เครื่องให้สารเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด (Infusion pump)


บันทึกนี้จากคำถามคุณไพรวัลย์ หลังจากอ่านบันทึกเรื่อง เครื่องไตเทียม(ความรู้เบื้องต้น)
ไพรวัลย์ [IP: 125.26.122.34]  เมื่อ 21 ธันวาคม 2553 00:55  #2298554 "ขอบคุณมากครับคุณพันคำสำหรับความรุ้ แต่ผมอยากรู้ หลักการทำงานของอินฟิวชั่น pump เพิ่มเติมด้วยครับขอความกรุณาด้วยนะครับ"

     ก็ยินดีจัดให้ตามคำขอครับ ขอมาได้ครับ ถ้าค้นไม่เจอเอกสารเรื่องใด และพันคำพอมีเวลา ก็ถือเป็นการบริการวิชาการ อาจมีบทความอื่นๆจากท่านผู้เชี่ยวชาญที่ปกิบัติงานด้านนี้โดยตรง ก็ถือว่าเนื้อหาส่วนนี้เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันครับ สำหรับเอกสารอ้างคือวิกิพีเดีย (ขออภัยที่ไม่มีเวลาที่จะใช้หลายเอกสารครับ) อยู่ที่ท้ายบทความครับ (ดูรูปได้ที่นั่น)

เครื่องให้สารเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายหรือเรียกทับศัพท์ว่าอินฟิวชันปั้ม (infusion pump) สารที่ให้อาจเป็นน้ำเกลือหรือของเหลว ยา หรือสารอาหาร โดยทั่วไปจะให้ทางหลอดเลือดดำแต่บางกรณีมีการให้สารบางชนิดทางใต้ผิวหนัง หลอดเลือดแดง เข้าไขสันหลัง (epidural)
ข้อดีของเครื่องนี้คือสามารถให้สารในอัตราเร็วที่ยากที่ปรับได้ด้วยมือ และได้ปริมาณที่ถูกต้อง เช่น หยดสารเข้าเลือด 0.1 ซี.ซี. ต่อชั่วโมง ฉีดทุกๆนาที หรือฉีดตามความต้องการของผู้ป่วยให้ได้จำนวนครั้งมากๆในเวลาชั่วโมงเดียว (เช่น การที่ผู้ป่วยควบคุมยาระงับปวดที่ฉีดเข็าร่างกายตนเอง) หรือในกรณีที่ปริมาตรของเหลวที่ฉีดแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา

ชนิดของการหยดสารเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด

  1. แบบหยดสารต่อเนื่อง จะปล่อยออกไปในปริมาตรน้อยๆคือ 500 นาโนลิตร-10000 ไมโครลิตร ในอัตราเร็วที่ตั้งไว้
  2. แบบหยดสารเป็นพักๆ จะปล่อยในอัตราเร็วและช้าสลับกันเพื่อให้สายให้สารเปิดอยู่ตลอด ส่วนใหญ่ใช้กับยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าหรือยับยั้งเชื้อ) หรือยาที่ระคายหลอดเลือด
  3. แบบควบคุมโดยผู้ป่วยเอง  เครื่องจะหยดตามที่ผู้ป่วยต้องการ แต่อย่างไรก็ดีมีการกำหนดปริมาณสูงสุดเพื่อป้องกันได้รับสารมากเกินจนเป็นพิษ เช่นการให้ยาระงับปวดกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่นซึ่งเครื่องจะหยุดให้ถ้าปริมาณยาสูงเกินจนเป็นพิษกดการหายใจได้
  4. แบบให้สารอาหารเข้าหลอดเลือด  จะให้ในลักษณะเดียวกับช่วงเวลาการได้รับอาหารตามปรกติ


ชนิดของปั้ม
ปั้มมีทั้งที่ใช้ในโรงพยาบาลและที่สามารถเคลื่อนย้ายได้  แยกเป็น 2 แบบ

  1. ปั้มสำหรับสารปริมาตรมากๆ เช่นสารที่เป็นอาหารแก่ผู้ป่วย
    • มักใช้ปั้มชนิดรีดท่อ (peristaltic pump) ที่ใช้ลูกโม่ (roller) หมุนจากควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ให้กดรีดสายท่อที่ทำจากยางผสมซิลิโคน (ลักษณะการรีดท่อคงเป็นแบบที่เป็นปั้มลมที่ใช้ให้อ็อกซิเจนลงในตู้เลี้ยงปลา) หรืออีกแบบเป็นลักษณะแบบนิ้วกดบนสายท่อเป็นลำดับๆ
  2. ปั้มสำหรับสารปริมาตรน้อยๆ เช่น ฮอร์โมนอินสูลินหรือยาต่างๆ
    • มักเป็นปั้มที่ใช้มอเตอร์ควบคุมจากคอมพิวเตอร์ มอเตอร์จะเปิดเกลียวที่ไปดันด้ามกระบอกฉีดยา
    • ปั้มบางชนิดใช้แรงจากออสโมซิส ซึ่งประกอบด้วยถุงน้ำเกลือที่ดูดซับน้ำผ่านเยื่อเข้าในถุงจนถุงบวมขึ้นเกิดแรงดันยาออกไป อัตราจะถูกควบคุมด้วยความเข้มข้นของเกลือและปริมาตรของปั้ม 
    • ปั้มบางชนิดใช้ระบบสปริงในการให้แรงสำหรับหยดสาร


อุปกรณ์ส่วนที่สำคัญในปั้มอีกอย่างคือตัวกรองอากาศที่ยอมให้ก๊าซฟองเล็กๆผ่านได้ ฟองใหญ่ๆแตกออก แต่ไม่ยอมให้น้ำหรือเชื้อโรคผ่านได้ ก๊าซฟองเล็กๆที่เข้าหลอดเลือดแดงอาจเป็นอันตรายได้แต่ที่เข้าหลอดเลือดดำจะผ่านหัวใจแล้วปล่อยออกไปทางปอด แพทย์กล่าวว่าก๊าซในปริมาณ 0.55 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกิโลกรัมของน้ำหนักร่างกาย เช่นในผู้ใหญ่ ก๊าซ 200-300 ลูกบาศก์เซนติเมตรสามารถทำให้เสียชีวิตได้

ลักษณะที่ออกแบบเพื่อให้ปั้มทำงานได้ดีและปลอดภัย

  1. การออกแบบให้ มีระบบชดเชยการทำงานของปั้มเมื่อบางจุดนั้นเสียหรือไม่สามารถทำงานได้
  2. มีแบตเตอรี่สำรองกรณีไม่มีไฟฟ้าหรือสายปลั๊กหลุด
  3. ระบบป้องกันเลือดผุ้ป่วยไหลย้อนเข้าปั้ม
  4. มีตัวรับตรวจแรงดันตก เพื่อป้องกันกรณีที่เส้นเลือดดำถูกปิด หรือสายถูกหักหรือขด
  5. เครื่องตรวจฟองก๊าซในสาย
  6. ตัวรับตรวจแรงดันขึ้น เช่นเมื่อไม่มีอะไรในถุงหรือกระบอกฉีดยา หรือเมื่อถุงหรือกระบอกฉีดยาถูกบีบ
  7. มีโปรแกรมข้อมูลยาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากยาที่ได้รับ
  8. มีระบบตรวจดูการไหลของยาผิดปรกติ
  9. มีระบบบันทึกข้อมูลการปั้มสาร
  10. บางชนิดขณะที่เครื่องกำลังทำงานจะแสดงหน้าจอเพียงบางประการเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเปลี่ยนโดยไม่ตั้งใจ






http://en.wikipedia.org/wiki/Infusion_pump

หมายเลขบันทึก: 415314เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท