แบ่งครึ่งเม็ดยาคุ้มค่า(แม่นยำ)ไหม [EN]


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Splitting tablets may mean patients take wrong doses' = "แบ่งครึ่งเม็ดยาอาจหมายถึงคนไข้ได้ยาผิดขนาด" หรือ "แบ่งครึ่งเม็ดยาเสี่ยงปริมาณยาผิดพลาด", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ BBC ]
.

คำ 'tablet' มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า = [ 'table' = โต๊ะ ไม้กระดาน ] + [ -et = เล็ก ] = โต๊ะหรือของแบนๆ ขนาดเล็ก

.
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลับเกนท์ เบลเยียมทำการศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน J Advanced Nursing) โดยให้อาสาสมัคร 5 ท่านแบ่ง (split) เม็ดยารูปร่างต่างๆ กัน 8 รูปแบบ โดยใช้เทคนิค 3 แบบ แล้วนำไปชั่งขนาดยา
.
ผลการศึกษาพบว่า เม็ดยาที่แบ่งมีขนาดยาหรือโด๊สผิดพลาด  31% หรือเกือบ 1/3
.
การแบ่งด้วยเครื่องตัดเม็ดยา (splitting device) มีความแม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ เช่น หักด้วยมือ ตัดด้วยมืด ฯลฯ คือ ผิดพลาด 13%
.
การแบ่งครึ่งเม็ดยาช่วยในการปรับยา แทนที่จะเพิ่มจากคราวละมากๆ เช่น จาก 1 เป็น 2 เม็ด ฯลฯ หรือเพิ่มขนาด(โด๊ส)ยาขึ้น 100% ในคราวเดียวก็อาจเพิ่มขนาดยาทีละน้อย เช่น จาก 1 เป็น 1 เม็ดครึ่ง ฯลฯ 
.
 

ยาหลายชนิดมีราคาถูกลงเมื่อแบ่งครึ่งเม็ดใหญ่ เช่น ยาขนาด 10 มิลลิกรัมครึ่งเม็ด (= 5 มก.) มักจะมีราคาถูกกว่ายาขนาด 5 มก. ฯลฯ

การศึกษานี้บอกเป็นนัยให้ระมัดระวังการแบ่งครึ่งเม็ดยาให้มากขึ้นต่อไป

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 7 มกราคม 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 418916เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2011 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท