ความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล


ความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

"ความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล"

ความรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล สามารถแบ่งได้ดังนี้ :

1. ความรับผิดชอบร่วมในการบริหารทรัพยากรบุคคล

2. หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

3. ระดับของการบริหารทรัพยากรบุคคล

1. ความรับผิดชอบร่วมในการบริหารทรัพยากรบุคคล

ฝ่ายบุคคลหรืองานการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่สนับสนุน “ผู้บังคับบัญชาทุกคน ทุกระดับ คือ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลที่แท้จริง” โดยผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่มอบหมาย ดูแล ติดตามงานและเป็นผู้พิจารณาการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง วางแผนการพัฒนาและประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กร

การบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของหลายฝ่าย (Joint Accountability for Human Resource Management) ได้แก่...

1. ผู้บริหารระดับสูง

2. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ

3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

4. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านแผนงาน

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงบประมาณ

2. บทบาทของผู้บังคับบัญชาหรือนักวิชาชีพด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล...

ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา จะใช้ 3 A + 1 S ได้แก่

A = Assist คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในเรื่องงานและเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน

A = Advise = คือ การให้คำปรึกษา แนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในเรื่องงานและเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน

A = Adit คือ การติดตาม การประเมินผลและการตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละราย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผลการปฏิบัติงานต่อไป

S = Service คือ การให้บริการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. การจำแนกระดับของการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยพิจารณาจาก…

การบริหารทรัพยากรบุคคล พิจารณาจากกิจกรรม + ระดับ

การจำแนกระดับของการบริหารทรัพยากรบุคคล

โดยพิจารณาจากกิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล

ระดับ HRM

จุดเน้นหรือประเด็นเชิงยุทธศาสตร์

ผู้รับผิดชอบ

บทบาท

1. การบริหารนโยบาย

การบริหารและพัฒนากำลังคน

องค์กรกลางบริหารงานบุคคล

กำหนดกรอบมาตรฐานความสำเร็จด้าน HRM และติดตามประเมินผล

2. การบริหารยุทธศาสตร์

การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

(นโยบาย ไปสู่ แผนกลยุทธ์)

ส่วนราชการและจังหวัด

บริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานความสำเร็จด้าน HRM และเป้าหมายพันธกิจ

3. การปฏิบัติการ

งานปฏิบัติด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

(นโยบาย ไปสู่ แผนปฏิบัติ)

ส่วนราชการและจังหวัด

จัดทำแผนโครงการและมาตรการซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้าน HRM

ที่มา : หลักสูตรการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์

สำนักงาน ก.พ.

หมายเลขบันทึก: 414443เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท