มหกรรม KM เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ปีที่ ๔ : ขยายพันธุ์คนรักเท้า (๔)


งานเท้าในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการต่อยอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทีละเล็กละน้อย

ตอนที่

ปิดท้าย

มหกรรม KM DM-HT ของเรามีเอกลักษณ์ว่าไม่ชอบเลคเชอร์ ได้รับโจทย์จากอาจารย์วัลลา ว่าอยากให้มีกิจกรรมในช่วง KM เท้านี้ด้วย ไม่อยากให้เป็นมีแต่กิจกรรมเล่า เล่า เล่า… บนเวที อยากให้ผู้เข้าประชุมได้มีส่วนร่วม นั่นจึงเป็นที่มาของการโทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากทีมแพร่ ขอให้อุ้ม podoscope ติดกล้องมาในงานด้วย

กิจกรรมที่ทำเราเรียกว่า “กระจกส่องเท้า” ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เชิญอาสาสมัครขึ้นมายืนบนเครื่อง แล้วให้อาจารย์สมเกียรตินำผู้เข้าประชุมช่วยกันวิเคราะห์การลงน้ำหนักของอาสาสมัคร พร้อมกับแสดงให้เห็นว่าจะแก้ไขการลงน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องนั้นได้อย่างไร พอถึงเรื่องแก้ไขนี้ พี่บุญเลี้ยงกระโดดลงมาช่วยเลย แถมใครต้องแก้ด้วยแผ่นอะไร หากสิ่งที่พี่บุญเลี้ยงเอาติดตัวมาฟิตพอดีล่ะก็พี่บุญเลี้ยงบอกว่า “เอาไปเลย”

 

กิจกรรม "กระจกส่องเท้า"

แม้กิจกรรมนี้จะทุลักทุเลเล็กน้อยด้วยข้อจำกัดเรื่องความคมชัดของอุปกรณ์วิดีโอต่างๆ ที่พยายามจะนำภาพฝ่าเท้าจาก podoscope ขึ้นไปบนจอเพื่อให้ผู้เข้าประชุมกว่า ๒๐๐ คนได้เห็นพร้อมกัน แต่ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี

ทั้งอาจารย์เทพ และอาจารย์สมเกียรติ ปิดท้ายงานด้วยข้อคิดที่คล้ายกันว่า งานเท้าในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการต่อยอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทีละเล็กละน้อยอย่างที่ทำกันอยู่นี้แหละ ไม่ใช่อะไรที่ต้องเกิดจากการเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะฉะนั้น ทุกๆ คนค่อยๆ เริ่ม ค่อยๆ พัฒนากันไปในสปีดที่ตัวเองพร้อม

บทเรียนการจัดการ

กิจกรรม KM เท้าของเรานี้ เป็นงานปิดท้ายของงาน KM DM-HT วันแรกซึ่งมีกิจกรรมเต็มเหยียดมาตั้งแต่เช้าตรู่  เริ่มต้นงานก็เป็นเวลา  ๑๖.๓๐ แล้ว แม้จะทราบล่วงกันหน้าแล้วว่าจบที่ ๑๙.๐๐ น. และเราก็จบกันตรงเวลาเผง แต่คาดว่าท้องของหลายๆ คนคงร้องดัง บังคับไม่อยู่ เกินกว่าจะรอถึงเลข ๑๙ จึงมีบางส่วนไม่สามารถอยู่กันจนจบ ได้รับ comment มาหลายว่า หิว หิว หิว...

เลิกงานเราจัดข้าวกล่องไว้ให้ นึกว่าจะนำกลับไปกินที่โรงแรมกัน ปรากฎออกมาเห็นนั่งกินกันรอบห้องประชุมเต็มไปหมดเลย โอย...รู้สึกผิดมากค่ะที่ไม่ได้นึก เอาแต่ตัวเองเป็นมาตรฐานว่าทุ่มเดียวเอง ชิวชิว คราวหน้าโอกาสหน้าขอแก้ตัวใหม่นะคะ

อีกคำที่ได้ยินจากหลายคน คือ คนเล่าเรื่องเล่ากันแบบปลื้มกับงาน ภูมิใจกับสิ่งที่ได้ทำ เล่าแบบอินชนิดคนฟังรู้สึกได้ อันนี้ขอรับและนับเป็นความสำเร็จของการจัดเวที KM เท้า เพราะจุดประสงค์ของการจัดเวทีนอกจากเพื่อปลุกเร้าให้เกิดสมาชิกทำงานด้านเท้าเพิ่มขึ้นแล้ว ก็ยังมีจุดประสงค์แฝงในการสร้างเวทีแสดงผลงานให้กับคนทำงาน เป็นรางวัลให้กับความพยายาม ความภูมิใจที่เกิดขึ้นนั้นคือรางวัลที่เจ๋งที่สุด หาซื้อไม่ได้ นี่ก็ตรงกับการแสดงออกของทีมที่นำเสนอทุกทีม

ทุกทีมบอกว่าการนำเสนอนั้นง่ายมาก สิ่งที่ยากที่สุดคือทำอย่างไรให้พูดไม่เกิน ๑๒ นาที!

ผู้เล่าเรื่อง : คุณธัญญา วรรณพฤกษ์

หมายเลขบันทึก: 419294เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

        สวัสดีครับ  เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยได้อ่านได้รู้   ออกจะล้าหลังไปเลยก็ว่าได้  เห็นที่จะขอร้องให้นำเสนอต่อเพื่อเป็นวิทยาทานเพิ่มเติมอีกครับ  ที่นำมาแบ่งปันมันน้อยไปครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ติดค้างกันไว้เรื่องการสรุปรายงานการจัดประชุมนี้ ไม่ลืมค่ะ^______^

สวัสดีค่ะอาจารย์นุช

ปล่อยให้อาจารย์พักช่วงหยุดปีใหม่ก่อน ตอนนี้กำลังตามงานจากน้องๆ อยู่ ยังได้ไม่ครบค่ะ บางส่วนอาจารย์เอาเนื้อหาจากบล็อกก็ได้นะคะ VDO ที่ถ่ายทำไว้ น้องเขายังตัดต่อไม่เสร็จเพราะช่วงนี้งานเขาเยอะเหมือนกัน

ไม่ทราบว่าอาจารย์นุชได้รับข้อมูล AAR ทั้ง ๓ วันหรือยังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท