จุดยืน (standpoint) คืออะไร


จุดยืน(standpoint) คืออะไร
ผมเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามนี้ว่า
มันคืออะไรกันแน่ เมื่อตั้งคำถาม
ก็ต้องแสวงหาคำตอบ คำพูดนี้มักจะใช้เมื่อเกิดวิกฤติปัญหา (crisis)

จุดยืนคือ ทัศนะของปัจเจกชนมีทิศทางไปในทางใด ต่อเรื่องต่าง ๆ นั้น 
ด้วยจิตสำนึกต่อฐานะของตนเอง หรือการมองโลกมองชีวิตหรือโลกทัศน์
(worldview)ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน การมองสิ่งเดียวกันในจุดยืนที่ต่างกัน
ก็มีผลต่อการมองอยู่เสมอ จุดยืนมาจากการเรียนรู้ทางสังคม สังคมสร้างจุดยืน
แต่มนุษย์ก็มีิสิทธิที่จะเลือกจุดยืนนั้น ๆ  จุดยืนขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ความเชื่อ
และกรอบความคิด หรือมุมมองของผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน จุดยืนนั้น
สามารถถูกครอบงำได้ จากวัฒนธรรม จากการเีรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็
สามารถขยายจุดยืนเผยแพร่จุดยืนนั้นได้

ยกตัวอย่างเช่น

เช่นจุดยืนของอุตสาหกรรม คือ กำไรสูงสุดบนฐานการผลิตที่จะต้องลดต้นทุน
ผลผลิตที่สุด ดังนั้นจิตสำนึกแบบนี้เป็นสำนึกแห่งวัตถุนิยมผลประโยชน์ การพูด
คิด เขียน ถ้อยแถลง ย่อมนำเสนอแต่โลกทัศน์และมโนทัศน์ไปทางกระตุ้นความ
โลภ กระตุ้นการบริโภค ด้วยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยไม่ใส่ใจต่อ
ระบบสังคมและสิ่งแวดล้อม

ต่อมาคือจุดยืนของเกษตรกรรมแบบพอเพียง คือ ความพออยู่พอกิน ด้วยจิตสำนึก
รักและห่วงใยธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ มีสำนึกไปทางจิตนิยม บริโภคแต่พอเพียง
คิดและเขียน มีถ้อยแถลงทุกอย่างอย่างพอเพียง เข้าใจและสร้างกฎเกณฑ์แห่ง
ความพอเพียง ยกตัวอย่างประเทศภูฐานกำหนดดัชนีความสุขมวลรวม แทนการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ดังนั้นจุดยืน(stand point) จึงเกี่ยวข้องกับมุมมองมุมคิดโลกทัศน์ (worldview)
ซึ่งแตกต่างกันไป เกิดจากระบบสังคมและการเรียนรู้ แล้วคุณละ มีจุดยืนและ
การมองโลกมองชีวิตอย่างไร 

คำสำคัญ (Tags): #จุดยืน#โลกทัศน์
หมายเลขบันทึก: 414772เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท