รายงานการวิจัยชั้นเรียนเรื่องผลของการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( science show ) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและความดัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


science show

ชื่องานวิจัย       ผลของการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science  show ) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและความดัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   

ชื่อผู้ทำวิจัย      นางสาวภัชรินทร์  เลิศบุรุษ  

ปีที่ทำวิจัย        2552

หน่วยงาน         โรงเรียนบ้านบางฉาง   อำเภอสิชล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  (science show) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง แรงและความดัน             กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์   ( science show ) เพื่อพัฒนากิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) เรื่อง แรงและความดัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อหาค่า ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) เรื่อง แรงและความดัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้าน      บางฉาง อำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 60  คน  เครื่องมือที่ใช้  ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) เรื่อง แรงและความดัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ซึ่งสร้างโดยผู้ศึกษาวิจัยเอง ประกอบด้วย  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน – หลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้   กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) และแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน         สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  และ สถิติ  t-test

การศึกษาครั้งนี้พบว่า กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( science show ) เรื่อง แรงและความดัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5               มีประสิทธิภาพ  84.63/89.70  สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้  80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนด้วยกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ค่าดัชนีประสิทธิผลของ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show )  มีค่า 0.82  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ( science show ) อยู่ในระดับมากทุกประเด็น

หมายเลขบันทึก: 414764เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

science show เราเรียกว่า การแสดงทางวิทยาศาสตร์ ครับ

ไม่ทราบว่าการแสดงมีกี่เรื่องครับ

ใช้เวลาการแสดงเท่าไหร่ครับ

เห็นว่าคุณครูศึกษา ความคิดเห็น

แต่ ดูผลลัพท์เป็น ประสิทธิภาพ

อาจเป็นด้วยด้อยประสบการณ์ ก็เลยอ่านแล้ว งง งง ครับ

รบกวนคุณครูให้ความกระจ่างด้วยนะครับ

ขออภัยครับ

ที่ว่า ด้อยประสบการณ์ หมายถึงผู้อ่าน ก็ คือ ตัวผมเองนะครับ

ตอบคุณครู แฟรงค์

ศึกษา ดังนี้ค่ะ

1 ค่าประสิทธิภาพ 84.63/89.70 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้ 80/80

2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนด้วยกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( science show ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3 ค่าดัชนีประสิทธิผลของ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( science show ) มีค่า 0.82

และ

4 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( science show ) อยู่ในระดับมากทุกประเด็น

กิจกรรมเรื่องแรงและความดัน 12 ชุดกิจกรรมค่ะ

ไม่เป็นไรคร่ะ อาจารย์แฟรงค์ ยินดีๆๆ ที่ได้รับความรู้และดีใจที่ได้เผยแพร่ความรู้ 555

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ น่าจะใช้ science experiment หรือ laboratory นะครับ

เพราะ science show บางครั้ง ไม่ได้เป็นการทดลองครับ

อาจนำเสนอแค่ปรากฏการณ์ เท่านั้นครับ

ก็เลยอยากทราบว่า นักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างนั้น

เป็น ผู้แสดง หรือ ว่าเป็น ผู้ชมการแสดง

หรือว่า เป็นทั้งสองกลุ่มครับ

เรื่อง science show นั้น ปกติจะใช้ในกิจกรรม science communication

ซึ่งมีเป้าหมายต่างจาก teaching science ค่อนข้างมาก

สู้ๆ ครับ

อาจารย์ค่ะ....

กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสต์ที่ใช้ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับแรงและความดัน

เช่น เรื่อง กาลักน้ำ นักเรียน สามคนจะเป็นผู้ผูกเรื่องราว ส่วนคนอื่นๆ ภายในชั้นเรียนเป็นผู้ชม ใช้เวลาประมาณ 3-5 นาทีต่อเรื่อง เมื่อแสดงจบจะต้องอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนในชั้นได้รู้ เปิดอภิปรายซักถามกัน จนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้

ในการศึกษาครั้งนี้นักเรียนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ

555 ไม่รู้ว่าตอบตรงประเด็นมั๊ย ยินดีค่ะๆๆ

ว๊าว...

เยี่ยมไปเลยครับ

ตอบตรงใจเลยครับ

ขอบคุณสำหรับ การเผยแพร่ประสบการณ์นะครับ

ยินดีคร้ายินดี ...มีโอกาสคงได้เจอกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท