ใช้พลังการประเมินเพื่อยกระดับคุณภาพของการศึกษา


 

          ผมไปร่วมงานประชุมวิชาการ 10 ปี สมศ. เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 53   และถามตัวเองว่า ระดับของพัฒนาการของการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาไทย อยู่ขั้นไหน   และตอบว่า (ไม่ทราบว่าจะสอบตกไหม) ยังอยู่ในระดับทำงาน advocacy phase   หากถือตามการบรรยายของ Mr. Koshy Thomas รองปลัดกระทรวงการคลังของมาเลเซีย  ใน  การสัมมนา “การแลกเปลี่ยนความรู้สู่การสร้างเครือข่ายการประเมินแห่งชาติ” ซึ่งอาจเข้าไปดู ppt. ได้ที่นี่
 
          Advocacy phase เป็นการทำงานสถาปนาทัศนคติที่ถูกต้องต่อการประเมินภายนอกในสังคมไทย   ว่าเป็นเครืองมือของการพัฒนาระบบ พัฒนาบ้านเมือง  เป็นเครื่องมือสร้างข้อมูลและสารสนเทศหรือความรู้ที่แม่นยำขึ้นมาสำหรับใช้ในการเสวนาภาพใหญ่ ภาพเคลื่อนไหว ของสังคม   ช่วยให้สังคมพัฒนาขึ้นเป็นสังคมเปิด  และผู้คนเอาใจใส่เรื่องราวความเป็นไปของบ้านเมือง   ส่วนที่เป็นเรื่องมีสาระ มีความสำคัญต่ออนาคต

          ผมสงสัยว่า สมศ. ไม่ได้เอาใจใส่ประเด็นที่ผมกล่าวนี้   มัวไปทำงานหมดแรงกับการประเมินสถาบันการศึกษาเป็นรายสถาบัน  เรื่องใหญ่จึงพร่ามัวอยู่ในท่ามกลางรายละเอียด

          อุปสรรคสำคัญอาจอยู่ที่ Conflict of Interest  คือคนที่มาเกี่ยวข้องกับ สมศ. ส่วนใหญ่มี CoI ด้านใดด้านหนึ่ง แกะไม่ออก   จึงทำงานแบบมี CoI ไม่ตรงไปตรงมาได้จริง 

          เมื่อมองจากมุม CoI ผมก็ดีใจที่ประธานคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในปัจจุบันคือ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ เป็นคนนอกวงการการศึกษา จึงไม่มี CoI  น่าจะสามารถทำงานแบบตรงไปตรงมาเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นเป้าหมายสำคัญได้   ไม่ใช่แค่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนในวงการการศึกษา

 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ธ.ค. ๕๓


                  

หมายเลขบันทึก: 419540เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท