วันเด็กแห่งชาติ


วันเด็ก เพื่อเด็ก ๆ ของเรา

สวัสดีครับทุกท่าน ใกล้จะถึงวันเด็กแห่งชาติแล้วจึงเตรียมข้อมูลเพื่อไว้สอนนักเรียนครับ

 

เอกสารประกอบการสอนวิชา  ทฤษฎีความรู้ (TOK)
เรื่อง วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)

รวบรวมโดย ครูณรงค์  เพ็ชรเส้ง 

วันเด็กแห่งชาติ เป็นวันสำคัญในประเทศไทยตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี มีการให้ คำขวัญวันเด็ก ทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

ประวัติ งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507  ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้ 

จุดประสงค์ของการจัดงานวันเด็ก เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความ ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 

คำขวัญวันเด็ก คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อม จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2554 โดยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ”

การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็ก โดยเปิดสถานที่ราชการ ที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆ ได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

เพลง หน้าที่ของเด็ก

สำหรับเพลง "หน้าที่ของเด็ก" หรือเพลง "เด็กเอ๋ยเด็กดี" นี้ ประพันธ์คำร้องโดย ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ นักเขียน  นวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของไทย ซึ่งท่านเป็นพี่สาวของครูอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534  

ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติคนหนึ่ง ของกระทรวงศึกษาธิการ และขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนานแต่งทำนองให้ จากนั้น ก็ได้มีการนำเพลงนี้ไปเปิดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในวันเด็กแห่งชาติทุกปี จนถึงทุกวันนี้

เนื้อเพลง

เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

หนึ่ง นับถือศาสนา                             สอง รักษาธรรมเนียมมั่น

สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์                 สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน

ห้า ยึดมั่นกตัญญู                                 หก เป็นผู้รู้รักการงาน

เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ               ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน

แปด รู้จักออมประหยัด                      เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล

น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ                        ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา

สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์              รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา

เด็กสมัยชาติพัฒนา                             จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน (ซ้ำตั้งแต่ต้นอีกครั้ง)

โหลดเพลง http://school.obec.go.th/phoodindang/song/dekdee.mp3 

ขอบคุณข้อมูลจาก  

http://th.wikipedia.org/wiki 

http://school.obec.go.th/phoodindang

http://mygirl121.exteen.com/20080908/entry-26

http://faifilm.ob.tc/picture/12929/1292912975faifilm.jpg

http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1156719_5248548.jpg

หมายเลขบันทึก: 417985เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2011 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท