โรงเรียนเตรียมบัณฑิตพิชชาลัย
เตรียมบัณฑิต โรงเรียน เตรียมบัณฑิตพิชาชาลัย

สำรับความคิด


ความคิดเป็นสาระสำคัญของปัญญา

สำรับความคิด                                 

                เป็นการนำสิ่งใกล้ตัวที่คุ้นเคย โดยเฉพาะอุปกรณ์ในห้องครัวมามองคิดพิจารณา ในแง่มุมที่ชวนให้สะดุดใจ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต

       ประจำวัน โดยฝึกการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง   ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไม่มีผิดถูก  สำหรับสูตรเด็ดก้นครัวประกอบด้วย

        4   ขั้นตอน คือ

     ขั้นที่หนึ่ง   จัด  “สำรับ” ให้ “ความคิด” เริ่มต้นจากการฝึกฝนความคิดเกี่ยวกับ

-                 กรรไกร (ตัด)   :   การคิดนอกกรอบ

(นำกรรไกรไปตัดเนื้อไก่และกระดูกไก่แทนที่ไปตัดกระดาษที่คุ้นเคย)

-   แก้วไวน์   :   การคิดแบบยืดหยุ่น

 (นำน้ำเปล่าใส่ในแก้วไวน์แล้วนำเทียนเล็กๆมาลอยเหนือน้ำตั้งไว้ตรงหน้าโต๊ะ   หมู่บูชาประจำบ้าน)

ถาด-น้ำ-แข็ง   :   การไม่ติดต้นแบบ

(ถาดน้ำแข็งที่มีรูปร่างแตกต่างจากรูปเดิมๆคือสี่เหลี่ยมมาเป็นสามเหลี่ยมวงรี    ดาวและหัวใจ หากแม่พิมพ์เป็นรูปทรงไหนก็สามารถทำน้ำแข็งได้ทรงนั้น)

-   เตาอบ   :   การคิดพึ่งตนเอง

(เป็นเครื่องมือที่เตือนให้เรารู้ว่า  เราต้องพึ่งตัวเองและทักษะของตัวเราโดยเฉพาะการสังเกต  การคาดการณ์ถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่อยากได้ขนมอร่อยๆ)

       ขั้นที่สอง   จัด “เครื่องปรุง”  ให้  “จิตใจ”   เกี่ยวข้องกับ

        -   ตาชั่ง   :   การวางใจให้ยุติธรรม

( หากผลไม้ที่สั่งซื้อตรงตามน้ำหนักที่ปรากฏบนตราชั่งแน่นอนเราก็ต้องไปอุดหนุนร้านนี้อีก  แต่ถ้าหากไม่ตรงตามตาชั่ง  แสดงว่าถูกโกงโอกาสที่ไปซื้อน้อยลง ตาชั่งจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความถูกต้อง ความยุติธรรมที่ผู้ขายมีต่อผู้ซื้อ )

        -   แม่พิมพ์ไข่ต้ม   :   การทำใจให้ยืดหยุ่น

( ต้มไข่อย่าให้สุกมากแกะเปลือก  เอามาอัดลงแม่พิมพ์  แล้วแช่ในตู้เย็นทิ้งไว้สักพักใหญ่  ไข่ก็แปรสภาพจากรูปรี ๆ กลายเป็นรูปทรงหัวใจ  ซึ่งแม่พิมพ์จะเตือนให้ใส่ใจกับ ความยืดหยุ่น  แม้แต่ไข่ ไข่ก็ยังพร้อมจะปรับตัวกับสภาพแวดล้อมรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป )

        -   หนังยาง   :   การทำใจให้พร้อมรับความตึงเครียด

( ถ้าหากเราดึงยางจนตึงมากเกินไป  โดยไม่คำนึงถึงความยึดหยุ่นของเนื้อหนังยาง แน่นอน  หนังยางเส้นจิ๋วก็จะขาดสะบั้นจากกันและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  ฉะนั้นเราควรหลีกเลี่ยงเวลาแห่งความตึงเครียด  โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความตึงเครียดอย่างสร้างสรรค์  และรู้จักหันหน้าเข้าหากันหรือยอมยืดหยุ่นบ้าง  ภายหลังเหตุการณ์ก็จะคลี่คลายไปในทางบวก )

       -   มีดปอกผลไม้   :   การฝึกใจให้ตื่นรู้

( หากต้องการปอกมะม่วงให้เรียบเนียนต้องฝึกฝนปล่อยใจให้สบายและหายใจเข้าออกให้ปกติ  ไม่ควรเกร็งเพราะจะทำให้มะม่วงช้ำได้  มีดปอกมะม่วงเชื่อมโยงกับ กาย  จิต และผลผลิตที่งดงามอย่างแนบแน่น )

        -   ตะเกียบ   :   การฝึกใจให้สงบนิ่ง

( การใช้ตะเกียบเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกสภาพจิตใจ  คือต้องทำจิตให้นิ่งและ    จดจ่อมั่นคงก็สามารถใช้ตะเกียบคีบอาหารเข้าปากได้สำเร็จ )

        -   ชุดน้ำชา   :   การเปิดใจรับฟังผู้อื่น

( เปรียบเหมือน  ชาล้นถ้วย  คนที่คิดว่าตนเองเก่งจนลืมคนอื่นๆ  ฉะนั้นควรเปิดใจ

รับฟังคนอื่น  เพื่อจะได้ประเดิมความคิดใหม่ๆดีๆ )

        -   เขียงไม้   :   การฝึกใจให้อดทน

( ไมว่าสิ่งต่างๆ  จะผ่านเข้ามากระทบในชีวิตของเราเหมือนกับการสับหมู มาก

น้อยแค่ไหนก็ตาม  แต่หากเราฝึกฝนตนเองให้รู้จัก “อดทน” กับสิ่งรอบข้าง

เหล่านั้น  เราก็สามารถรักษาตนเองให้กลับสู่สภาพปกติ  เหมือนกับเขียงไม้    

ได้เสมอ )

ขั้นที่สาม   จัด “เครื่องเคียง-มุมมอง” ซึ่งเป็นเครื่องเคียงความคิดได้แก่  

         -   ผ้าปูโต๊ะ   :   ความตระหนักว่าเรื่องราวต่างๆ อยู่ที่มุมมอง

( ความเก่ากับความใหม่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล ) เหมือนกับผ้า       

 ปูโต๊ะ  ซึ่งอยู่กับการใช้งาน

        -   แจกันแก้ว   :   มองหาความสุขใกล้ๆตัว

( แจกันแก้วใส่น้ำใสแจ๋วบวกกับน้ำสะอาดเสียบดอกไม้ลงไปก็สวยเด่น  แต่ถ้า

หลายๆวันลืมเปลี่ยนดอกไม้  ดอกไม้ย่อมเหี่ยวเฉา  แจกันแก้วก็ขุ่นหมอง     

 เปรียบเหมือนกับสัญญาณเตือนสติให้หันมามองตัวเอง  มองหาเวลาในการ

สร้างความสุขให้ตนเอง )

        -   ขวด-น้ำ   :   การฝึกมองจากมุมคนอื่น

( หากเราไม่มองเรื่องราวจากมุมมองเรา แต่หันไปมองเรื่องราวในมุมมองของอีก

คนหนึ่ง  พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา  และลงมือกระทำในสิ่งที่ร้องขอเพียงแค่

นั้นทั้งเราและขาก็สามารถมีความสุขเล็กๆร่วมกันได้  เป็นความสุขที่ได้จาก   

การ “ให้”  ในสิ่งที่เขาต้องการ  เหมือนเด็กผู้หญิงที่ขายดอกไม้ริมถนนขอน้ำขวด)

        -   ชามก๋วยเตี๋ยว   :   การมองเห็นคุณค่าของความเรียบง่าย

( สังคมปัจจุบันเกิดจากการปรุงแต่งสารพัดอย่างในชีวิต  จนบางครั้งทำให้เราลืม

ไปว่า  เราเคยมีความสุขกับการไม่ปรุงแต่ง  ถึงแม้จะมีรสชาติจืดๆ ไม่แตกต่างจาก

ชามก๋วยเตี๋ยวสำหรับเด็ก  แต่ก็แฝงไว้ด้วยคุณค่าที่มีประโยชน์ )

ขั้นที่สี่     จัด “เครื่องเคียง-กาย”   เกี่ยวข้องกับ

 -   กระทะทอดไข่ดาว   :   อย่ารีบด่วนสรุป

( ในการตั้งคำถามกับใครต่อใคร  อย่ารีบด่วนสรุป  หรือด่วนวิจารณ์ “ คำตอบ ”  ที่ได้รับ ควรหันมาสำรวจคำถามว่าชัดเจนเพียงใด และบริบทของคนถามกับคนตอบมีความสอดคล้องกันไหม เหมือนอย่างเรื่องกระทะทอดไข่ดาว+ความต้องการไข่แบบไหน ใช้อะไรทอดหรือใช้กระทะแบบไหน)

 -   ผ้าเช็ดมือ   :   พร้อมปรับเปลี่ยน

( ผ้าเช็ดมือสามารถปรับเปลี่ยนเป็นผ้าเช็ดจานชาม , ผ้าเช็ดช้อนส้อม , ผ้าเช็ดคราบมันผิวกระทะ,  ผ้าขี้ริ้วเช็ดถูสารพัดสิ่ง , ผ้าจับของร้อนๆ  ฉะนั้นคนเราต้องทำตัวให้มีคุณค่าปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่  เพื่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่ )

 -   ฟองน้ำล้างจาน   :   ทำตัวให้ง่ายๆ

( ฟองน้ำไม่ต้องการอะไรมากแถมฟองน้ำยังยืดหยุ่น  พร้อมช่วยสนับสนุนให้วัสดุต่างๆสะอาดดังใจปรารถนา  ถ้าทุกคนทำตัวเป็นฟองน้ำล้างจานกันโลกจะสดใส )

 -   เทียนไข   :   การเป็นผู้ให้

( ถ้าคนเราทำตัวเป็นผู้ให้  แบบเทียนไข  คือให้แสงสว่างความสวยงาม ความเพลิดเพลิน  แบบไม่ต้องสนใจว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นกับตัวเองหรือแบบไม่มีเงือนไข  สังคมเราก็คงจะน่าอยู่มากขึ้น )

  -   ถ้วยกาแฟ   :    บริหารเวลาชีวิต

( ถ้าหากเรามัวแต่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับหน้าที่การงานหรือการแสวงหารายได้อย่างบ้าคลั่ง  เราก็อาจพลาดโอกาส  ในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ  เราควรใส่ใจพิถีพิถัน  และจัดสรรเวลาสำหรับการลิ้มรสชาติให้เหมือนถ้วยกาแฟ  ที่มีคุณภาพของเครื่องดื่ม  ถ้วยกาแฟ- หน้าที่การงาน   เครื่องดื่ม-ชีวิต )

  -   นาฬิกาไข่ กับ นาฬิกาใจ   :   การเตือนตนเองให้มีสติ

( นาฬิกาไข่ช่วยบอกเตือนสติถึง  ความยุ่งเหยิงหรือขาดสติของชีวิต  ฉะนั้นความสุขเล็กๆ  ไม่ได้อยู่ที่เสียงนาฬิกาไข่ แต่อยู่ที่นาฬิกาใจที่บ่งบอกว่า วันนี้      ฉันมีสติไม่ต้องพึ่งนาฬิกาไข่ )

  -   ตะกร้าใส่ขนม   :   การเคารพกฎกติกาที่เหมาะสม

( ตะกร้าทำให้เรารู้จักเคารพกติกาการอยู่ร่วมกันเริ่มจากการนำขนมฝากให้กันและกัน  และเรียนรู้การมีน้ำใจแบ่งปันขนมกินกัน  ขนมหลากหลายในตะกร้าเตือนสติถึงความแตกต่างที่มีอยู่ทุกที่  แต่ถ้าที่นั่นมีกฎ มีกติกา และมีพื้นที่ร่วม  และทุกคนที่อยู่ด้วยกัน  ล้วนให้ความสำคัญกับการเคารพกติกาแห่งการอยู่ร่วมกัน           อย่างน้อยความสุขก็เกิดขึ้นได้ )

  -   เครื่องปั่นน้ำผลไม้   :   หลอมรวมพลังความหลากหลาย

( การผสมผสานสารพันความหลากหลาย  เพื่อให้กลายเป็นส่วนผสมที่มีคุณค่า  แบบที่เรียกกันว่าบูรณาการ  แต่ถ้าหากเราปั่น แรงสมอง  และแรงกาย

จากผู้คนที่แตกต่างและหลากหลาย  ให้เกิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่  โลกใบนี้ก็จะสวยสดงดงาม  เหมือนกับเครื่องปั่นผลไม้ที่นำส่วนผสมต่างๆ มาหลอมรวมกันเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่า )

  -   ช้อนกลาง   :   รู้จักแบ่งปันเพื่อให้ส่วนรวม

( ช้อนกลางมักจะใช้ตักอาหารให้กับคนข้างเคียงช้อนกลางจึงเป็นสื่อกลางสอนให้

เรารู้จักบริหารความเป็นส่วนร่วม  คือหากทุกคนรู้จักแบ่งปันเหมือน

กับเวลาที่เราตักอาหารด้วยช้อนกลางให้กันและกัน  ช้อนกลางยังสอนให้เรารู้จักหลีกเลี่ยงการตะกละตะกลามจึงคล้ายกับการเตือนว่า  การกอบโกยทรัพย์สมบัติของส่วนรวมเป็นของส่วนตัวนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่พึงกระทำกัน )

  -   ครก-สาก   :   รู้จักการวางจังหวะ

( จังหวะในการออกแรงตำคือลีลาในการใช้ชีวิต  ในบางครั้งบางช่วงหรือบางวัน  คนอยู่ใกล้ๆกันก็อาจจะมีจังหวะกระทบหรือกระแทกกันบ้างเป็นธรรมดา เราก็ควรระมัดระวังเรื่องจังหวะ  ไม่ให้เครื่อง แหลก หรือ  ครกร้าว )

  -   ที่บีบกระเทียม   :   ยอมปรับเปลี่ยน

( หากชีวิตเราเป็นดังกระเทียมเมื่อถูกแรงกดดันจากภายนอก  อย่างที่บีบกระเทียมก็ยอมปรับและยอมเปลี่ยนสภาพไป  แทนที่จะแข็งสู้กับแรงกดแบบไม่ยอมอ่อนข้อ  ซึ่งคุณค่าของประโยชน์ยังใช้ได้เหมือนเดิม )

  -   แก้วน้ำ   :   ใส่ใจในรายละเอียด

( ความคุ้นเคยความเคยชินทำให้เรามองข้ามความใส่ใจในรายละเอียด  ฉะนั้นคนเราอย่าเผลอมองข้ามรายละเอียดอันแสนที่จะโรแมนติกที่อยู่ข้างแก้วน้ำ )

  -    กระป๋อง(ใส่ ) ปากกา   :   ใช้ประโยชน์ให้คุณค่า

( กระป๋องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าหลากหลาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือความรู้สึกภาคภูมิใจว่าเราได้ทำประโยชน์แบบประหยัดสารพัดอย่าง )

  -   ช้อนส้อม   :   เกื้อกูลกัน

( การเกื้อกูลกันดั่งช้อนส้อมเป็นสิ่งสำคัญ  ส่วนการกระทบกระทั่งกันบ้างก็ไม่ควรเห็นเป็นสิงผิดปกติ )

  -   กระติกน้ำ   :   หมั่นคอยดูแลกัน

( ถ้าหากโลกของเราเป็นกระติกน้ำ  เราก็ควรต้องหมั่นคอยดูแลไม่ให้กระทบหรือกระแทกจนกระเทือน เพื่อทุกคนจะได้สดชื่นกับน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ภายในกระติกน้ำ  เพื่อรักษาความสมดุลของโลกใบนี้ )

         เสน่ห์ที่เกิดขึ้นจากห้องครัวเป็นการฝึกฝนที่ให้เราตระหนักอยู่เสมอว่า        ไม่ควรมองข้ามการเรียนรู้ข้อคิดดีๆจากเรื่องใกล้ตัว  และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดไป  หากสมองและจิตใจของเราเรียกร้อง  เหมือนสุภาษิตชาวเปอร์เซียน  บอกได้ว่า 

“ ความคิดเป็นสาระสำคัญของปัญญา ”

Thinking is the essence of wisdom.

ที่มา : จากหนังสือ สำรับความคิด

ของ : ดร.ปาริชาต  สถาปิตานนท์

หมายเลขบันทึก: 419632เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท