7. ชื่อเรียกอาชีพที่เกี่ยวกับการบริหาร (ทรัพยากรบุคคล)


7. ชื่อเรียกอาชีพที่เกี่ยวกับการบริหาร (ทรัพยากรบุคคล)

 

 

 

"ชื่อเรียกอาชีพที่เกี่ยวกับการบริหาร (ทรัพยากรบุคคล)"

 

                หากนึกถึงองค์กรแล้วภาพแรก ๆ ที่อาจจะปรากฏในสายตาของคนโดยทั่วไป  คือ  ภาพของโครงสร้างองค์กรซึ่งโครงสร้างองค์กรเป็นสิ่งที่กำหนดให้เห็นถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจ  ภาพโดยรวมของตำแหน่งรวมไปถึงอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งต่าง ๆ

                ชื่อตำแหน่งจัดได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากและหลาย ๆ คนก็ให้ความสำคัญ  เนื่องจากชื่อตำแหน่งจะบอกถึงขอบเขต  หน้าที่ความรับผิดชอบ  บทบาทและอำนาจหน้าที่  รวมถึงสถานะและการบังคับบัญชาของบุคคลที่ปฏิบัติงานในสายอาชีพนั้น ๆ ทุกสายอาชีพจะมีวิวัฒนาการของชื่อเรียกหรือชื่อตำแหน่งแตกต่างกันไป  ซึ่งชื่อเรียกนั้นนอกจากจะบอกให้รู้ถึงวิวัฒนาการของสายวิชาชีพนั้น ๆ แล้วยังบอกให้รู้ถึงความสำคัญหรือคุณค่าที่ผ่านมาของวิชาชีพนั้น ๆ ตั้งแต่อดีต  ปัจจุบัน  จนไปถึงความคาดหวังในขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบของวิชาชีพนั้น ๆ ในอนาคตด้วย  ดังนั้น  การกำหนดชื่อตำแหน่งจึงเป็นเรื่องที่องค์กรควรหันมาให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น

                ในปัจจุบันการที่ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรบุคคล (Chief Human Resource Officer) สามารถเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารองค์กรเพื่อร่วมตัดสินใจในคณะกรรมการบริหารองค์กรเกี่ยวกับธุรกิจขององค์กรนั้นมิใช่เป็นเรื่องแปลก  หากพิจารณาจากชื่อเรียกแล้วจะเห็นว่า  บทบาทของงานบริหารทรัพยากรบุคคลได้ขยายขอบเขตออกไปอย่างมาก  จะสังเกตได้ว่า  งานด้านบุคคลในช่วงยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมมีเพียงงานสรรหาและให้ออก (Hire and Fire) จนมาถึงยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา  ก็ได้มีการเพิ่มขอบเขต  หน้าที่ความรับผิดชอบ  บทบาทและอำนาจหน้าที่ของงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมากขึ้นเป็นลำดับ  เช่น  การวางแผนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างตำแหน่งและอัตรากำลัง  การเริ่มที่จะมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการประเมินผลการปฏิบัติงาน  เมื่อมีขอบเขตความรับผิดชอบที่มากขึ้น  ชื่อเรียก  หัวหน้างานบุคคลก็เริ่มมีความชัดเจนขึ้น  เช่น  ผู้จัดการฝ่ายบุคคล  ผู้จัดการงานด้านบุคคล  ผู้จัดการทรัพยากรบุคคล  ฯลฯ  ความเป็นสากลที่เกิดขึ้น  ณ  วันนี้ชี้ให้เห็นว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ  บทบาทและอำนาจหน้าที่ของหัวหน้างานด้านบุคคลไปมากกว่าที่เรารู้จักกัน

                ดร.มาฆะ ได้มีโอกาสอ่านบทความตอนหนึ่งในหนังสือชื่อ People Management  ซึ่งเนื้อหาสาระ  รายละเอียดกล่าวถึงความแตกต่างและความสำคัญของชื่อเรียกผู้ที่เป็นหัวหน้างานด้านบุคคล  โดยในบทความนี้ได้กล่าวว่าในปัจจุบันได้มีการรวมชื่อของงานใหญ่ ๆ 2 งานเข้าไว้ด้วยกันและกำหนดเป็นชื่อของตำแหน่งหนึ่ง  เช่น  ในประเทศอังกฤษ  มีการรวมงานของผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลกับผู้อำนวยการด้านการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เข้าไว้ด้วยกัน  โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Director of HR and Strategic change  ซึ่งหมายถึงผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลและการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร  นอกจากนั้นยังมีการรวมงานด้านบุคคลและงานด้านนโยบายเข้าไว้ด้วยกัน  โดยใช้ชื่อเรียกตำแหน่งนี้ว่า Director of People and Policy  ซึ่งหมายถึง  ผู้อำนวยการทรัพยากรบุคคลและนโยบาย (ด้านบุคคล)  ซึ่งการรวมงานเข้าไว้ด้วยกันและกำหนดชื่อใหม่ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งทั้งองค์กรที่เป็นองค์กรภาครัฐและองค์การภาคเอกชน  โดยมีกุญแจสำคัญ คือ  การนำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านบุคคลมาผูกติดกับงานด้านบุคคลเพื่อเป็นการขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ  บทบาทและอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่ทำงานด้านบุคคลอีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรบุคลให้คุ้มค่ายิ่งขึ้นอีก  นอกจากนั้น  ยังมีการปรับเปลี่ยนบทบาทการบริหารงานบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ โดยได้มีการเน้นที่บทบาทการบริหารงานบุคคลเพื่อบริการลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centre) เน้นที่บทบาทการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) กับผู้จัดการฝ่ายอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กรไปสู่ความสำเร็จ  เป็นผู้มีบทบาทสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน (Employee Advocate) ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ขององค์กร  อีกทั้ง  ยังเป็นผู้นำให้กับพนักงานคนอื่น (HR Change Champion) ซึ่งเน้นบทบาทที่สามารถเป็นผู้นำให้แก่พนักงานให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามยุทธศาสตร์ขององค์กรที่วางไว้ได้

                แนวโน้มการขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ  บทบาทและอำนาจหน้าที่หรือแม้แต่ชื่อของนักบริหารทรัพยากรบุคคลน่าจะมีเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญหรือจุดเปลี่ยนในการกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานด้านบุคคลในอนาคตได้เป็นอย่างดี  แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับวิชาชีพด้านการบริหารงานบุคคลมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และยังเป็นการแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมด้วยว่า  ผู้บริหารที่รับผิดชอบงานด้านบุคคลจะมีเก้าอี้นั่งในบอร์ดผู้บริหารเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน...

 

  

ที่มา  :  ดร.มาฆะ  ภู่จินดา  หนังสือกระแสคน  กระแสโลก 

สำนักงาน ก.พ. หน้า 61 – 63  กันยายน  2553

(เปิดโลกความรู้  พัฒนาทุนมนุษย์)

เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์  ฉบับประจำวันที่  24 – 30  เมษายน  2552

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 416364เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2010 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าสนใจมาก ได้ความรู้ดีทีเดียว ขอบคุณนะคะ

น่าสนใจมาก ได้ความรู้ดีทีเดียว ขอบคุณนะคะ

ได้ความรู้มากขึ้นมาก ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณดวงเกษมสุข...

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ไม้เรียวทอง...

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาส่งความสุข สวัสดี รับปีใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณมาตายี...Ico32...

  • ขอบคุณค่ะ...
  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ...
  •  

สวัสดีค่ะ...พี่อิงจันทร์...Ico32...

  • ขอบคุณค่ะ...
  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ...
  •  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท