กฎหมายอิสลาม ตอน 13


กฎหมายอิสลาม ต่อ

        6.       ปฏิเสธระบบชนชั้นวรรณะ

ระบอบอิสลามไม่มีระบบชนชั้นวรรณะ  แม้ว่าความรวยความจนจะเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในทุกสังคม  แต่ระบอบอิสลามก็ไม่ยอมรับระบบชนชั้นวรรณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่ำรวยและความยากจน  หากแต่ความประเสริฐของบุคคลขึ้นอยู่กับความยำเกรง  และการประกอบความดีทั้งนี้หลักคำสอนของอิสลามได้กำหนดแนวทางในการขจัดระบอบชนชั้นวรรณะให้หมดไปจากจิตใจของผู้ศรัทธาด้วยการประกอบศาสนกิจในรูปต่าง ๆ ที่เน้นถึงความเสมอภาคและภราดรภาพ  บรรดาผู้ปกครองในยุคต้นของอิสลามต่างก็ถือว่าบรรดาผู้ที่อ่อนแอต้องได้รับการเอาใจใส่และคำนึงถึงมากกว่าบรรดาผู้มีฐานะสูงส่งในสังคม  ดังปรากฏว่า  ในสมัยท่านอุมัรมีคำสั่งห้ามบุคคลสำคัญต่าง ๆ ของตระกูลกุรอยช์ออกไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตแคว้นต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อมิให้พวกเขากลายเป็นชนชั้นที่มีอภิสิทธิเหนือผู้คนทั้งหลาย 

       7.       สร้างความใกล้ชิดระหว่างคนรวยกับคนจน

ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามยอมรับว่า  ความรวยความจนเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในทุกสังคม  ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรฺอานว่า

ß`øtwU $oYôJ|¡s% NæhuZ÷t/ öNåktJt±ŠÏè¨B ’Îû Ío4quŠysø9$# $u‹÷R‘‰9$# 4 $uZ÷èsùu‘ur öNåk|Õ÷èt/ s-öqsù <Ù÷èt/ ;M»y_u‘yŠ x‹Ï‚­Gu‹Ïj9 NåkÝÕ÷èt/ $VÒ÷èt/ $wƒÌ÷‚ß™ 3 ...... ÇÌËÈ  

 ความว่า“เรา  (อัลลอฮฺ)  ได้จัดสรรปันส่วนการดำรงชีพในชีวิตแห่งโลกนี้ของพวกเขาระหว่างพวกเขาและเราได้ยกให้บางส่วนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางส่วนหลายขั้นนัก ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจักได้อำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน”

(สูเราะฮฺอัซ-ซุครุฟ  อายะฮฺที่  32)

       ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพราะว่าผู้คนในสังคมย่อมมีความเหลื่อมล้ำกันในด้านศักยภาพทางความคิดและวัตถุตลอดจนมีความแตกต่างกันในเรื่องโอกาสและสถานภาพในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ  อิสลามได้พยายามในการเยียวยาปัญหาความยากจน  ด้วยการขจัดปัญหาที่ต้นตอของมันเพื่อทำให้ระยะห่างระหว่างคนรวยกับคนจนแคบลงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยกำหนดลู่ทางหลายประการด้วยกัน  เช่น  ส่งเสริมให้แสวงหาปัจจัยยังชีพ  การทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเองเป็นสิ่งที่มีเกียรติในทัศนะของอิสลาม   ปฏิเสธการกระจุกตัวของสินทรัพย์ในกลุ่มชนส่วนน้อย การกำหนดค่าปรับ และบทลงโทษในรูปการเลี้ยงอาหารแก่คนยากจน  และบัญญัติเรื่องการจ่ายซะกาตและการบริจาคทาน  เป็นต้น

8.       ทรัพย์สินคือสื่อกลางมิใช่เป้าหมายสูงสุด

อิสลามถือว่าทรัพย์สินเป็นเครื่องประดับและเป็นเพียงปัจจัยของความสุขในโลกนี้  ซึ่งไม่จีรัง  การใช้ทรัพย์สินเป็นสื่อกลางในการประกอบคุณงามความดี  และแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ  ในโลกหน้าคือสิ่งที่อิสลามเรียกร้องผู้ศรัทธา  ระบอบอื่น ๆ นอกจากอิสลามต่างก็มุ่งสู่การกำหนดให้ความร่ำรวย  การมีชีวิตที่สุขสบายแบบวัตถุนิยมและการได้มาซึ่งทรัพย์สินเป็นเป้าหมายสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงหลักคำสอนของศาสนาและหลักจริยธรรมอันดีงาม  จนในที่สุดผู้คนในปัจจุบันได้ตกเป็นทาสของเงินตราและบูชาวัตถุเป็นจำนวนมาก

9.       หลักแห่งความเป็นธรรม

ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลามจะมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นธรรมของราคาสินค้า ค่าจ้าง  ผลกำไร  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ด้วยการปลอมแปลงสินค้า  การผูกขาด  และการแสวงหากำไรที่เกินจริง  และเพื่อรักษาหลักการข้อนี้ อิสลามจึงอนุญาตให้ผู้มีอำนาจสามารถเข้าไปแทรกแซงการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบได้  กล่าวคือ  รัฐอิสลามสามารถห้ามการผูกขาดสินค้าห้ามเพิ่มราคา  ห้ามโกงตาชั่ง  และปลอมปนสินค้า  โดยมีระบบตรวจสอบ   (اَلْحِسْبَةُ)  เป็นกลไกลในการตรวจสอบและควบคุม

10.    หลักมูลฐานทางศาสนบัญญัติ

    ระบอบเศรษฐศาตร์อิสลามกำหนดเรื่องการอนุมัติ  (حَلاَلٌ)  และการไม่อนุมัติ  (حَرَامٌ)  ในการค้าขายและการทำธุรกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลาม เช่น การห้ามในเรื่องดอกเบี้ยและการประกอบอาชีพที่ต้องห้ามตามหลักคำสอนของศาสนา  เช่น  อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสุรา   ธุรกิจการพนัน  ธุรกิจสถานบันเทิงเริงรมย์  และการค้าประเวณี  เป็นต้น

 

6.3     เศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการอิสลาม

ความหมาย

                คำว่า  เศรษฐกิจ  เป็นคำที่เกิดจากการนำเอาคำ  2  คำมาสนธิกัน  คือ  คำว่า  เศรษฐ-  (เสดถะ)  ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์  หมายถึง  ดีเลิศ  ดีที่สุด ยอดเยี่ยม  ประเสริฐ  กับคำว่า  กิจ  (กิด)  หมายถึง  ธุระ  งาน  ดังนั้นคำว่า  “เศรษฐกิจ”  จึงหมายถึง  งานอันเกี่ยวกับการผลิต  การจำหน่ายจ่ายแจก  และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน  ซึ่งหากพิจารณาความหมายตามรากศัพท์เดิมก็จะได้ความหมายแบบง่าย ๆ ว่า  :  งานที่ยอดเยี่ยม  หรืองานที่ดีเลิศ  ซึ่งมีความหมายและนัยกว้างโดยครอบคลุมถึงการผลิต  การจำหน่ายจ่ายแจก  การอุปโภคบริโภคและใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม

                ส่วนคำว่า  “พอเพียง”  หรือ  “เพียงพอ”  เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน  คือ  หมายถึง  ได้เท่าที่ต้องการ  หรือได้เท่าที่กะไว้  หรือ  เหมาะควรในระดับปานกลาง  ดังนั้นความหมายโดยรวมของคำว่า  “เศรษฐกิจพอเพียง”  จึงมีนัยบ่งชี้ที่อยู่ในกรอบหลักการของศาสนาอิสลาม  ซึ่งยึดทางสายกลางเป็นหลัก  ดังปรากฏในอัล-หะดีษว่า  :

خَيْرُ الأُمُوْرِ أَوْسَطُهَا

ความว่า “ที่ดีที่สุดของกิจการทั้งหลายคือ  ตรงกลางของมัน”

                                                    (รายงานโดยอิบนุ  อัส-สัมอานียฺ- หะดีษเฎาะอีฟ) 

หมายเลขบันทึก: 418514เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท