76.เก็บตกปีเก่าเอามาเล่าในปีใหม่ กับความสมานฉันท์


          งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 60 ที่จังหวัดอุดรธานี   เมื่อวันที่ 24-26 ธันวาคม 2553 ของปีเก่าที่ผ่านมานั้น มีอีกหลายอย่างที่ดิฉันยังไม่ได้นำเสนอ และดูเสมือนว่า การไปร่วมงานครั้งนี้ ยังมีนัยที่สำคัญต่อการเรียน การสอน ที่เรียกว่า “ความรู้นอกตำรา” ที่เด็กๆสามารถใฝ่หาได้ด้วยตัวเอง

            ดิฉันนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมทุกครั้งมักจะให้ได้นักเรียนแสดงออกซึ่งความสามารถของเขาอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนที่ต้องรับผิดชอบเอง และส่วนที่เด็กต้องแสวงหา ก็นักเรียนไม่ผิดหวังในประเด็นนี้นะคะ เพราะว่านักเรียนได้มีโอกาสแสดงความสามารถ ในการอธิบายผลงานภายในบู๊ทของตัวเองได้ดีมาก การออกมาต้อนรับท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมก็ทำได้ดี ช่วงที่ต้อนรับท่านประธานในพิธีที่เยี่ยมชมบู๊ท นักเรียนก็ต้อนรับเอง อีกทั้งยังได้เดินชมตามบู๊ทต่างอีกด้วย

            แต่สิ่งที่ดิฉันจะนำเสนอในบันทึกนี้ ถือว่าเป็นเป็นทึกแรกของปี 2554 ดิฉันตั้งใจให้เป็นบันทึกแห่งความสมานฉันท์ต้อนรับปีใหม่นี้ด้วย จริงๆแล้วแนวคิดในเรื่องของโรงเรียนสมานฉันท์นั้น ท่านผู้อำนวยการประพันธ์  ทักษิโณ ท่านมีแนวอยู่แล้ว ท่านได้ปรึกษากับดิฉันในเรื่องนี้ว่าท่านอยากทำให้เป็นโรงเรียนสมานฉันท์ ด้วยเหตุว่า โรงเรียนร่องคำ เป็นโรงเรียนในภาคอีสานเป็นถิ่นที่ไม่มีมุสลิมอาศัยอยู่เลย  หากเป็นโรงเรียนที่ภาคใต้ ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดที่มีมุสลิมอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก มันก็ไม่แปลกอะไร ฉะนั้นโรงเรียนร่องคำ ที่มีครูกว่า 100 คน นักเรียนมากกว่า 2,000 คน อยู่ท่ามกลางชุมชนที่ไม่ใช่มุสลิม มีดิฉันเป็นครูมุสลิมสอนอยู่เพียง 1 คน มีความรักความสามัคคี ไม่เคยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ทำงานร่วมกับทุกคนได้ดี ร่วมทั้งผู้บริหารในทุกระดับ และปัจจุบันที่โรงเรียนก็มีนักเรียนมุสลิม 1 คน เป็นนักเรียนเพียงหนึ่งเดียว ที่เข้ากันได้ดีกับคุณครู และเพื่อนๆทุกคน

            งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 60 ที่จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านมานั้น  ดิฉันได้มีโอกาสนำนักเรียนไปรับประทานอาหาร ที่เพื่อนมุสลิมที่อยู่ใน จ.อุดรธานี เลี้ยงในมื้อที่จะกลับ...ที่ จ.อุดรฯมีมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง มูลนิธิเพื่อการศึกษา และพัฒนามุสลิมอีสาน ของ ดร.ปรีดา  ประพฤติชอบก็อยู่ที่นี่ ซึ่งในวันแรกดิฉันก็ไปทานอาหารมื้อแรกที่มูลนิธิฯมีคุณอามีนะฮ์ สะมาเด๊ะ ต้อนรับอย่างอบอุ่น โดยมีป้าซัลมา กุ๊กนานาชาติ มาทำอาหารอีสานให้รับประทาน ตรงนี้ดิฉันได้รู้จักกับคุณลุงอามานอีกท่านหนึ่ง ป้าซัลมาก็คือภรรยาของท่าน

 ...วันสุดท้ายก่อนจะกลับ ดิฉันได้มีโอกาสไปเยี่ยม อ.ภควรรณ(ฮามีดะฮ์)  อ่อนคำ จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ท่านสอนที่คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตรงนี้เป็นสถานที่แข่งขันแอบิค ซึ่งท่านก็เป็นเจ้าภาพอยู่ตรงนั้น จากนั้นก็ไปที่บ้านของ ลุงอามาน...ป้าซัลมาไปทำงานที่ซาอุดิอารเบีย กว่า 20 ปีจึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมทั้งของอาหรับ และอิสลามเป็นอย่างดี เรื่องอาหารอาหรับและการจัดสำรับแบบประเพณีอาหรับ ต้องบอกว่าระดับเซียน ประมาณว่าคนอาหรับมาอีสานงง แบบไปไม่เป็นเลยละ...

           ที่บ้านของลุงอามานและป้าซัลมานี้เอง ดิฉันได้นำนักเรียนทั้ง 5 คน มาทานอาหารตามความต้องการของทั้งสองท่าน โชคดีมากที่นักเรียนได้มีโอกาสพบกับคุณอามีนะฮ์และครูสอนศาสนาของมูลนิธิฯชื่อครูอับดุลเลาะฮ์ เป็นชาวเบตง จ.ยะลา  นักเรียนทั้ง 5 คนนับถือพุทธศาสนา เจ้าภาพเป็นมุสลิม ความสมานฉันท์เกิดขึ้น ณ.ตรงนี้อย่างน่าอบอุ่นยิ่ง นักเรียนสามารถเรียนรู้ ในเรื่องต่างวัฒนธรรม ได้อย่างลงตัว ดิฉันถือว่าสิ่งที่ท่านผู้อำนวยการอยากให้เกิดขึ้น นักเรียนได้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

           ในขณะที่ทางภาคใต้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ ซึ่งสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้กับภาพลักษณ์ของมุสลิมโดยทั่วไป แต่ที่ภาคอีสานมีภาพแห่งความสมานฉันท์เกิดขึ้นอย่างน่าประทับใจ

          ดิฉันขอนำภาพแห่งความสมานฉันท์นั้นมาให้ทุกท่านได้ชมค่ะ

ไปเยี่ยมชมบู๊ทอื่นๆ

ขอหล่อแบบเดี่ยวๆ

อ.ภควรรณ  อ่อนคำ

 

สบู่นมแพะอาร์เคของโรงเรียนคือของฝากที่มีค่าค่ะ

 

คุณอามีนะฮ์ ลงมือสับเองค่ะ

 

ครูอับดุลเลาะฮ์ก็ลงมือเองเช่นกัน

 

บรรยากาสมื้อสมานฉันท์

 

ครูอับดุลเลาะฮ์ "มากันนาซิ"(กินข้าว)กับน้องๆ

 

กินไปคุยไป

 

ได้ภาษายาวีหลายคำ

อย่างน้อยได้"มากันนาซิ"มาหนึ่งคำ ไม่อดข้าวแล้ว

ได้ยินแว่วๆว่าจะไปเที่ยวเบตงกันแล้ว...

 

เป็นมื้อที่อบอุ่นมาก

ป้าซัลมา(ซ้ายสุด)ป้าอามีนะฮ์(กลาง)นำนักเรียนไปดูวิธีการชงชาเพื่อต้อนรับแขกแบบอาหรับ

 

สอนวิธีการยกชา

 

ให้นักเรียนรินชา

 

เพื่อเสริฟให้แขกที่มาเยียน

 

เหตุการณ์นี้สมมุติให้ลุงอามาน ป้าซัลมา ป้าอามีนะฮ์ และดิฉัน เป็นผู้มาเยี่ยมเยียน ซึ่งนักเรียนทำได้ดีมาก นี่คือตำรานอกห้องเรียน

 

ลุงอามานดื่มชาที่นักเรีนเสริฟให้ด้วยความยินดี ถึงกับน้ำตาซึมเลยค่ะ

 

(ภาพบน-ล่าง)ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม

 

(ภาพบน-ล่าง)นักเรียนสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมสังคมได้เร็วมาก ช่วยเก็บและล้างโดยที่ไม่ต้องบอกเลย ครูเลยปลื้มมากๆ

 

แน่นอนค่ะ สิ่งที่นักเรียนได้มอบเป็นการตอบแทนน้ำใจคือสบู่นมแพะอาร์เคของโรงเรียน

จากขวา-ป้าซัลมา ลุงอามาน (บ้านอยู่ไม่ไกลจากทุ่งศรีเมือง) และป้าอามีนะฮ์ ในภาพกำลังรับมอบสบู่นมแพะอาร์เค สินค้าคุณภาพ(ผู้ใช้บอกค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 417592เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2011 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ

เหล่ามวลสมาชิกทุกรูป ทุกคนทุกท่าน

วาระส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

คิดใดสมมุ่งหวังดังปรารถนา

ขอให้การเดินทางสร้างตำรา

มีความเจิญก้าวหน้าสถาพร

ปลอดภัยจากโรคาพยาธิ

มีอำนาจสุขโขสโมสร

มีชื่อเสียงก้องไกลไทยนคร

คอยปันป้อนความรู้สู่สังคม

จากใจ....ธนา นนทพุทธ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

                   

                    มีความสุข สดชื่น สมหวัง ในปีใหม่นี้นะคะ

อยากให้ทุกแห่ง ทุกภาค มีความเข้าใจกัน สมานฉันท์กันมากขึ้นในปี 2554 นี้นะครับ


สวัสดีค่ะ

มีความสุขในวันปีใหม่

และตลอดไปนะคะ

สลามัด ตาเฮา บารู.... ค่ะ

มีความสุขมากๆๆนะคะ ครู

ฝันดีค่ะ

สลามัตมาลัม

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่มีนา

ชื่นชมกิจกรรมสมานฉันท์ ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆ มีความสุขนะคะ :)

ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ทุกๆท่านนะคะ

โชคดีและมีความสุขตลอดไปค่ะ

ด้วยรักและขอบคุณ ขอบคุณ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท