นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทต่างจากพยาบาลอย่างไรใน Palliative Care


ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษากิจกรรมบำบัด 4 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกจากคณาจารย์และบุคลากรทางสุขภาพในการตอบโจทย์ตามชื่อบันทึกได้ดีที่สุดจากจำนวนนักศึกษา 35 ท่าน เพื่อนำมาลง Blog ดร.ป๊อป

อันดับหนึ่ง นักศึกษากิจกรรมบำบัด (นศกบ.) ศราวุฒิ สมนา

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทต่างจากพยาบาล คือ นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ เช่น การทำกิจวัตรประจำวันในขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ทำง่ายๆ เป็นต้น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความภาคภูมิใจ และการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย แต่ในส่วนของพยาบาลจะเน้นให้การช่วยเหลือโดยตรง ไม่ค่อยให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมด้วยตนเองก่อน เช่น ทานข้าว ก็ต้องช่วยป้อน เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้บทบาทของตนเองและไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

อันดับสอง นศกบ. วิทยา กันนุลา

นักกิจกรรมบำบัดจะให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และมีความสุขในการทำกิจกรรมก่อนที่ผู้ป่วยจะถึงวาระสุดท้าย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น ตัดสิ่งที่กังวลออกไป ให้ผู้ป่วยได้พยายามคิดถึงความสำเร็จและความสุขของตนเองก่อนจากโลกไป เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างมีความสุข นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดยังมีหน้าที่คอยจัดสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นคนในครอบครัว ให้กำลังใจ และเป็นคนคอยวางแผนในการปรับจิตใจของผู้ป่วยและญาติให้จากกันไปอย่างมีความสุข สงบ

พยาบาลจะไม่มองลงลึกที่ตัวผู้ป่วยกับญาติมากนัก จะให้การดูแลผู้ป่วยและญาติเหมือนกัน แต่พยาบาลจะไม่ได้คอยกระตุ้น คอยปรับสิ่งแวดล้อมมากนัก พยาบาลจะไม่มีการประเมินว่า ผู้ป่วยต้องการอะไร ทำกิจกรรมอะไร ในระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุข พยาบาลจะไม่ค่อยให้ทำกิจกรรมเพราะมองว่า ผู้ป่วยไม่พร้อมและเป็นเรื่องยาก

อันดับสาม นศกบ.บุญฐิสา สมศรีดา

นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ย้อนกลับไปทบทวนสิ่งต่างๆ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต แล้วให้ผู้ป่วยได้ค้นหาความสุข หรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตจากกิจกรรมเหล่านั้น ให้ผู้ป่วยได้รู้สึกมีความสุข ถึงแม้จะเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต หากผู้ป่วยยังไม่สามารถถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดได้ นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทในการคิดหากิจกรรมที่สามารถตอบสนองตามความชอบ เจตจำนงค์ของผู้ป่วย มาให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมนั้นๆ และมีความสุขที่สุด

อันดับสาม นศกบ.พรพรรณ ฐิติพันธ์รังสฤต

ในวาระสุดท้ายของผู้สูงอายุก่อนเสียชีวิต พยาบาลอาจจะดูแลในเรื่องของการทำความสะอาดร่างกาย พูดคุยให้กำลังใจกับผู้ป่วยและให้ข้อมูลกับญาติ ในทางกิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัดสื่อสารกับผู้ดูแล/ญาติที่มีสภาพจิตแข็งแกร่งที่สุด จะมีการบอกถึงข้อเท็จจริงต่างๆ และดูการให้ความร่วมมือของญาติ การวางแผนเวลาให้สมาชิกในครอบครัว/ญาติอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โดยอาจแนะนำให้ญาติทำกิจกรรมที่มีคุณค่ากับผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยนั้น นักกิจกรรมบำบัดจะประเมินความต้องการของผู้ป่วยเพื่อวางแผนและปรับจิตใจของผู้ป่วยให้สงบและมีความสุข

หมายเลขบันทึก: 417141เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2010 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้ความรู้ด้านพยาบาลด้วยนะครับ ขอบคุณ มอบภาพสวยๆ ไว้อำนวยพร


ขอบคุณครับและขอส่งความสุขปีใหม่แด่ คุณโสภณ เปียสนิท ครับ

ขอบคุณครับและส่งความสุขปีใหม่แด่คุณเบดูอินครับ

เป็นความรู้ที่ดี มีไว้ ได้ประโยชน์

ขอบคุณและส่งความสุขปีใหม่แด่คุณนภา ปาสิกเทพย์

หัวข้อนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย

ถ้าถามว่าในการดูแลแบบประคับประคอง palliative care บทบาทของพยาบาลกับนักกิจกรรมต่างกันอย่างไรนั้น

ถ้าหากจะนับถึง กลยุทธ์ที่ใช้อาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะสิ่งที่ นศ ทั้งสี่คนได้พูดถึงก็เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลและมีหัวข้อดังกล่าวสอนในหลักสูตรอยู่แล้ว เช่น การดูแลบุคคล hopeless, empowerless, loneliness etc. ส่วนเรืองการป้อนข้าว ป้อนน้ำ นั่นเป็นแค่บางส่วนของกิจกรรมพยาบาล

อย่างไรก็ตามกิจกรรมการดูแลของสองวิชาชีพนี้อาจจะมีการทับซ้อนกันได้ เช่น บางครั้งพยาบาลก้นำศาสตร์ของกิจกรรมบำบัดมาใช้ในงาน หรือในทางตรงกันข้ามนักกิจกรรมอาจจะมีการนำเอาศาสตร์ของพยาบาลไปใช้เช่นเดียวกัน เช่น กิจกรรมการดูแลสิ่งแวคล้อมอันนี้ในทางการพยาบาลก็มีทฤษฎีของไนติงเกลทีว่าด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (ผมไม่แน่ใจว่าในทางกิจกรรมบำบัด การจัดสิ่งแวดล้อมได้ใช้แนวคิดของใครในการจัด) แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า สองวิชาชีพนี้ได้ใช้กิจกรรมการดูแลที่คล้ายคลึงกัน

สิ่งที่น่าจะทำให้สองวิชาชีพนี้มีความแตกต่างกัน น่าจะเป็นแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการดูแลบำบัดบุคคลมากกว่า เพราะกิจกรรมที่ นศ ทั้งสีคนได้กล่าวไปนั้นได้ถูกกล่าวถึงในทฤษฎีการพยาบาลหลายๆ ทฤษฎี เช่น โอเรม (ว่าด้วยเรื่องการช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะพร่องในการดูแลตัวเอง) คิง (ว่าด้วยเรืองการตั้งเป้าหมาย และกำหนดแผนการดำเนินชีวิตเพื่อดำรงภาวะสุขภาพ) รอย (ว่าด้วยเรืองการส่งเสริมการปรับตัวของบุคคลต่อภาวะการเจ็บป่วย) ไนติงเกล (ว่าด้วยเรืองการจัดสิ่งแวคล้อมเพื่อการบำบัด) วัสสัน (ว่าด้วยเรืองการดูแลเอื้ออาทร) หลายคนอาจจะมองว่าทำไมพยาบาลต้องใช้ไรเยอะแยะจัง แต่อีกนัยหนึ่งก็คือว่า วิชาชีพพยาบาลมีพัฒนาการมานานมากแล้ว จึงเกิดทฤษฎี นี่ โน่น นั้น่ เยอะไปหมด

จึงเห็นว่า แม้ว่า สองวิชาชีพให้การดูแลบุคคลด้วยกิจกรรมเดียวกัน แต่ก็มีการอธิบายเหตุผลการดูแลด้วยแนวคิดทฤษฎีที่แตกต่างกันออกไป นี่แหละคือความต่างของสองวิชาชีพ

ดังนั้นความต่างของวิชาชีพ คงไม่ได้มองกันที่ กิจกรรมการทำงาน แต่มองที่ทฤษฎีหรือแนวคิดที่ใช้ในการทำกิจกรรม มากกว่า

ขอบคุณมากครับคุณ recovery

เห็นด้วยกับการอธิบายความแตกต่างของกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายระหว่างสองวิชาชีพ

ในทางกิจกรรมบำบัดนั้น ก็มีพยาบาลเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งวิชาขีพ แต่มีอีกหลายวิชาชีพที่ก่อตั้ง เช่น จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ครูฝึกอาชีพ ผู้ป่วยโปลิโอ สถาปนิก เป็นต้น จึงทำให้นักกิจกรรมบำบัดมีกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมและบูรณาการในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการดำเนินชีวิต และความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมเรียกว่า Person-Environment-Occupation-Performance (PEOP) Models

ในส่วนของการปรับสิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล นักกิจกรรมบำบัดนิยม Model of Human Occupation (MOHO) และ Ecological Model และในส่วนของการปรับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวบุคคล นักกิจกรรมบำบัดนิยม Domain & Process Frame of Reference และ PEOP Models

คุณยังมีความเข้าใจผิดเรื่องการทำงานพยาบาล อีกมาก

เป็นเพราะคุณยังไม่พบต้นแบบของพยาบาลที่ทำงาน

palliative care ตัวจริงเสียงจริง เพราะสิ่งที่คุณกล่าวอ้าง

มาไม่ได้ถูกต้องเลย คงต้องศึกษาใหม่เกี่ยวกับพยาบาล

 

ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำจาก [IP: 118.174.213.183]
และต้องขออภัยที่อาจกล่าวอ้างบทบาททางการพยาบาลไม่ชัดเจน จึงอยากขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบของพยาบาลที่ทำงานด้าน Paliative Care ด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

 

ขอแชร์ประสบการณ์ตรงในฐานะเป็นพยาบาลPalliative care

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเน้นการดูแลแบบองค์รวมทุกมิติ กาย ใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ

การจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เมื่อแพทย์ให้ความเห็นว่าโรคไม่รักษาได้อีกต่อไป คำว่าประคับประคองเน้นในเรื่องคุณภาพชีวิตที่มีอยู่ค่ะ ดูแลรักษาตามอาการ เช่น ปวด ให้ยาลดปวดจนกว่าจะควบคุมอาการปวดได้ หรือ หายใจลำบากต้องควบคุมอาการเหมือนกัน

การประเมินทางร่างกาย

1.พยาบาลจะมีความรู้ทางการแพทย์ ประเมินว่าโรคนี้ทำอะไร อย่างไร แล้วบ้าง กระบวนการรักษาได้ทำอะำไรแล้วบ้าง

เช่นเป็นมะเร็ง การดูแลประคับประคองก็ต้องทำตั้งแต่เริ่มรักษามะเร็ง ทำคู่กันแต่ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทมากนัก แต่เมื่อถึงเวลาที่ให้ยาเคมีบำบัดไม่ได้ ฉายแสงไม่ได้ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นค่ะ

2.หลังจากทบทวนประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดแล้ว เราก็จะเริ่มมาประเมินอาการว่าผู้ป่วยมีอาการอะไรบ้าง และจะจัดการอาการนั้นอย่างไร

2.1 ปวด ปวดที่ไหน แบบไหน ปวดเวลาไหน ทุกอย่างบอกได้หมด  คะแนนความปวดกี่คะแนน

การใช้ยาพยาบาลทุกคนรับทราบ ตาม WHO ladder เช่นปวดในแต่ละระดับให้ยาต่างกัน ผลข้างเคียงต้องทราบและยาแต่ละตัวจะใช้กับผู้ป่วยต้องทราบว่าเพื่ออะไร และถ้าอาการปวดบรรเทาอาการไม่ได้ ต้องปรับขนาดยาขึ้นเพื่อควบคุมความปวดได้ดี

แล้วจะมาอธิบายต่อนะคะ ไปทำงานก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท