วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20

รายวิชา ว 43101  วิทยาศาสตร์ 5   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

เรื่อง การนำเสนอผลงานการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เวลา 2 ชั่วโมง

 ----------------------------------------------------

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค

                มีทักษะกระบวนการกลุ่ม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สืบเสาะหาความรู้ สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย เขียนรายงาน จัดแสดงผลงาน อธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของการทำกิจกรรมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ผู้อื่นเข้าใจ

 

สาระสำคัญ

                กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการทำกิจกรรมของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงาน สำรวจรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปข้อมูลเป็นความรู้ เขียนรายงาน นำเสนอผลงานในชั้นเรียน และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน ได้รับทราบ

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. มีทักษะกระบวนการกลุ่มและกระบวนการทำงาน
  3. รู้จักการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  4. มีความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้และคำตอบที่สงสัยด้วยตนเอง
  5. สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

สาระการเรียนรู้

  1. การนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. การใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม PowerPoint

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้

  1. นักเรียนนำเสนอผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. นักเรียนประเมินผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มอื่นๆ
  3. ครูประเมินผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนทุกกลุ่ม
  4. ครูประเมินความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มในการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงาน

 

การวัดผลประเมินผล

 

  1. ประเมินผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลประเมินผล

  1. แบบประเมินผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

สื่อและแหล่งการเรียนรู้

  1. แบบประเมินผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. ศูนย์สื่อ ICT  วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนคงคาประชารักษ์
  4. โปรแกรม PowerPoint

 

ข้อเสนอแนะ

  1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ใช้เวลา 1 ภาคเรียน ครูต้องประเมินผลการทำกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ และประเมินให้ครบทุกองค์ประกอบ

 

  

 

หมายเลขบันทึก: 415960เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2010 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท