พระอธิการโชคชัย
พระอธิการ พระอธิการโชคชัย โชคชัย เอี่ยมยัง

การบันทึกผู้คนและชุมชน


บทเรียนพระอาจายร์โชคชัย เครือข่ายบทบาทพระสงฆ์ สำนึกรักท้องถิ่น การให้ปัญญาและความรู้เป็นทาน

บทบาทพระสงฆ์กับเทคโนโลยีและการเรียนรู้อย่างบูรณาการบนฐานชุมชน : เรียนรู้จากประสบการณ์กับพระมหาแล อาสโย และ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

โดย : พระอาจารย์โชคชัย ชยวุฑโฒ (เอี่ยมยัง)

การบันทึกผู้คนและชุมชน

         จากบทเรียนความมีประสบการณ์การเขียนบันทึกร่วมกับท่านพระมหาแล และดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ผู้เขียนก็ได้เล็งเห็นบทบาทอันสำคัญของพระสงฆ์ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญาชีวิตและความทรงจำของชุมชน ที่มีความริเริ่มง่ายๆจากผู้คนรอบตัว การรำลึกความมีอยู่ของคนเก่าคนแก่ ประสบการณ์ชีวิตของชาวบ้าน การนำเอาชีวิตของผู้เฒ่าผู้แก่ ครูอาจารย์ ผู้นำชุมชน เด็กและเยาวชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน มาย้อนรำลึก สืบทอดให้ผู้คนได้จดจำเป็นทุนความดีงาม รวมทั้งบูรณาการมิติอันเป็นหลักคิด หลักธรรม และอนุสติที่ได้จากชีวิต

ภาพเขียนโดย: พระอาจารย์โชคชัย ชยวุฑโฒ

หมายเลขบันทึก: 416094เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2010 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เจริญพรท่านผู้จัดการบล็อกโกทูโน

แหม ...รอเวลานี้มานานที่จะลงความเห็นในบล็อกการบันทึกผู้คนและชุมชน

เจริญพรขอบคุณมานะโอกาสนี้ด้วย สาธุ.

มาส่งข่าวงานงิ้วหนองบัวนครสวรรค์ปีนี้ ๒๔ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔
ปีนี้มีกิจกรรมพิเศษจากเวทีคนหนองบัวไปจัดนิทรรศการหนึ่งเต้นท์ มีแสดงภาพวาดชุมชนหนองบัว หนังสือทำมือทำเองจากคนหนองบัวไปวางโชว์ด้วย มีชาวบ้านที่สามารถพูดคุยเรื่องราวเก่าๆให้ความรู้ เสมือนเป็นไกด์ชุมชน ผู้สนใจมานั่งคุยกันรำลึกบรรยากาศอย่างลูกทุ่งๆสบายๆ

เลยมาชวนท่านอธิการไปชมกันสักวัน จัดคิวได้วันไหนก็นิมนต์นะครับ

ชื่อหัวข้อ  เวทีคนหนองบัว : สานสำนึกรักท้องถิ่น พลังสามัคคี และความงามที่หลากหลาย

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแล ขำสุข

เวทีนี้น่าสนใจนะครับ จัดว่าเป็นงานเทศกาลประจำปีใช่มัยครับ 

ผมจะพยายามจัดคิวไปกันสักวัน เพื่อสานสำนึกรักท้องถิ่น

การบันทึกผู้คนและชุมชน 

ณ. วัดศรีโสภณ  ตำบลวังทอง  อำเภอวังทอง  จังหวัดพิษณุโลก 

โดย  พระอาจารย์โชคชัย  ชยวุฑโฒ (เอี่ยมยัง)

การบันทึกผู้คนและชุมชน 

  • จากบทเรียนความมีประสบการณ์เขียนบันทึก ร่วมกับ พระมหาแล อาสโย (ขำสุข) และ อาจารย์ดร.วิรัตน์  ศรีจันทร์  ก็ได้เห็นบทบาทอันสำคัญ ของพระสงฆ์ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญาชีวิตและความทรงจำของชุมชน  มีความริเริ่มง่ายๆจากผู้คนรอบตัว การรำลึกความมีอยู่ของคนเก่าแก่ ประสบการณ์ชีวิตของชาวบ้าน การนำเอาชีวิตของผู้เฒ่าผู้แก่ ครูอาจารย์ ผู้นำชุมชน เด็ก เยาวชน และปัญญาชนชาวบ้านมาย้อนรำลึก สืบทอดให้ผู้คนได้จดจำเป็นทุนความดีงาม รวมทั้งบูรณาการมิติอันเป็นหลักคิด หลักธรรม และอนุสติที่ได้จากชีวิต สั่งสมทีละนิดละหน่อย กระทั่งกลายเป็นคลังข้อมูลชีวิตจิตใจ ของชุมชน.... 
  • ลักษณะดังกล่าวนี้  เข้ามาทดแทนบทบาทในการเป็นศูนย์กลางความเป็นชุมชนของวัดและความเป็นแหล่งสะสมภูมปัญญา วิทยาการ ศิลปะ และองค์ความรู้ต่างๆ สำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างในอดีตได้อย่างเหมาะสมและงดงามมากทีเดียวข้อมูลหลายส่วนของชุมชนที่อาจสูญหายไป 

         กับชีวิตของผู้คนแต่ละรุ่น ก็เริ่มมีแนวทาง    ใหม่ ๆ สำหรับสะสมต่อยอดกันไว้ ด้วยความริเริ่ม ของผู้ที่พอคิดและร่วมด้วย ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ... เช่น

  • โครงการ “ปลูกต้นกล้า ๑ ล้านต้น ถวายพ่อ...ลดภาวะโลกร้อน” เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๓

อธิบายภาพ: หลวงพ่อมะลิ (พระครูฉันทะธรรมโสภณ) ท่านเจ้าอาวาส วัดศรีโสภณ ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีปลูกต้นกล้าไม้ต้นสนอะโศกอินเดีย และต้นมะรุม ร่วมทั้งนำพาพระภิกษุสงฆ์ภายในวัดและญาติโยมร่วมกันปลูกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พ่อหลวง เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามภาพดังกล่าว

พระบุญยืน พระผู้มีนิสัยชอบปลูกต้นไม้ และช่วยงานภายในวัดเป็นอย่างดีเยี่ยม

หลวงพ่อสนิท พระอาวุโส แต่ใจรักในการปลูกต้นไม้ และพืชผักทุกชนิด ปราญ์ชุมชน


โยมท่านแรกที่มาทำบุญ และปลูกต้นไม้ ต่อจากผมเป็นต้นที่สอง



ขออนุโมทนาบุญ กับญาติโยมทุกท่าน

  • โปรดช่วยกันปลูกป่า/ต้นไม้ เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี ลดภาวะโลกร้อน
  • ร่วมด้วย... ช่วยกัน
  • สาธุ.

 


 

                                                                                                      

 

 

เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะคนดอนม่วง

ตามแผนสุขบัญญัติแห่งชาติ เส้นทางสู่สุขภาพดี

โดยศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมใจ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ

บทบาทพระสงฆ์เพื่อสังคม/ชุมชน

วันศุกร์ ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

  • เมื่อวานนี้อาตมาภาพได้มีโอกาสไปแสดงธรรม (ธรรมบรรยาย:เรื่องการใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขและคุณจะไม่ป่วยอีกต่อไป )ให้กับชมรมผู้สูงวัย(ผู้สูงอายุ) บ้านดอนม่วง  หมู่ 10 และบ้านบึงราชนก หมู่ 9 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านดอนม่วง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก  ซึ้งได้รับการนิมนต์จากคุณหมออุทัยวรรณ จนท. พยาบาลจาก ร.พ. วังทอง และมีท่านสว. (สูงวัย) เข้าร่วมประมาณ 50 ท่าน
  • รู้สึกประทับในความเป็นคนเฒ่า คนแก่ที่น่ารักถึงแม้ว่าจะมีปัญหาด้านสุขภาพ หลายท่านป่วยเป็นโรคเบาหวานบ้าง โรคความดันโลหิตสูงบ้าง ฯลฯ แต่ก็ยอมรับฟัง และเรียนรู้แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกันได้เป็นอย่างดี สงสัยว่านานๆจะมีพระคุณเจ้ามาแสดงธรรมให้ฟัง เอาแบบ 3 ส. ไปเลย  คือ สะอาด สว่าง สงบ
  • แท้จริงแล้วไม่ได้เทศนาอะไรมากหรอกครับ ได้แค่แลกเปลี่ยนอาการเจ็บป่วยเล่าสู่กันฟังเพียงเท่านั้น เพราะอาตมาก็ป่วยเหมือนกัน มีอายุเพียงแค่ 38 ปี ก็มีโลกเป็นของตัวเอง (โรคความดันโลหิตสูง,โรคไขมันในเส้นเลือดสูง,โรคริดสีดวงทวารหนัก,โรคปวดหลัง ฯลฯ) ยังเล่าไม่ทันหมดโยมพ่อท่านหนึ่ง อายุ 83 ปี ถึงกับร้องดังขึ้นมาว่า เอาของพ่อแม่มาหมดเลยหรือท่าน..
  • ไอเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเนี่ย มันไม่มีใครอยากเป็นหรอก แต่ถ้าเราขาดสติในการดำรงชีวิต เช่น นิสัยการ กิน อยู่ ดู ฟัง ไม่เป็น โรคภัยก็เบียดเบียน คำว่า  “เป็น”   ก็คือ “ความพอดี”
  • เราจงมาฝึกนิสัย การกิน อยู่ ดู ฟัง  ให้เป็นกันเถิด... แล้วคุณจะไม่ป่วยอีกต่อไป.  เหมือนพุทธศาสนสุภาษิต กล่าวว่า อาโรคยฺมิจฺเฉ  ปรมญฺจ  ลาภํ.” แปลความว่า “พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง.(ขุ. อุ. เอก. ๒๗/๒๗.)

มารู้จักสุขบัญญัติแห่งชาติ : เส้นทางสู่สุขภาพดี  กันเถอะครับ

          สุขบัญญัติ 10 ประการ เป็นแนวทางการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของคนไทยที่พึงปฏิบัติเป็นประจำอันส่งผลให้เกิดสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ การสร้างเสริมและปลูกฝังให้ประชาชนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว  สังคม ชุมชน มีพฤติกรรมตามสุขบัญญัติ 10 ประการ อย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการสร้างสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ซึ้งเป็นการลงทุนที่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุด

สุขบัญญัติ: 10 ประการ คือ

  • ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด
  • รักษาฟันให้แข็งแรง และแปลงฟันอย่างถูกต้อง
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย
  • กินอาหารสุก สะอาด
  • งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการส่ำส่อนทางเพศ
  • สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
  • ป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
  • ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
  • มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

(ที่มา: สมุดประจำตัวผู้ป่วย ศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมใจ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก)

สติ :

  • สติมา ทุกข์หนี สติมี ทุกข์หมด สติหมด ทุกข์ก็มา
  • สติดี ผีจะหลบ สติถูกตบ จะพบกับผี
  • สติดี จะมีรอยยิ้ม สติถูกทิ่ม รอยยิ้มก็ไม่มี
  • สติมา ข้าสบาย สติขาดไป  ไข้ตามหา สติมาหมาไม่กัด สติถูกตัด จะฟัดกับหมา
  • สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิด จะเกิดปัญหา  และ
  • สุขภาพดี   ไม่มีขาย  ยากได้ต้องสร้างเอง... แล้วคุณจะไม่ป่วยอีกต่อไป.

สูตร 7 ย. ข้อปฏิบัติของท่านสูงวัย

  • ยิ้มแย้ม            ทุกคนไปไม่เลือกหน้า
  • ยินยอม            คนอื่นบ้างเป็นบางครา
  • ยืนหยัด            เพื่อรักษาจรรยาบรรณ
  • ยืดหยุ่น            แผนการงานทั้งผอง
  • ยกย่อง              แนวคิดดีที่สร้างสรรค์
  • เยี่ยมเยียน        เขาบ้างอย่างทั่วถึงกัน
  • เยียวยา             จนเขานั้นสุขสันต์เอย.

ประมวลภาพกิจกรรม มาฝากครับ

 

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ อธิบาย

อธิบายภาพ: คุณโยมบุญตา อดีต ผญ.บ้านดอนม่วง และ คุณหมออุทัยวรรณ พยาบาลจาก ศูนย์สุขภาพชุมชนร่วมใจ ร.พ. วังทอง

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ อากาศ

อธิบายภาพ: นี้คือบรรดาท่าน สว.ทั้งหลายครับ

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ อารมณ์

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ ออกกำลังกาย

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ อาหาร

อธิบายภาพ: หลัก 7 อ. คือ อ. อะไร ? 

โดย: พระอธิการโชคชัย ชยวุฑฺโฒ (เอี่ยมยัง) เมื่อวันศุกร์ ที่ 6 พฤษภาคม 2554

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท