กันยายน พ.ศ.2553 ที่ เขาใหญ่ สราญรมย์ รีสอร์ท อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

                จึงได้ Project นี้มาจัดอบรมทักษะชีวิต ที่น่าจะจัดกันทุกๆอำเภอใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และด้วยความที่เคยจบปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ การปกครองมา ครูโอ๋ก็เต็มใจจะจัดอบรมเรื่องนี้ ทั้งที่บางพื้นที่ บางตำบลจัดยากเอาเรื่องอยู่ อย่างเช่นบางตำบลครูโอ๋ประสานไปกับทางสถานีอนามัยเพื่อจัดอบรมกับผู้สูงอายุ แต่พอถึงเวลามีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง มีข้าราชการจากหน่วยงานท้องถิ่นแห่งหนึ่งมาขัดขวางไม่ให้ครูโอ๋จัดอบรมประชาธิปไตย เพราะบอกว่าไม่ต้องการประชาธิปไตยบอกว่าเป็นสีใดสีหนึ่งทั้งตัวและหัวใจ ไม่ต้องการการปรองดอง หรือให้ใครมาให้ความรู้ประชาชนในเรื่องประชาธิปไตย  เหมือนกับเขาระแวงว่า กศน.จะไปปลุกระดมอะไรก็มีนะ ตรงนี้คิดว่าน่าจะมาจากการขาดการประสานงาน ทำให้ไม่เข้าใจในจุดประสงค์ที่แท้จริงของการอบรม  ก็เป็นงานในส่วนที่ครูโอ๋ต้องแก้ไข และไปชี้แจงให้ผู้ใหญ่ในพื้นที่ทราบภายหลัง เพื่อจะจัดอบรมใหม่ให้ได้ตามแผน กศน.ที่วางไว้

                ส่วนภาพที่นำมาประกอบนี้ เป็นการอบรม โครงการทักษะชีวิต ที่ตำบลหัวเวียง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553 วันที่ทั้งสำนักงานเขาไปประชุมที่จังหวัดกันหมด แต่เนื่องจากนัดชาวบ้านไว้แล้ว จึงไม่สามารถเลื่อนได้ วันนั้นเลยต้องออกไปจัดอบรมคนเดียว แต่มีทีมงานอีก 4 คน โดย 2 คนแรก เป็นคุณหมอ หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลหัวเวียง คุณหมอจิน (อาสาสมัคร กศน.ตำบลหัวเวียง) คนที่ 2 คุณหมอยะ และ คนที่ 3 คุณนฤพร   กับ พี่ศรี  ลูกศิษย์กศน.ตำบลหัวเวียง

                เริ่มแรกกล่าวเปิดโครงการแบบง่าย

                ตามด้วย กล่าวถึงที่มาของโครงการ และจุดประสงค์  ภายใต้ความคิดเรื่องประชาธิปไตยใกล้ตัว เช่น การเลือกตั้ง

                เรากล่าวสโลแกนที่ฟังติดปากก่อน เช่น “ มือที่ขาวสะอาด คือ มือที่กากบาทเลือกคนดี”  ตรงนี้มาจากความคิดว่า ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ต้องมีการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง  จึงมีความคิดว่า ควรสร้างความเชื่อใหม่ให้ชาวบ้าน ว่าการรับเงินเขามาแล้วไม่เลือกเขานั้น ไม่ได้เป็นการทำบาป แต่การที่ไม่ได้เลือกคนดี นั้นน่าจะบาปกว่าเพราะมีผลอย่างไรต่อบ้านเมืองบ้าง

                แล้วนำเข้ากิจกรรมแรก

                กิจกรรมแรก ความเชื่อพื้นฐานเรื่องความแตกต่างของมนุษย์

                เราให้เล่นเกมต่อจิกซอว์ 

โดยมีคำหลักพิมพ์ใส่ไว้ในกระดาษสีเขียว ต่อไปนี้

-          คนพิการ

-          คนจน

-          คนติดเอดส์

-          นักการเมืองชาย

-          นักการเมืองหญิง

-          คนจีน

-          ผู้หญิงสวย

-          ผู้ชายหล่อ

-          หมออนามัย

-          สมัชชาคนจน

-          คนแก่

แล้วพิมพ์คำต่อไว้ในกระดาษสีชมพู โดยเราจะให้ผู้เล่น อ่านคำในกระดาษสีชมพูแล้วนำมาต่อกับคำในกระดาษสีเขียว โดยคำในกระดาษสีชมพูจะเป็นการบอกความรู้สึกที่เรามีต่อบุคคลในกระดาษสีเขียว คำในกระดาษสีชมพู มีดังนี้

-          อาร์ตตัวแม่

-          อาร์ตตัวพ่อ

-          มีอิทธิพล

-          เข้มแข็ง

-          ถูกเอาเปรียบ

-          ขี้เหนียว

-          ฉลาด

-          ชอบเที่ยว

-          ขยัน

-          ประหยัด

-          เจ้าชู้

-          ไม่เด็ดขาด

-          อ่อนแอ

-          เก่ง

-          จู้จี้ ขี้บ่น

-          ขี้เกียจ

-          สำส่อน

-          ขี้โกง

-          ดูโง่ๆ

-          แข็งแรง

-          กรรมเวร

-          อดทน

-          ก้าวร้าว

-          อยากดัง

-          น่ารังเกลียด

-          รักเด็ก

-          รับผิดชอบสูง

-          เสียสละ

จบเกมนี้เราได้ความคิดเห็นที่หลากหลายมากจากคนหลาย ครูโอ๋ชอบเกมนี้ ทำให้ได้ฟังบางคนพูดถึง ความรู้สึกที่มีต่อบุคคลในแง่มุมต่างๆออกมา ซึ่งจะเห็นว่าบางคนไม่ค่อยพูดก็มีโอกาสได้บอกอะไรกับเราจากตัวหนังสือ ทำให้รู้ว่าในแต่ละตำบลหรือแต่ละพื้นที่เขามองคนกลุ่มไหนเป็นอย่างไรกันบ้าง เช่น บางตำบลอาจจะต่อ นักการเมืองชาย ว่า ดูโง่ๆ โดยให้เหตุผลว่าสะท้อนตัวเอง ว่าตัวเองคงโง่กว่าที่เลือกนักการเมืองบางคนมาเป็นผู้แทนที่ไม่ได้เรื่อง

                นั่นแหละทุกคนก็คิดได้ ทุกคนก็ต้องเคารพความคิดกัน ทุกคนก็ต้องฟังกัน แม้ทุกคนจะมีความแตกต่าง แล้วจะแก้ปัญหาความแตกต่างได้อย่างไร ก็วิถีประชาธิปไตยอย่างไรละ ถ้าแตกต่างกันก็ต้องโหวตให้เสียงข้างมากชนะ แค่ชนะไม่ได้แปลว่า ผิดหรือถูก คือคนส่วนใหญ่เขายอมรับกันแบบนั้น ตรงนี้แหละคือส่วนสำคัญที่เกมจะสอนคนให้คิดได้

                กิจกรรมที่ 2 การสื่อสารอย่างสันติ

                ให้แต่ละทีม มายื่นเข้าแถวตอนลึก เล่นเกมสื่อสารกัน โดยให้คนแรกมาอ่านแผ่นคำด้านหน้าแล้วนำคำที่อ่านไปกระซิบบอกต่อกัน เพื่อดูว่ากว่าจะถึงคนสุดท้ายสารที่คนแรกอ่านนั้นจะเหลือไปถึงคนสุดท้ายครบถ้วนหรือเปล่า

                ในระหว่างเล่น เราให้เล่นทีละทีม แล้วให้ทีมที่เหลือนั่งล้อมวงอยู่ข้าง ช่วยกันร้องเพลง ปรบมือ รำบ้างเต้นบ้าง เพื่อรบกวนสมาธิคู่ต่อสู้ค่ะ

                                โดยประโยคที่เรานำมาเล่น ก็มีต่อไปนี้

-          กุ้งกลัดกลุ้มเลยกัดแก้มของก้องและกระโดดกัดหูของไก่

-          เป๊าะพาเงาะเดินลัดเลาะผ่านเกาะไปหาเอ๊าะที่ป่าละเมาะ

-          ต๊อกแต็กตำหนิต้อมที่แต่งตัวตุ้งติ้งตามโต้งที่เป็นตุ๊ด

เล่นเกมนี้จบชาวบ้านจะเข้าใจเลยนะ ว่าการส่งสาร และ ช่องทางการส่งสาร มันคืออะไร มัน

ผิดพลาดได้ และการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลที่สุด คือ การพูดปากต่อปาก นี่แหละ เรื่องวุ่นวายหลายเรื่องมันก็เกิดจากการสื่อสารที่ขาดจิตสำนึก การพยายามให้ข่าวที่บิดเบือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่าย เพราะฉะนั้นต้องมีวิจารณญาณในการรับข่าวสารด้วยและที่สำคัญควรมีความเชื่อในทางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้ก่อนจะดีกว่า

                เนื่องจากเหลือคนเดียวก็มีกิจกรรมให้ทำเพียงเท่านี้ เพราะเยอะกว่านี้ไม่ไหว

                ต่อจากนี้ก็ให้พี่ๆน้าๆป้าๆที่มาอบรมในครั้งที่ช่วยนำแบบสำรวจข้อมูลประชากรในตำบลไปช่วยทำให้ด้วย ก็ได้รับความร่วมมือกันทุกท่านเลย อบอุ่นใจและต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะค่ะ

 

ตอนเช้า รับลงทะเบียนเข้ารับการอบรม (จิตสำนึกประชาธิปไตยสู่ความเป็นพลเมืองดี)

ช่วงสาย พักรับประทานอาหารว่าง ต้องบริการตัวเองแล้วละ ไม่มีคนชงให้

กิจกรรม การสื่อสารอย่างสันติวิธี (เล่นเกมสื่อสารโดยการกระซิบคำ)

กิจกรรม ความเชื่อพื้นฐานเรื่องความแตกต่างของมนุษย์

พี่ๆคุณป้า และ คุณน้า ช่วยรับแบบสำรวจข้อมูลประชากรของ กศน.ไปทำการสำรวจข้อมูลในตำบลให้ค่ะ

ก่อนจบกิจกรรมในวันนี้ ร่วมกันถ่ายรูปเป็นที่ระลึกค่ะ

หมายเลขบันทึก: 419634เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • แวะมาทักทายจ้า
  • สร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ เพื่อชุมชน
  • เต็มที่จ้า
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]

 เป็นกำลังใจให้ จ๊ะโอ๋ ทำงานก็เก่ง ยิ้มก็สวย..สู๋ๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท